The relationship between school administrators’ transformational leadership and the school management following ICT for education standards under the secondary educational service area office 23, Sakonnakhon

โดย นภัสนันท์ เบิกสีใส

ปี 2557

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สกลนคร เขต 23 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23

กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 อยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.32) 2) ระดับการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา อยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.12) 3) ผลการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในภาพรวมระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครเขต 23 กับการดาเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

The purposes of this research were to study 1) the level of school administrators’ transformational leadership; 2) the level of school management following ICT for education standards; 3) the relationship between school administrators’ transformational leadership and the level of school management following ICT for education standards under the Secondary Educational Service Area Office 23, Sakonnakhon.

The research samples which were selected using stratified random sampling method consisted of 320 teachers who taught in the second semester of education year 2014. Data collecting instrument was a questionnaire. The collected data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient.

The research findings were as follows: 1) the level of school administrators’ transformational leadership was high (x-bar = 4.32); 2) the level of school management following ICT for education standards was high ( x-bar = 4.12); 3) there was a positive relationship between school administrators’ transformational leadership and the level of school management following ICT for education standards under the Secondary Educational Service Area Office 23, Sakonnakhon in moderate level at the .01.

 

Download : ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23