Factors affecting information technology acceptance : a case study of Community Development Department, Government Complex Chaeng Watthana
โดย อรทัย เลื่อนวัน และ อภิรดา สุทธิสานนท์
ปี 2556
บทความวิจัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ธันวาคม 2556 หน้า 268-276
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับงานที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานโดยศึกษาด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งานและด้านการรับรู้ประโยชน์ กลุ่มตัวย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ข้าราชการ และลูกจ้างประจำ สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะจำนวน 239 ตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Samples t-test, One – way ANOVA และ LSD ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุ 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับงานพบว่าส่วนใหญ่มีอายุงาน 11-15 ปี มีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 4 ปี เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์ 1-2 ครั้ง และใช้คอมพิวเตอร์ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าเพศและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการรับรู้ประโยชน์ และเพศที่แตกต่างกันมีผลต่อการการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวม ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับงานไม่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศทุกด้าน
The purposes of this independent study were to explore personal factors and work involvement factors that affected information technology acceptance in working performance. The study concentrated in two aspects: perceived ease of use and perceived usefulness. The sample group was 239 civil officers and employees at Community Development Department, Government Complex Chaeng Watthana. Questionnaires were used as the research tools to collect data by stratified random sampling method. Data were analyzed using descriptive statistics including percentage, mean, and standard deviation; and inferential statistics including Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and LSD at the statistical significant level of 0.05.
The results found that most of the respondents were females, 31-40 years old, Bachelor’s degree educational level, working in the operational level, and monthly income of 10,000-20,000 baht. The work involvement factors found that most of them had 11-15 years of job experience, more than 4 years of computer usage experience, 1-2 times of training in computer course, and 5-6 hours per day of computer usage. The level of information technology acceptance was in the high level in both aspects.
The hypothesis results found that the differences in gender and monthly income affected information technology acceptance in the aspect of perceived ease of use. The differences in educational level affected information technology acceptance in the aspect of perceived usefulness. The differences in gender affected information technology acceptance in total aspects. Work involvement factors had no effect on information technology acceptance in all aspects.
Download : ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ : กรณีศึกษา กรมการพัฒนาชุมชนศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