Consumers perception toward imported cars from people’s republic of China (PRC) on purchase intention
โดย นัยเนตร พันธสำราญสุข
ปี 2558
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว ที่มีผลต่อความสนใจซื้อรถยนต์นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและเพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคที่มีผลต่อความสนใจซื้อรถยนต์นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มประชากรที่ใช้รถยนต์ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน โดยการเก็บแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มประชากรและการกระจายของข้อมูล ค่า t-test ใช้ทดสอบเปรียบเทียบระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระ ซึ่งจำแนกเป็น 2 กลุ่ม และ ค่า ANOVA ใช้ทดสอบเปรียบเทียบความแปรปรวนของตัวแปรอิสระ ซึ่งจำแนกมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปและทดสอบ รายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference) ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้คุณภาพของรถยนต์นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนของผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีการรับรู้ระดับปานกลาง ทั้งในด้านของคุณภาพ ความคงทน ความน่าเชื่อถือและด้านของความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม จะมีผู้บริโภคบางส่วนที่รับรู้ระดับมาก ในด้านความคงทนและด้านความปลอดภัยที่ว่ารถยนต์นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมีรูปลักษณ์ที่กะทัดรัด มีความคงทนมีสมรรถนะของเครื่องยนต์และความปลอดภัยดีมาก การรับรู้ต่อผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพ ด้านความคงทนด้านความน่าเชื่อถือ และด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกัน มีผลต่อความสนใจซื้อรถยนต์นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่แตกต่างกัน
The purpose of this independent study were to research consumers’ demographical data on gender, age, education, occupation, income and number of family members which affect purchase intention of imported cars from People’s Republic of China (PRC) and to study their perception towards the quality of those cars from People’s Republic of China. The 400 samples were simple random sampling from car users in Ayutthaya province. Questionnaire was used as an instrument. The statistics used to analyze general data and data distribution were percentage, mean and standard deviation. The t-test was used for mean differential comparison of two independent variables. One-way ANOVA was used for variance comparison of more than 2 independent variables. LSD (Least Significant Difference) was used for pair test. It was found that the consumers’ perception towards imported cars from People’s Republic of People’s Republic of China mostly at the moderate level in terms of quality, durability, reliability and safety. However, the perception of some customers was at the high level in terms of the durability and safety, especially on its compact, durability, effective engine and good performance. For their perception towards the product, it was shown that their different perception on quality, durability, reliability and safety of the car led to the different purchase intention.