The relationship between administration factors and effective of schools under Pathumthani primary educational service area office 1
โดย วราภรณ์ เนาเพ็ชร
ปี 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยการบริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 2) ระดับประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหาร กับประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ สถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 310 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบ มาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน 2) ระดับประสิทธิผล สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 อยู่ในระดับมากทั้ง โดยรวมและรายด้าน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีความสัมพันธ์กันสูงอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
The purpose of this research was to investigate 1) the level of administration factors of schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 1, 2) their level of effectiveness, and 3) the relationship between the administration factors and their effectiveness. The 310 research samples chosen by stratified-systematic random sampling were those of academic year 2014 and could be classified as school directors, assistant directors and teachers working under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 1. A 5-rating-scale questionnaire was used for data collection. The statistics included Percentage, Mean, Standard Deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results showed that both administration factors of schools and their effectiveness were at a high level for overall and individual aspects. It was also found that the relationship between both of them was high at statistically significant difference 0.01.