The impact of applying GFMIS on the quality of financial reporting of public entities: A case study of Phra Nakhon Si Ayutthaya district  

โดย พัชรินทร์ ศิริทรัพย์

ปี 2558


บทคัดย่อ (
Abstract)

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลกระทบการใช้ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบเล็กทรอนิกส์ GFMIS ที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของหน่วยงานราชการ กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา

การศึกษาเป็นพื้นฐานความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่บัญชี/การเงิน ระดับหัวหน้างานและระดับปฏิบัติงาน รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพรายงานการเงิน คือ ปัจจัยบุคลากร ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ทางบัญชี มีความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความสามารถในการปฏิบัติงานในระบบ GFMIS และปัจจัยระบบ GFMIS ด้านระบบการบริหารงบประมาณ ด้านระบบการเงินและบัญชี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพรายงานการเงิน พบว่าด้านระบบบริหารงบประมาณมีความสัมพันธ์ทิศทางตรงกันข้าม ส่วนด้านอื่น ๆไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพรายงานการเงิน เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานระบบ GFMIS มีความคิดเห็นว่าแม้จะมีผลกระทบจากการใช้ระบบ GFMIS แต่รายงานการเงินก็ต้องทำให้มีคุณภาพ เพราะมีความสำคัญต่อการตัดสินใจวางแผนของผู้บริหาร และต้องพัฒนาคุณภาพของรายงานการเงินให้มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1) เข้าใจได้ 2) เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ 3) เชื่อถือได้ และ 4) เปรียบเทียบกันได้

This independent study is an empirical investigation that aimed to examine the impact of GFMIS on the quality of financial reporting of public entities in Phra Nakhon Si Ayutthaya District.

The study was based on the opinions of accounting/finance officers at the operational and management levels. A mixed methods approach was applied using questionnaire surveys and interviews. The statistical analyses included percentage, frequencies, standard deviation, one-way ANOVA, and Pearson’s correlation analysis.

The results showed that the factors influencing the quality of financial reporting were human resource factors, which were comprised of educated accounting staff, experienced staff, and well-trained information technology staff. These factors showed a high-level impact on the quality of financial reporting. In addition, the GFMIS factors such as budgeting management systems and accounting and finance systems also had an impact on the quality of financial reporting at a high level. From the analysis, the results showed a negative relation between the budgeting management system and the quality of financial reporting, while the other factors had no relationship with the quality of financial reporting. The respondents believed that although GFMIS had an impact on the quality of financial reporting to some extent, the financial reporting had to be of a high quality because it played an important role on the management decision. The financial reporting has to be understandable, relevant, reliable, and comparable.

 

Download : ผลกระทบการใช้ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS ที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของหน่วยงานราชการ : กรณีศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา