Marketing mix factors affecting the decision of receiving the heart disease treatment in Thailand : a case study of european and middle east patients

โดย ศศิวิมล งามจรัส และ นพวรรณ พจน์พิศุทธิพงศ์

ปี 2556

บทความวิจัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ธันวาคม 2556 หน้า 743-750

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคหัวใจในประเทศไทย : กรณีศึกษาผู้ป่วยชาวยุโรปและตะวันออกกลาง ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดโควตา จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 65 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และทดสอบ Pair Samples t-test จากผลการทดสอบสมมติฐานระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการทางแพทย์เกี่ยวกับโรคหัวใจของผู้ป่วยชาวต่างชาติ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อปี ระดับการศึกษา สถานภาพ และภูมิลำเนา ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการทางแพทย์เกี่ยวกับโรคหัวใจของผู้ป่วยชาวต่างชาติ ในด้านเหตุผลที่เลือกใช้บริการ จำนวนครั้งการใช้บริการ แหล่งข้อมูลในการเลือกใช้บริการ ความต้องการพักผ่อนหลังจากใช้บริการ ยกเว้น อาชีพมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการทางแพทย์เกี่ยวกับโรคหัวใจของผู้ป่วยชาวต่างชาติ ในด้านแหล่งข้อมูลในการเลือกใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคหัวใจพบว่า ผู้ป่วยทั้งชาวยุโรปและชาวตะวันออกกลางให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในการตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยชาวต่างชาติ ในด้านการส่งเสริมทางการตลาด ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจในเรื่องจำนวนครั้งการใช้บริการ แหล่งข้อมูลในการเลือกใช้บริการ สถานที่ที่ต้องการไปต้องการพักผ่อนมากที่สุดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทุกด้าน ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้ในเรื่องต้องการพักผ่อนภายหลังจากการใช้บริการทางการแพทย์

The purpose of this independent study was to study the marketing mix factors affecting the decision of receiving the heart disease treatment in Thailand. A case study was conducted by focusing on the heart disease patients from Europe and Middle East. The samples consisted of 65 participants, selected by using quota sampling, and the questionnaire was used as an instrument for data collection. Statistics used for data analysis included Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Chi-square (O2– Test), and the Pair Samples t-test.

According to the hypothesis testing between the demographic factors and the behaviors toward the decision to use the medical services about the heart disease, the results showed that gender, age, the average annual income, level of education, marital status, and domicile did not affect the decision to use the medical service about the heart disease of the foreign patients. These factors included the reasons to use the service, the number of using service, source of information, and the need for resting and recovery after the medical treatment service. However, occupation was the only factor significantly affecting the decision to use the medical service about the heart disease of the foreign patients in terms of source of information at a significance level of 0.05.

Regarding the marketing factors, the results revealed that both European and Middle East patients considered promotion as an important factor which differently affected their decision to use the medical service in terms of the number of using service, source of information, the most preferable place for resting and recovery at a significance level of 0.01. Besides, all of the marketing mix factors did not affect their decision in terms of the need for resting and recovery after the medical service.

 

Download : ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคหัวใจในประเทศไทย : กรณีศึกษา ผู้ป่วยชาวยุโรปและตะวันออกกลาง