Assessment of inventory control system for computers and electronic devices
โดย ดวงมณี เกตุแก้ว
ปี 2557
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือตามแนวคิดของ COSO ประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ และประเมินการปฏิบัติงานด้านกิจกรรมการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการปฏิบัติกิจกรรมการควบคุมภายใน และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือกับการปฏิบัติงานด้านกิจกรรมการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือพนักงานฝ่ายคลังสินค้าและจัดส่ง บริษัทกรณีศึกษา จำนวน 150 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า การประเมินระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ ตามแนวความคิดของ COSO อยู่ในระดับพอใช้ การประเมินความรู้ความเข้าใจ เรื่องระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ พบว่าอยู่ในระดับพอใช้ และการปฏิบัติงานด้านกิจกรรมการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ อยู่ในระดับดี ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศหญิงและเพศชายมีการปฏิบัติงานด้านกิจกรรมการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือแตกต่างกัน และความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบการควบคุมภายใน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานด้านกิจกรรมการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ ด้านการจัดสินค้าออกจากคลัง
The independent study was conducted to assess the inventory control system according to the COSO framework, to assess knowledge and understanding of the inventory control system, to assess the operation of the inventory control system, to investigate demographic factors that affected the operation of the inventory control system, and to examine the relationship between knowledge and understanding of the inventory control system and the operation of the inventory control system.
The sample used in the study comprised 150 staff of the warehouse and dispatch department in a case study company. The data were analyzed using Frequency, Percentage, Mean, t-test, One-Way ANOVA, and Pearson Correlation Coefficient at 0.05 level of significance.
The results of the study indicated that the assessment of the inventory control system according to the COSO framework was at a moderate level, the assessment of knowledge and understanding of the inventory control system was at a moderate level, however, the operation of the inventory control system was found at a high level. The result of hypothesis testing showed that females and males had different types of operation of the inventory control system. The study demonstrated that knowledge and understanding of the inventory control system had relationship with the operation of the inventory control system in the aspect of withdrawing items from the warehouse.
Download : การประเมินระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือประเภทคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์