The effect of integrating cooperative learning to a three-minute pause on reading comprehension ability of primary three students
โดย นภาวรรณ ขาวผ่อง
ปี 2557
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3โรงเรียนวัดศรีคัคณางค์ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 44 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วนามาทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยก่อนเรียน โดยนา ผลคะแนนจากการทดสอบมาแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คละความสามารถ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มทดลอง และ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (ซี ไอ อาร์ ซี) ผสานวิธีคิดไตร่ตรอง 3 นาที แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทย และแบบบันทึกภาคสนาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มทดลองมีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were to: 1) compare the effect of learning management model of integrating cooperative learning (CIRC) to a three-minute pause on students’ success of Thai reading comprehension, and 2) compare students’ attitude towards the learning of Thai language through the integration of cooperative learning to a three-minute pause.
Samples obtained by means of cluster sampling were forty-four Primary three students of Wat Srikhakkanang School, Pathumthani Province. They were later equally placed into two groups of mixed ability students, an experimental and a control group. Pre-test was administered to test students’ reading ability before the application of the integrated cooperative learning to a threeminute pause for the teaching of reading comprehension of Thai language. Research instruments comprised lesson plans, a test for Thai reading comprehension, a questionnaire asking for students’ opinions towards the teaching method, and a field note. The statistical data were analyzed using Mean, Standard deviation and t-test.
The results indicated that 1) Thai reading comprehension scores of students from the experimental group were higher than those of the control group at the significant level of .05. 2) Students’ level of satisfaction towards Thai language learning of the experimental group was higher than that of the control group at the significant level of .05.