Factors affecting behavior of employees of Rajamangala University of Technology Thanyaburi toward being public university

โดย ดวงใจ บุตรขำ และ สุภาพร คูพิมาย

ปี 2556

บทความวิจัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ธันวาคม 2556 หน้า 293-299

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 326 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติ Independent Samples t-test, One-way ANOVA และ LSD

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด การศึกษาในระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงาน ต่ำกว่า 5 ปี มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท ตำแหน่งงาน เป็นข้าราชการ ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมของบุคลากรโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า บุคลากรที่มีอายุ และประสบการณ์ทำงาน ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแตกต่างกันในด้านการปฏิบัติงาน บุคลากรที่มีรายได้ ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแตกต่างกันในด้านความคาดหวัง และบุคลากรที่มีตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแตกต่างกันในด้านทัศนคติและค่านิยม และด้านความคาดหวัง ส่วนบุคลากรที่มีเพศ สถานภาพ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐไม่แตกต่างกันทั้งในทุกด้าน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

The independent study was conducted to investigate the factors that affected the employees’ behavior of Rajamangala University of Technology Thanyaburi toward being the public university.

The sample used for the study consisted of 326 employees of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The questionnaire were applied as the data collection instrument. The statistics used comprised Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and the analysis of data was done by means of Statistical Package for the Social Sciences.

The results of the study showed that the majority of the respondents were female between 31-40 years old, single, graduated with Bachelor’s degree, had less than 5 years of work experience, earned an income between 10,001-20,000 Baht, and were government officials. The results of analysis in overall behavior indicated that different gender, marital status, and level of education made no differences in the behavior toward being the public university. However, different age, work experience, income and position demonstrated differences in the behavior toward being the public university.

 

Download : ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