Schools principal behaviors affecting the effectiveness on student centered learning of schools under the Office of Pathumthani Educational Service Area 2
โดย สุชีรา เลิศมณีรัตน์
ปี 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) พฤติกรรมการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 4) สร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ 3) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) สมการพยากรณ์ที่ได้คือ = 1.52 + 0.34(X3) + 0.26(X5) + 0.15(X4) + (-0.11)(X7)
The research was to 1) study the levels of schools principal behaviors and the effective levels of student-centered learning, 2) study the relationship between school principal behavior and the effectiveness of student-centered learning, 3) study the schools principal behaviors that affect the effectiveness of student-centered learning and 4) create an equation to forecast schools principal behaviors affecting the effectiveness of student-centered learning of school under the office of Pathumthani Educational Service Area 2.
The sample of this research were 300 schools principal and teachers in schools under office of Pathumthani Educational Service Area 2 were used as the samples. Instrument used in the study was a five-level rating scale questionnaire. Percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient of Pearson and stepwise regression were used for data analysis.
The results showed that 1) the schools principal behaviors and the overall performance of effective levels of student-centered learning were a high level, 2) correlation between schools principal behaviors and the effectiveness of student-centered learning the relationship was in a positive-moderate level with statistically significant difference at the level of 0.1, 3) the schools principal behaviors affected the effectiveness of student-centered learning at the statistically significant difference at the level of 0.1 and 4) the regression equation was = 1.52 + 0.34(X3) + 0.26(X5) + 0.15(X4) + (-0.11)(X7).