The relationship between constructive organizational culture and teamwork in schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 2

โดย วรรัตน์ เทพมะที

ปี 2558

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ 2) ระดับการทำงานเป็นทีม 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์กับการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและมีรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านมิติมุ่งความสำเร็จ ด้านมิติมุ่งสัจการแห่งตน ด้านมิติมุ่งบุคคลและการสนับสนุน และด้านมิติมุ่งไมตรีสัมพันธ์ ตามลำดับ 2) ระดับการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและมีรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการยอมรับนับถือ ด้านการมีเป้าหมายเดียวกัน ด้านความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และด้านการสื่อสารอย่างเปิดเผย ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์กับการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

This research aimed to study 1) the level of the constructive organizational culture, 2) the level of teamwork in schools, and 3) the relationship between constructive organizational culture and teamwork in schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 2.

The sample in this study was composed of 315 directors and teachers in schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument used for collecting data was Likert five-point scale questionnaires. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient to determine the relationship.

The research revealed that 1) the level of the constructive organizational culture as a whole and on all aspects was at the high level, 2) the level of teamwork in schools as a whole and on all aspects was at the high level, and 3) the relationship between constructive organizational culture and teamwork in schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 2 revealed the high positive relationship at .01 level of significance.

 

Download : ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์กับการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2