The development of problem – solving ability in mathematics proposition by incorporating cooperative learning TAI technique into KWDL technique for prathomsuksa 5 students
โดย กัญญาภรณ์ สีนินทิน
ปี 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการจัดการเรียนรู้เทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL และ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีปกติและการจัดการเรียนรู้เทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดป่าไผ่ จังหวัดสระบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDLและแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แบบทดสอบทักษะการแก้โจทย์ปัญหา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการจัดการเรียนรู้เทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการจัดการเรียนรู้เทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDLสูงกว่าการจัดการเรียนรู้โดยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The research objectives were to 1) compare the students’ problem – solving skills in mathematics proposition before and after studying with conventional approach, 2) compare the students’ problem – solving skills in mathematics proposition before and after studying with TAI technique and KWDL technique, and 3) compare the students’ problem – solving skills in mathematics proposition between the experimental group and the control group. The samples of this study were 60 Prathomsuksa 5 students studying at Watpapai School, Saraburi province in the academic year 2/2015. Research instruments were 1) instructional plans based on incorporating TAI technique into KWDL technique and instructional plans based on traditional approach, 2) evaluation form on analytical problem – solving propositional skills. The data were analyzed by descriptive statistics including mean, standard deviation and dependent sample t-test. The findings were as following: 1) the students’ posttest of problem – solving skills in mathematics proposition studied by traditional approach was higher than the pretest at statistically significant difference .05, 2) the students’ posttest of problem – solving skills in mathematics proposition studied by incorporating TAI technique into KWDL technique was higher than the pretest at statistically significant difference .05, and 3) the students’ problem – solving skills in mathematics proposition studied by incorporating TAI technique into KWDL technique was higher than those with conventional approach at statistically significant difference .05.