Expectation and satisfaction towards service quality of registration and student affairs of Faculty of Mass Communication Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย ชมนาด ม่วงแก้ว และ สุวิมล แม้นจริง
ปี 2556
บทความวิจัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ธันวาคม 2556 หน้า 125-132
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการงานกิจกรรมนักศึกษาและงานทะเบียนนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.ธัญบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.ธัญบุรี จำนวน 500 คนสถิติในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ Independent Samples t-test และ One-way ANOVA และการทดสอบความแตกต่างด้วยการจับคู่ (LSD) และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation)
ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กำ ลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3/เทียบโอนปี 1 หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ สาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง โดยมีความถี่ในการใช้บริการงานกิจกรรมนักศึกษาและงานทะเบียนนักศึกษา 1-2 ครั้ง/เดือน มีความคาดหวังและความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งงานกิจกรรมนักศึกษาและงานทะเบียนนักศึกษา โดยงานกิจกรรมนักศึกษา พบว่ามีความคาดหวังมากที่สุดในเรื่องความมีอัธยาศัยไมตรีและมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความเชื่อมั่น/ไว้วางใจ ส่วนงานทะเบียนนักศึกษา พบว่ามีความคาดหวังมากที่สุดในเรื่องการติดต่อสื่อสารและมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความเป็นรูปธรรมของการบริการ
ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า งานกิจกรรมนักศึกษาที่มีหลักสูตรการศึกษาแตกต่างกันมีความคาดหวังที่แตกต่างกัน และชั้นปีที่กำลังศึกษาแตกต่างกันมีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการที่แตกต่างกัน ส่วนงานทะเบียนนักศึกษา พบว่า ชั้นปีที่กำลังศึกษาและหลักสูตรการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกัน ด้านข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ หลักสูตรการศึกษา และสาขาที่กำลังศึกษาที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการแตกต่างกัน ส่วนผลการทดสอบความสัมพันธ์ งานกิจกรรมนักศึกษา พบว่าความคาดหวังและความพึงพอใจไม่มีความสัมพันธ์กัน ในส่วนของงานทะเบียนนักศึกษา พบว่าความมีอัธยาศัยไมตรีนั้นมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจงานกิจกรรมนักศึกษาและงานทะเบียนนักศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน
The independent study was conducted to examine the expectation and satisfaction towards the service quality of registration and student affairs of the Faculty of Mass Communication Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The sample used in the study consisted of 500 students of the Faculty of Mass Communication Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The statistics applied for data analysis comprised Percentage, Means, Standard Deviation, Independent Samples t-test, One-way ANOVA, Least Significant Difference, and Pearson Correlation Coefficient.
The results of study showed that the majority of the respondents were female, third-year students of full-time 4-year program in Radio and Television Broadcasting Technology, and used the services of student affairs and registration 1-2 times per month. The overall expectation and satisfaction on the services of student affairs and registration was at a moderate level. Regarding the student affairs services, the respondents had the most expectation on empathy, and had the most satisfaction in reliability. Concerning the registration services, the respondents had the most expectation on responsiveness, and had the most satisfaction in tangibles.
The results of hypothesis testing of the student affairs services showed that the students with different program of study had differences in expectation, and the students with different years of study had differences in satisfaction. As regards the registration services, it was found that the students with different year of study and program of study had differences in expectation, and differences in gender, program of study, and field of study had differences in satisfaction. The results of relationship testing revealed that the expectation had no correlation with the satisfaction. However, the study demonstrated that the expectation and satisfaction on the registration services had low correlation with empathy. The study on the comparison of satisfaction and expectation on the services of student affairs and registration indicated no significant differences.