The production of public relations media “Leave of Absence Under Employee Right” with application of motion graphic technique
โดย พฤกษา พรหมทรัพย์, ณัฐนนท์ ใจชน และธนพนธ์ สิงห์คํา
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาปริญญานิพนธ์ เรื่อง การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง ”สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี และเพื่อประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ พนักงานเทศบาลตําบลธัญบุรีฝ่ายงานการเจ้าหน้าที่สํานักปลัดเทศบาลตําบลธัญบุรี ที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์
จากการศึกษาพบว่ากระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนเตรียมการผลิต (Pre-Production) คณะผู้วิจัยเริ่มจากศึกษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์เนื้อหาและออกแบบ เนื้อหาที่จะนําไปใช้ในการผลิตสื่อ Motion graphic โดยเลือกจากเอกสารของทางเทศบาลตําบลธัญบุรี เรื่องสิทธิการลา 2) ขั้นตอนการผลิต (Production) คณะผู้วิจัยได้มีการออกแบบและสร้างตัวละครโดยการวาดตัวละครตามแนวคิดให้เข้ากับเนื้อเรื่องโดยใช้โปรแกรม Adobe illustrator ในการดราฟและลงสีตัวละครรวมไปถึงการสร้างฉาก แล้วจึงนําไปเสนอผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 ท่าน เพื่อขอข้อเสนอแนะและนําไปปรับปรุงแก้ไขก่อนการนําไปผลิต โดยได้ทําการเคลื่อนไหวตัวละครด้วยโปรแกรม Macromedia Flash8 และ โปรแกรม Adobe PremierPro เพื่อให้ดําเนินตามเนื้อเรื่องที่เขียนไว้ และ 3) ขั้นตอนหลังการผลิต (Post-Production) ทําการตัดต่อภาพเพื่อให้สมบูรณ์ที่สุดด้วยโปรแกรมAdobe Premier Pro พร้อมใช้เสียงสนทนาและเสียงประกอบ
การประเมินความพึงพอใจต่อสื่อ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ ในระดับดีมาก เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี เนื้อหาเข้าใจง่าย
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษากระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี
- เพื่อประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ พนักงานเทศบาลตําบลธัญบุรีฝ่ายงานการเจ้าหน้าที่สํานักปลัดเทศบาลตําบลธัญบุรี ที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี
โจทย์การวิจัย
- กระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี มีขั้นตอนอย่างไร
- พนักงานเทศบาลตําบลธัญบุรีฝ่ายงานการเจ้าหน้าที่สํานักปลัดเทศบาลตําบลธัญบุรี มีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรีมากน้อยแค่ไหน
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับเทศบาลตําบลธัญบุรี โดยจะผลิตออกมาในรูปแบบของสื่อ Motion graphic เรื่องสิทธิของพนักงานเทศบาล โดยในส่วนของเนื้อหาในสื่อ Motion graphic นั้น จะเป็นเรื่องของ “สิทธิการลา” จํานวน 1 ชิ้นงาน มีความยาว 7 นาที ที่จะนําไปเผยแพร่ต่อกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นพนักงานเทศบาลตําบลธัญบุรี ฝ่ายงานการเจ้าหน้าที่สํานักปลัดเทศบาล ตําบลธัญบุรี โดยมีการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สํานักปลัดเทศบาล ตําบลธัญบุรี หลังจากได้รับชมสื่อ
นิยามศัพท์
พนักงานใหม่ หมายถึง พนักงานของทางเทศบาลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของเทศบาล และให้ความหมายรวมถึงข้าราชการ ลูกจ้างประจํา พนักงานจ้างอื่นที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลและเทศบาลนํามาจัดเป็นเงินเดือน
