The relationship between competency of administrators and organization leadership in large school under the Secondary Education Service Area Office 7

โดย ณิชาภา ปรือทอง

ปี 2558

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะผู้บริหาร 2) ระดับการนำองค์กรของสถานศึกษาขนาดใหญ่ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารกับการนำองค์กรของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 287 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดที่เป็นสัดส่วน (Proportionate Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท (Likert’s Five Rating Scale) มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะผู้บริหารของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยจัดเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ การพัฒนาวิชาชีพ การประกันคุณภาพการศึกษา และความเป็นผู้นำทางวิชาการ 2) การนำองค์กรของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยจัดเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ การประเมินผลงานผู้บริหาร การจัดลำดับความสำคัญและปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร และการกำหนดทิศทางขององค์กร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารกับการนำองค์กรของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 มีความสัมพันธ์กันระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

The purposes of this research were to investigate 1) the level of competency of administrators, 2) the level of organization leadership in large schools and 3) the relationship between the competency of administrators and organization leadership in large schools under The Secondary Education Service Area Office 7.

The research sample included directors, vice directors and teachers under The Secondary Education Service Area Office 7. There were 287 people selected by Proportionate Stratified Random Sampling. The instruments used for collecting the data were Likert’s Five Rating Scale questionnaires. The test’s reliability is 0.98. The statistical measures used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient.

The findings were as follows: 1) The competency of administrators of schools under The Secondary Education Service Area Office 7 was found at a high level. The first three ranks were in descending order, namely, profession development, quality assurance in education, and academic leadership. 2) The organization leadership in large schools under The Secondary Education Service Area Office 7 showed at the highest level. The first three ranks were in descending order, namely, administrators’ work assessment, organization priority and improvement, and organization direction determination. 3) The relationship between competency of administrators and organization leadership in large schools under The Secondary Education Service Area Office 7 was at a moderate level with statistical significance at the 0.01 level.

 

Download : ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารกับการนำองค์กรของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7