The relationship between quality of life and the efficiency performance of joint Thai and migrant labor in shipyards business
โดย อำพร ธงชมเชย
ปี 2558
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานร่วมกัน และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานร่วมกันของแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในธุรกิจอู่ต่อเรือ
กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติทุกชาติพันธุ์ จำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบพหุคูณภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวิธีผลต่างที่มีนัยสำคัญน้อยที่สุด การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตด้านค่าตอบแทนมีความสำคัญในระดับมากเป็นอันดับหนึ่งรองลงมาคือ ด้านสภาพการทา งาน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความสำคัญในระดับปานกลางการศึกษาและรายได้มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ส่วนคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของแรงงานในภาพรวมระดับปานกลาง และคุณภาพชีวิตทุกด้านมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานร่วมกันของแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติโดยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีอิทธิพลสูงที่สุด
This independent study aimed to study 1) level of the relationship between quality of life and the efficiency performance of joint Thai and migrant labor, and 2) factors influencing the efficiency performance of joint Thai and migrant labor.
The sample group were 300 Thai and migrant workers. The questionnaires were used as research instrument to collect data. Statistics used to analyze data were descriptive statistics including frequencies, percentages, means, and standard deviations; and inferential statistics including Independent Samples t-test, One-way ANOVA, Post Hoc using LSD, Pearson Product Moment Correlation, and Multiple Linear Regression at the statistical significance level of 0.05.
The findings indicated that quality of life in the aspect of compensation was at the highest importance level followed by the aspect of working condition. Interpersonal relationship was important at the average level. The educational level and income affected the performance of joint Thai and migrant labor in all aspects. The quality of life in aspects of interpersonal relationship had positive correlation as the efficiency performance of join Thai and migrant labor at the average level. The quality of life in all aspects influenced the performance of joint Thai and migrant labor while the aspect of interpersonal relationship had the highest influence.