การปฐมนิเทศ หมายถึง การให้คําแนะนําเมื่อเริ่มการประชุมหรือเริ่มกิจการอันหนึ่ง เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบว่า ควรจะปฏิบัติอย่างไร จะค้นหาอะไรได้ที่ไหน เมื่อเกิดข้อสงสัยจะติดต่อถามที่ผู้ใด
เทศบาลตําบลธัญบุรี หมายถึง รูปแบบการปกครองหนึ่งของทางรัฐบาลที่ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ซึ่งเทศบาลเป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอํานาจให้แก่ท้องถิ่นดําเนินการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
สื่อปฐมนิเทศด้วยเทคนิค Motion graphic หมายถึง สื่อที่ใช้ร่วมกันกับการบรรยายในงานอบรมปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของทางเทศบาลตําบลธัญบุรี โดยจะมีข้อมูลของเทศบาลตําบลธัญบุรีหรือสิทธิของพนักงาน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าใจถึงเนื้อหาและข้อมูลเพิ่มเติมของสิทธิพนักงานในองค์กรโดยการแพร่กระจายข่าวสารผ่านสื่อการนําเสนอต่าง ๆ โดยใช่เทคนิคภาพเคลื่อนไหว
ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชอบ ชื่นชม ประทับใจของ พนักงานเทศบาล ฝ่ายงานการเจ้าหน้าที่สํานักปลัดเทศบาล ตําบลธัญบุรี ที่มีต่อการรับชมสื่อปฐมนิเทศด้วยเทคนิค Motion graphic ในด้านสิทธิการลา กฎระเบียบของการลาสําหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจํา และพนักงานจ้างของเทศบาลตําบลธัญบุรี
กระบวนการผลิตสื่อปฐมนิเทศ หมายถึง ขั้นตอนในการผลิตสื่อปฐมนิเทศด้วยเทคนิค Motion graphic แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ (1) ขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต (Pre-production) เช่น การศึกษาข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหาและออกแบบ คิดเนื้อเรื่อง การเขียนเรื่องเป็นโครงเรื่องขยาย การเขียน Story board (2) ขั้นตอนการผลิต (Production) เช่น การสร้างตัวละคร การสร้างฉาก ทําการเคลื่อนไหวตัวละคร และ (3) ขั้นตอนหลังการผลิต (Post-production) เช่น การตัดต่อภาพ การนําเสนอสื่อประชาสัมพันธ์
เทคนิค Motion graphic หมายถึง การนําข้อมูลที่ได้รวบรวมจากการวิเคราะห์จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาสรุปโดยใจความสั้น ๆ หรือเรียกอีกอย่าง คือ การย่อความจากเรื่องที่มีเนื้อหายาว ๆ มาย่อลงให้สั้น กระชับ โดยที่สาระและใจความสําคัญยังคงอยู่ ผ่านการเล่าเรื่องเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยจะใช้ตัวการ์ตูนเป็นตัวดําเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาปริญญานิพนธ์ เรื่อง การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ในครั้งนี้เป็นการวิจัยที่ใช้ในลักษณะการผลิตสื่อเพื่อให้ความรู้แก่พนักงานใหม่เทศบาลตําบลธัญบุรี“เรื่องสิทธิของพนักงาน” ใช้การสํารวจความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง โดยการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ จํานวน 3 ท่านและกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานเทศบาล ฝ่ายงานการเจ้าหน้าที่สํานักปลัดเทศบาล ตําบลธัญบุรี จํานวน 5 คน โดยตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ดังนี้
- เพื่อศึกษากระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง ”สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ให้ดึงดูดความสนใจ
