Effects of using scrabble game activity to develop english learning achievement in Pratomsuksa 3 at Anuban Ongkhrak (Padung Ongkharakpracha) School, Nakhon Nayok Province
โดย สุภิชญา จันทะมั่น
ปี 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเสริมทักษะเกมสแครบเบิล 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเสริมทักษะเกมสแครบเบิลและ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเสริมทักษะเกมสแครบเบิล กับกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนแบบปกติ
ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลองครักษ์ (ผดุงองครักษ์ประชา) จังหวัดนครนายก 4 ห้องเรียน จำนวน 172 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม 2 ห้องเรียน จำนวน 85 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 45 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเสริมทักษะเกมสแครบเบิล และกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่จัดการเรียนการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมเสริมทักษะเกมสแครบเบิลและ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย แบบประชากรสองกลุ่มสัมพันธ์กัน แบบประชากรสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบหลัก คือ ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ สาระสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผล ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเสริมทักษะเกมสแครบเบิล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเสริมทักษะเกมสแครบเบิลสูงกว่าการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The purposes of this research were to 1) develop lesson plans with scrabble game included, 2) compare pre-test and post-test of the students’ achievement in english subject of the experimental group, and 3) compare pre-test and post-test of the students’ achievement in english subject of the experimental group and the controlled groups.
The research samples were 172 prathomsuksa 3 students of Anuban Ongkharak (Phadung Ongkharakpracha) School selected by cluster random sampling. There were 2 controlled groups (45 each) and 1 experimental group (40 students). Research instruments were 1) lesson plans with scrabble game included, 2) english language achievement test. The statistics used for data analysis included mean ( ̅x), standard deviation (S.D.), t-test and ANCOVA.
The findings showed that 1) lesson plans consisted of topic, objectives, goals, content, teaching activities, instructional media and an assessment with the 1.00 IOC lesson plans, 2) the students’ pre-test achievement of the experimental group was higher than the post-test with statistically significant difference at the level of .01, 3) students’ achievement of the experimental group was higher than students’ achievement of the controlled groups with statistically significant difference at the level of .05.