A study and development bamboo furniture from wisdom the Khandong District, Burirum Province

โดย ทรงวุฒิ  เอกวุฒิวงศา และ ธงชัย  ยีรัมย์

วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2559), หน้า 149-171

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ของกลุ่มจักสานไม่ไผ่ อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 วัตถุประสงค์ ดังนี้

วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่จากภูมิปัญญาพื้นถิ่น  ใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญการจักสานงานไม้ไผ่ อ.แคนดง  จ.บุรีรัมย์  จำนวน 6 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงมีเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญภูมิปัญญาพื้นถิ่น ผลการวิจัยพบว่า งานจักสาน อ.แคนดง เป็นงานจักสานไม่ไผ่ของแต่ละชุมชนเป็นเวลาว่างจากทำนาโดยมีลวดลายจักสานที่พบ จำนวน 7 ลาย และลายสองมีความเหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D.=0.52)

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ ใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงวุฒิด้านการออกแบบที่มีประสบการณ์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นไม่ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 3 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sample) เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาแบบร่างทั้งหมด 20 รูปแบบ  โดยรูปแบบที่ 13 มีค่าความสำคัญ 13 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 1, รูปแบบที่ 17 มีค่าความสำคัญ 13 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 1, รูปแบบที่ 3 มีค่าความสำคัญ 12 คะแนน อยู่ลำดับที่ 2 และเมื่อนำมาสอบถามความเหมาะสมในการผลิตภัณฑ์ต้นแบบพบว่า รูปแบบที่ 3  มีความคิดเห็นเหมาะสมมากที่สุด  ( = 4.52, S.D. = 0.47)

วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้จำหน่ายและผู้บริโภค ใช้ประชากร  ได้แก่ ผู้จำหน่ายและผู้บริโภคสินค้าหัตถกรรมไม้ไผ่ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ จำนวน 63 คน  และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้จำหน่ายและผู้บริโภคสินค้าหัตถกรรมไม้ไผ่ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ จำนวน 50 คน  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental  Sampling) ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือการวิจัย คือ แบบประเมินค่าความพึงพอใจผู้จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมและผู้บริโภค  โดยเป็นแบบมาตราส่วน (Rating Scale) ประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่ามีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.65)  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความพึงพอใจ  ด้านหน้าที่ใช้สอย มีความพึงพอใจมากที่สุด  ( = 4.53, S.D. = 0.69)

The goal of this research was to develop bamboo products of the bamboo wickerwork group at Khean Dong District, Buriram Province. The three objectives and results were presented as follows:

The first objective was to find out the information about the time availability to do wickerwork of the sampling group and the patterns of their work. Six experts on wickerwork were selected by purposive random sampling and asked to answer the questionnaire. It was found that the wickerwork products of Khean Dong District were those made from bamboo, and the respondents did their wickerwork during their free time. Out of the seven patterns found, the second was the most appropriate pattern for further development of furniture-making (X = 4.76, S.D. = 0.52).

The second objective was to identify the product patterns and the best one to be a prototype. Three resource persons who possess at least 5-year experience in local product design were selected by purposive random sampling and asked to answer the questionnaire. Twenty product patterns were found, and the 13th and 17th ones were ranked the first while the 3rd was ranked the second with the scores of 13, 13 and 12, respectively. However, the 3rd pattern was ranked the most appropriate for being a model (X = 4.52, S.D = 0.47).

The third objective was to investigate the satisfaction of both sellers and consumers towards bamboo handicraft products. The population was 60 of those who sell and buy the products in Buriram Province. The samples were 50 out of the two groups selected by accidentally random sampling. The instrument was a 5-rating-scale questionnaire, and the data were statically analyzed by means and standard deviation. It was found that their satisfaction was at the highest level (X = 4.52, S.D. = 0.63) while they rated the product usefulness the most satisfied (X = 4.53, S.D. = 0.63).

 

Download : การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่จากภูมิปัญญาด้านการจักสาน อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์