- เพื่อประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ พนักงานเทศบาลตําบลธัญบุรีฝ่ายงานการเจ้าหน้าที่สํานักปลัดเทศบาลตําบลธัญบุรี ที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยกระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ตามวัตถุประสงค์ดังนี้
1. ขั้นตอนการดําเนินการ
ได้มีการจัดทําตามกระบวนการดังที่ทฤษฎีกระบวนการผลิตสื่อ ได้กล่าวไว้ดังนี้
1.1 ขั้นตอนเตรียมการผลิต (Pre-production)
1.1.1 คณะผู้วิจัยได้ทําการศึกษาข้อมูล และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการทําสื่อ
Motion graphic และศึกษาในส่วนของเรื่องสิทธิต่าง ๆ ของพนักงานเทศบาลตําบลธัญบุรีทั้งหมด หลังจากนั้นจึงได้ทําการคัดเลือกข้อมูลที่จะนํามาใส่ในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรีได้แก่
– สิทธิการลา
– การลามีทั้งหมดกี่ประเภท
– ข้อควรปฏิบัติในการลาแต่ละประเภท
– การลาประเภทไหนที่สามารถได้เงินในวันลา ลาประเภทไหนไม่ได้
– ระยะเวลาในการลาแต่ครั้ง
1.1.2 วิเคราะห์เนื้อหาทั้งหมดและนํามาออกแบบ โดยมีขั้นตอนการทําดังนี้
– คิดวิธีการเล่าเรื่อง โดยทางคณะผู้วิจัยได้มีการกําหนดตัวละครทําการเล่าเรื่องและดําเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ
– การเขียนสคริปต์ ทางคณะผู้วิจัยได้ทําการเขียนบทสั้น ๆ และใช้ภาษาที่มี
ความหมายชัดเจน ไม่กํากวมเพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ง่าย
– การเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (Treatment) ทางคณะผู้วิจัยได้ทําการออกแบบตัว
ละครและฉากต่าง ๆ ลงในกระดาษ ในหลาย ๆ มุม หลาย ๆ แบบ เพื่อนํามาคัดเรื่องให้ได้แบบที่เหมาะสมในการนําไปใช้ประกอบสื่อมากที่สุด
– การกําหนดทิศทางของงานศิลปะ (Art Direction) องค์ประกอบต่าง ๆ ในสื่อเป็น
ส่วนสําคัญมากและมีอิทธิพลมากต่อการรับรู้ของผู้ชม ดังนั้น บทบรรยาย ดนตรี และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะทั้งหมด แสง สี เสียง จึงจําเป็นมากในการผลิตสื่อ
1.1.3 การเขียนแผ่นภาพบรรยายเรื่องราว (Storyboard) ก่อนการผลิตคณะผู้วิจัย
ได้เขียนแผนภาพบรรยายเรื่องราว เขียนเนื้อเรื่องออกมาเป็นภาพเพื่อแสดงให้เห็นการวางตําแหน่งและขนาดภาพที่ใช้ในฉากนั้นๆ แล้วนําไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบก่อนการผลิต
1.2 ขั้นตอนการผลิต (Production)
1.2.1 คณะผู้วิจัยได้ทําการสร้างตัวละครขึ้นเพื่อให้เป็นตัวหลักในการดําเนินเรื่องโดยมีขั้นตอนการทําดังนี้ คือ วาดตัวละคร เริ่มต้นจากนํารูปที่ร่างเป็นแบบไว้ในกระดาษมา
สแกนลงเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําการดราฟตัวละครทั้งหมด ดราฟโดยการแยกชิ้นส่วนของร่างกาย ลงสี ใส่แสงและเงาเพื่อความสวยงาม
1.2.2 คณะผู้วิจัยได้ทําการเคลื่อนไหวตัวละครด้วยโปรแกรม Macromedia Flash8 โดยมีขั้นตอนการทําดังนี้ คือ เริ่มต้จากการนําฉากและตัวละครมาวาง ทําให้ตัวละครเคลื่อนไหวและนําตัวละครที่เคลื่อนไหวแล้วมาประกอบเข้ากับฉาก เพื่อให้ดําเนินเรื่องที่ได้เขียนไว้
1.3 ขั้นตอนหลังการผลิต (Post- Production) คณะผู้วิจัยได้ทําการตัดต่อภาพเพื่อให้สมบูรณ์ที่สุดด้วยโปรแกรม Adobe PremierPro พร้อมใส่เสียงบรรยาย และเสียงประกอบทั้งหมดให้สมบูรณ์ เสียงของตัวละครใช้การอัดเสียง ส่วนเสียงประกอบเป็น Sound effect ทั่วไป และได้นําเสนอสื่อผลงานในรูปแบบต่าง ๆ
2. การประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี
2.1 สรุปข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มเป้าหมายที่ทําการสํารวจ
ทั้งหมด 5 คน เป็นเพศหญิงทั้งหมด
