Operation quality of electronic document system of Rajamangala University Of Technology Isan
โดย กุสุมาลย์ ประหา
ปี 2557
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 2) คุณภาพด้านการทำงานของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test และ One-Way ANOVA
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวนปีที่ทำงาน 3-5 ปี เป็นบุคลากรสายสนับสนุนและสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา พฤติกรรมการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ในการเข้าใช้งาน 1-2 ครั้ง/วัน ระยะเวลาในการใช้งานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง/วัน ประสบการณ์การใช้งาน 7 เดือนขึ้นไป มีการฝึกอบรมการใช้งานโดยเรียนรู้จากผู้ใช้ระบบ และมีฟังก์ชันการใช้งานในการลงทะเบียนหนังสือรับ คุณภาพด้านการทำงานของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีระดับการประเมิน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชากรศาสตร์ต่างกันส่งผลต่อคุณภาพด้านการทำงานของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ไม่แตกต่างกัน และพฤติกรรมการเข้าใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ต่างกัน ส่งผลต่อคุณภาพด้านการทำงานของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน
The independent study was carried out 1) to investigate the application behavior on electronic document system, 2) to examine the operation quality of electronic document system, and 3) to have the guidelines for developing the electronic document system of Rajamangala University of Technology Isan. The data were collected from 260 employees of Rajamangala University of Technology Isan through the use of questionnaire, and were analyzed applying Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test and One-Way ANOVA.
The results of the study demonstrated that the majority of the respondents were female, aged 31-40 years old, graduated with Bachelor’s degree, had 3-5 years of work experience, and were supporting employees of Rajamangala University of Technology Isan in Nakhon Ratchasima. Regarding the application behavior on electronic document system, it was found that most respondents used electronic document system 1-2 times per day, spent less than 1 hour per day, had more than 7 months of operation experience of electronic document system, had been provided with training on operating electronic document system by the specialists, the system had the transmission missive registration function, and the assessment of the overall operation quality of electronic document system was at a high level.
The results of hypothesis testing showed that different demographic characteristics did not make differences in the operation quality of electronic document system, however, different application behavior on electronic document system caused differences in the operation quality of electronic document system.
Download : คุณภาพด้านการทำงานของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน