Effects of puzzle game upon spatial ability of kindergarten

โดย กัลยา จงรัตนชูชัย

ปี 2555

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเกมคอมพิวเตอร์แบบไขปริศนาสำหรับส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมคอมพิวเตอร์แบบไขปริศนา

กลุ่มตัวอย่างคือเด็กปฐมวัยที่กาลังศึกษาชั้นอนุบาล 2 (อายุ 4-5 ปี) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง (อนุบาล) สังกัดเทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี จานวน 30 คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เกมคอมพิวเตอร์แบบไขปริศนา 2) แบบประเมินคุณภาพเกมคอมพิวเตอร์แบบไขปริศนาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) แบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ก่อนเล่นเกม 5) แบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์หลังเล่นเกม

ผลการวิจัยพบว่า 1) เกมคอมพิวเตอร์แบบไขปริศนาที่มีผลต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพ ดังนี้ เกมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านความเหมือนความแตกต่าง มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80/85 เกมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการต่อเข้าด้วยกันและการแยกออกจากกัน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.33/86.66 เกมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านความสัมพันธ์ของตำแหน่ง มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.66/84.33 2) ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยหลังการเล่นเกมคอมพิวเตอร์แบบไขปริศนาโดยรวม และรายด้าน ได้แก่ มิติสัมพันธ์ด้านความเหมือนความแตกต่าง มิติสัมพันธ์ด้านการต่อเข้าด้วยกันและการแยกออกจากกัน และมิติสัมพันธ์ด้านความสัมพันธ์ของตำแหน่งสูงกว่าก่อนการเล่นเกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The objectives of this research are: 1) to develop and search for an efficient of a puzzle game upon spatial ability of kindergarten student 2) to compare the spatial ability of kindergarten student before and after playing the puzzle game.

Sample of this study is 30 kindergarten students level 2 (age between 4-5 years) from a class, in first semester, academic year 2012 of Tha Klong 1 school (kindergarten), Tha Klong municipality, Pathumthani province, sorted by purposive sampling method. The research tools are 1) the puzzle game 2) the puzzle game quality evaluation form for specialist 3) the analysis of IOC (Index of Item Objective Congruence) of the test evaluation form for specialist 4) the spatial ability pre-test 5) the spatial ability post-test.

The study shows that: 1) the puzzle game upon spatial ability of kindergarten is efficient in following aspects: the similarity and dissimilarity aspect rated proficiently 80/85, the connection and disconnection aspect rated proficiently 80.33/86.66, and the relation of position aspect rated proficiently 80.66/84.33 and 2) the spatial ability of kindergarten student after playing the puzzle game as a whole and as individual aspect: the similarity and dissimilarity aspect, the connection and disconnection aspect, and the relation of position aspect is increased significantly statistically at Level .05.

 

Download : ผลของเกมคอมพิวเตอร์แบบไขปริศนาที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย