The guidelines for conservation and inheritance of the Swan Parade and Centipede Flag Traditions of the Mon Ethnicity, Songkanong Sub-District, Prapradang District, Samutprakarn
โดย อัฐภิญญา ศรีทัพ
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2559), หน้า 128-148
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความเป็นมา ความเชื่อ ในประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ของชาติพันธุ์มอญตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2. ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ และสืบสานประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ 3. ศึกษาคุณประโยชน์ในประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเอกสาร และภาคสนามจากผู้รู้ 6 คน ผู้ปฏิบัติ 6 คน และผู้เกี่ยวข้อง 30 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า และนำเสนอรายงานโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1. ชาวมอญตำบลทรงคนอง อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในรัชกาลที่ 2 พร้อมนำวัฒนธรรมประเพณีมอญเข้ามา และมีความเชื่อในหงส์เป็นสัญลักษณ์แทนถิ่นกำเนิดตามตำนาน ส่วนธงตะขาบทำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นการรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยมีการบันทึกหลักธรรมที่ธงตะขาบเพื่อเป็นกุศโลบายของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่คู่ชุมชนต่อไป 2. แนวทางการอนุรักษ์ ของหมู่บ้านมอญ ตำบลทรงคนองพบว่า มีพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้และรวบรวมข้อมูล สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีโดยชุมชน วัดและสถานศึกษา การสืบสานของหมู่บ้านมอญตำบลทรงคนองพบว่า ได้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมมอญต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดประเพณีผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งผู้รู้ต้องเป็นผู้ถ่ายทอดในลักษณะมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกในคุณค่าประเพณีทั้งในชุมชน และนอกชุมชนด้วยการบอกเล่าเรื่องราวผ่านสถาบันครอบครัว และสถานศึกษา ปราชญ์ชาวบ้านต้องเป็นผู้ถ่ายทอด ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา ความเชื่อ รวมทั้งขั้นตอนการทำธงตะขาบตามแบบของหมู่บ้าน 3. คุณประโยชน์ต่อตนเองทำให้ชาวมอญมีความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ ประโยชน์ต่อชุมชนเกิดความสามัคคีและมีรายได้จากการท่องเที่ยว ประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นได้ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ทำให้มีรายได้เข้าจังหวัด ประโยชน์ต่อภาคธุรกิจการค้ามีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึกจากนักท่องเที่ยว
This qualitative research aims to study the following. 1. The history and beliefs regarding the Swan Parade and Centipede Flag of the Mon ethnicity at Songkanong sub-district, Papradang district, Samut Prakan province. 2. Conservation guidelines for the Swan Parade and Centipede Flag. 3. The value of these traditions. The research instrument was an in-depth interview study involving 6 local philosophers, 6 participants and 30 stakeholders. The researcher also collected documents and field data. Data accuracy checks used triangulation technique and the presentation used descriptive analysis.
The results of the study were as follows. 1) Mon ethnic immigrants came to the area in the reign of King Rama II. They believed the swan was a symbol of national origin and the Centipede Flag was a tribute to the Buddha and commemorated their deceased ancestors. Buddhist doctrine was recorded on the flag, which was conservation of traditional knowledge. 2) Conservation guidelines of Mon tradition at Songkanong sub-district found that the museum of Mon ethnicity was a learning center and gathered information. Building the participation conservation of cultural heritage by the community through the temple and educational institutions was a goal. Cultural activities by the community to promote inheritance of tradition through the various media outlets were another goal. Transfer of cultural knowledge took place to encourage realizing the value of tradition both in the community and outside. Storytelling by the families and educational institutions also took place. Beliefs and historical traditions of Mon knowledge were presented by local philosophers, including the process of making the Centipede Flag. 3) Valuing traditions makes Mon people proud of their ethnicity. Benefits to the community unity and revenues from tourism increased. Local government wished to build the province’s image and revenues and bring benefits to businesses from sales of goods and souvenirs to the tourists.