Relationship between quality of work life and organizational engagement of personnel at the department of industrial promotion
โดย สุชาดา แก้วแกมทอง
ปี 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรและความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการและลูกจ้างในหน่วยงานส่วนกลาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสอบถาม คือ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างในหน่วยงานส่วนกลาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ Independent Samples t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมและรายด้านทุกด้านในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความยุติธรรมในการทำงาน ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน ด้านเพื่อนร่วมงาน และด้านโอกาสและความก้าวหน้า และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมและรายด้านทุกด้านในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการคงอยู่กับองค์กร ด้านบรรทัดฐานทางสังคม และด้านความรู้สึกผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตในการทำงานไม่แตกต่างกัน คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านสภาพแวดล้อมการทำงานด้านความยุติธรรมในการทำงาน และด้านนโยบายและการบริหาร มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันกับความผูกพันต่อองค์กรด้านการคงอยู่กับองค์กร ด้านความรู้สึก และด้านบรรทัดฐานทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The study was carried out to examine the quality of work life, organizational engagement, and relationship between the quality of work life and organizational engagement of civil servants and central unit employees of the Department of Industry Promotion. The sample used in the study consisted of 282 civil servants, official employees, and central unit employees of the Department of Industry Promotion. The data were collected through the application of a questionnaire, and analyzed using descriptive statistics, including percentage, mean, and standard deviation. Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient were used to test the hypothesis. The results of the study showed that the respondents had the highest level of quality of work life as a whole and in every aspect. Those aspects were sorted in descending order as follows: policy and administration, fairness in working, work environment, colleagues, and opportunity and promotion. It was also found that the respondents had the highest level of organizational engagement as a whole and in every aspect. The aspects were sorted in descending order as follows: employee retention, norms, and feelings. The hypothesis results revealed that different demographic factors resulted in no different quality of work life. With regards to quality of work life, the aspects of work environment, fairness in working, and policy and administration and the aspects of organizational engagement in the aspects of employee retention, feelings, and norms were positively correlated at the 0.05 level of significant.