Application quality of school management support system (SMSS) of schools under Pathumthani primary educational service area office 2
โดย พัชราวรรณ สุขมโนมนต์
ปี 2557
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้งานที่มีผลต่อการประเมินคุณภาพการใช้งานระบบสนับสนุนการบริหารการจัดการสถานศึกษา (SMSS) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูและบุคลากรผู้ที่ใช้งานระบบสนับสนุนการบริหารการจัดการสถานศึกษา (SMSS) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานีเขต 2 จำนวน 297 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test และ One-Way ANOVA
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่งงาน มีผลต่อการประเมินคุณภาพการใช้งานระบบสนับสนุนการบริหารการจัดการสถานศึกษา (SMSS) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลการทดสอบพฤติกรรมการใช้งานที่มีผลต่อการประเมินคุณภาพการใช้งานระบบสนับสนุนการบริหารการจัดการสถานศึกษา (SMSS) พบว่า ประสบการณ์การใช้งานระบบและความถี่ต่อเดือนในการใช้งานระบบ มีผลต่อการประเมินคุณภาพการใช้งานระบบสนับสนุนการบริหารการจัดการสถานศึกษา (SMSS) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
จากผลการศึกษา สำหรับผู้พัฒนาระบบสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดความสามารถของระบบเพื่อตอบสนองงานตามความต้องการของสถานศึกษา ส่วนด้านสถานศึกษา ควรพัฒนาการสนับสนุนให้มีการใช้ระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อให้บุคลากรทราบถึงความสำคัญ จนสามารถรับรู้ และเข้าใจถึงประโยชน์และความสะดวกจากการใช้งานระบบ เพื่อให้สามารถใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนสามารถตอบสนองงานตามจุดมุ่งหมายของสถานศึกษาได้ดียิ่งต่อไป
The independent study was conducted to examine the personal factors and the application behavior that had effects on the assessment of the application quality of the School Management Support System (SMSS). The sample used in the study comprised 297 teachers and personnel of the schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 2 who engaged in the School Management Support System (SMSS). The data were analyzed using Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test and One-Way ANOVA.
The results of the study revealed that the personal factors on gender, age, level of education and positions had statistically significant effects on the assessment of the application quality of the School Management Support System (SMSS). Regarding the testing results of the application behavior that had effects on the assessment of the application quality of the School Management Support System (SMSS), it was found that the application experience with the system and the application frequency of the system per month had statistically significant effects on the assessment of the application quality of the School Management Support System (SMSS).
The findings indicated that the system developers could use the study results to improve the efficiency of the system in order to achieve the mission of the schools, and the schools should support the personnel for more application of the system in order that they would realize of the importance, would know and understand of advantages and convenience of applying the system which would lead to the efficient system application and could better respond to the goals of the schools.