Comparison of outpatient department service quality between Klongluang Hospital and Lamlukka Hospital
โดย ศิรภัสร์ บุญมี และ สุภา ทองคง
ปี 2556
บทความวิจัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ธันวาคม 2556 หน้า 324-335
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวงและโรงพยาบาลลำลูกกา โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือบุคคลทั่วไปอายุมากกว่า 18 ปีที่เข้ามารับบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลคลองหลวงและโรงพยาบาลลำลูกกา จำนวน 770 คนประกอบไปด้วยโรงพยาบาลคลองหลวง จำนวน 385 คน และโรงพยาบาลลำลูกกา จำนวน 385 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Independent Samples t-test, One-way ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least Significance Difference (LSD)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวงและโรงพยาบาลลำลูกกา เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 30-40 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพเกษตรกรและอาชีพรับจ้างทั่วไป ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลคลองหลวง มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนผู้ใช้บริการโรงพยาบาลลำลูกกา มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท นอกจากนี้ยังพบว่า คุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลคลองหลวงและโรงพยาบาลลำลูกกา โดยรวมมีคุณภาพปานกลาง และยังพบว่าระดับการรับรู้คุณภาพการให้บริการด้านสิ่งที่สัมผัสได้ ด้านความรวดเร็วและด้านการรับประกันของโรงพยาบาลคลองหลวง มากกว่าโรงพยาบาลลำลูกกา ส่วนระดับการรับรู้คุณภาพการบริการด้านความเชื่อถือและไว้วางใจของโรงพยาบาลลำลูกกา มากกว่าโรงพยาบาลคลองหลวง และระดับการรับรู้คุณภาพการให้บริการด้านการเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคลระหว่างโรงพยาบาลทั้งสองแห่ง ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The purpose of the study was to make comparison of the outpatient department service quality provided by Klongluang Hospital and Lamlukka Hospital. The samples of the study comprised 770 general people over 18 years old, and were divided into two groups i.e. 385 samples used the services of Klongluang Hospital and 385 samples used the services of Lamlukka Hospital. The questionnaire was used as the data gathering tool. The data were analyzed through descriptive statistics including Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, as well as inferential statistics consisting of Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and Least Significance Differences (LSD).
The results of the study demonstrated that most of the respondents having used the services of the outpatient departments of Klongluang Hospital and Lamlukka Hospital were female, aged over 30- 40 years old, married, completed lower than undergraduate level, were agriculturists or employees, earned a monthly income less than 10,000 Baht. Moreover, it was found that the overall service quality of the outpatient departments provided by Klongluang Hospital and Lamlukka Hospital was at a moderate level. The perception level of the service quality in the aspects of tangibles, responsiveness, and assurance of Klongluang Hospital was higher than these of Lamlukka Hospital, however, the perception level of the service quality of Lamlukka Hospital in the aspect of reliability was higher than that of Klongluang Hospital. The study also indicated no differences in the perception level of the service quality provided by both hospitals in the aspect of empathy at 0.05 level of significance.
Download : เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลคลองหลวงและโรงพยาบาลลำลูกกา