Quality of work life of operational staff of C.B. Paint Limited Partnership
โดย วิพัฒน์ นีซัง และ สุรางค์ เทพศิริ
ปี 2556
บทความวิจัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ธันวาคม 2556 หน้า 142-150
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน 8 ด้านของพนักงานระดับปฏิบัติการและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี.บี. เพนท์ จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้คือ พนักงานระดับปฏิบัติการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี.บี. เพนท์ จำนวน 261 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Samples t-test, One-way ANOVA และ Least Significant Difference (LSD)
ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง18-22 ปี อายุงาน2-5 ปีรายได้ 8,001-15,000 บาทและมีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย การวัดผลคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน 8 ด้าน โดยพนักงานบริษัทฯมีความภูมิใจในการทำงานร่วมกับองค์กรอยู่ในระดับมาก ขณะด้านอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ผลตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ โอกาสในการพัฒนาความสามารถบุคคลด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและการทำงานร่วมกัน ลักษณะการบริหารงานและภาวะอิสระจากงาน
เมื่อวัดถึงปัจจัยสาเหตุที่กำหนดความคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต พบว่า เพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน พนักงานที่มีอายุ ประสบการณ์ทำงานและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objectives of the independent study were to investigate the level of quality of work life in 8 dimensions of the operational staff, and to compare the quality of life of the operational staff of C B Paint Limited Partnership, classified by demographic data. The sample used in the study comprised 261 operational staff of C B Paint Limited Partnership. The questionnaire was used as the data gathering tool, and the data were analyzed through descriptive statistics which included Percentage, Means, and Standard Deviation, as well as inferential statistics, which consisted of Independent Samples t-test, Oneway ANOVA, and Least Significant Difference (LSD).
The results of study showed that most of the respondents were female between 18-22 years old, had 2-5 years of work experience, earned an income of 8,001-15,000 Bath, attained less than a high school education, and had overall quality of life of at a moderate level. When each aspect of the quality of life was examined, it was found that the aspect of organizational pride was at a high level.
The results of hypothesis testing indicated that the operational staff with different gender, average monthly income had no differences in the opinion concerning overall quality of life, however, the operational staff with different age, work experience, and level of education had differences in the opinion concerning overall quality of life at 0.05 level of significance.
Download : คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี.บี. เพนท์