2.2 วัตถุประสงค์การศึกษาวิจัยข้อนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก บุคลากรในเทศบาลตําบลธัญบุรี
จํานวน 5 คน จากฝ่ายงานการเจ้าหน้าที่สํานักปลัดเทศบาล ตําบลธัญบุรี จากนั้นทางคณะผู้วิจัยจะนํามาวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสามารถสรุปและเสนอผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายดังนี้
ในส่วนของความน่าสนใจ ความเข้าใจ และความชัดเจนของการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี พบว่า การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ที่ทางคณะผู้วิจัยได้ผลิตให้กับทางเทศบาลตําบลธัญบุรีนี้ มีความชัดเจนและสมบูรณ์น่าดึงดูดใจ เหมาะที่จะนําไปใช้ในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่
ในด้านความเหมาะสม ความสวยงามของตัวละครสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี พบว่า การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ที่ทางคณะผูhวิจัยได้ผลิตให้กับทางเทศบาลตําบลธัญบุรีนี้ มีความเหมาะสม สวยงามของตัวละคร อีกทั้งยังมีเนื้อหาข้อมูลที่สอดคล้องกับทาง
เทศบาลตําบลธัญบุรี เหมาะที่จะนําไปเผยแพร่ในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของทางเทศบาลตําบลธัญบุรีได้
ในส่วนความชัดเจนของภาษาที่ใช้ในการบรรยายสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ที่ทางคณะผู้วิจัยได้ผลิตให้กับทางเทศบาลตําบลธัญบุรีนี้ มีความชัดเจนของภาษาในระดับดี เนื้อหามีความเข้าใจง่าย เหมาะที่จะนําไปใช้ในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่
ในด้านความน่าสนใจของเทคนิคการนําเสนอสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของ
พนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ที่ทางคณะผ้วิจัยได้ผลิตให้กับทางเทศบาลตําบลธัญบุรีนี้ มีความน่าสนใจในระดับดี ไม่ทําให้เกิดความน่าเบื่อ เหมาะที่จะนําไปเผยแพร่ในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของทางเทศบาลตําบลธัญบุรีได้ความพึงพอใจในภาพรวมของกล่มเป้าหมายที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ที่ทางคณะผ้วิจัยได้ผลิตให้กับทางเทศบาลตําบลธัญบุรีนี้ มีความพึงพอใจในระดับ 9 จาก 10 เหมาะที่จะนําสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ไปใช้ได้
อภิปรายผลการวิจัย
จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความเข้าใจของผ้ให้การสัมภาษณ์ภายหลังจากที่ได้
รับชม การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี พบว่า กล่มตัวอย่างเห็นว่าสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี อย่ในระดับดีมากโดยเฉลี่ยอย่9/10 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยในระดับที่มากที่สุด
จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของผ้ที่ให้การสัมภาษณ์ภายหลังจากที่ได้รับชม
การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic
สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรีแล้ว คณะผ้วิจัยคาดว่า เหตุที่กล่มตัวอย่างพึงพอใจในการใช้การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี เป็นเพราะได้มีการเตรียมการออกแบบสื่อ เกี่ยวกับการให้ข้อมูลในเรื่องของสิทธิการลาของเทศบาลตําบลธัญบุรี ซึ่งเทคนิคเทคนิค Motion graphic เป็นเทคนิคที่
เหมาะสําหรับการทําข้อมูลที่มีรายละเอียดเยอะ หรือข้อมูลที่ยากให้เข้าใจง่ายในรูปแบบของ Motion graphic จึงทําให้การนําเสนอนั้นมีความน่าสนใจ เหมาะสม เข้าถึงได้ทุกช่วงอายุวัย และยังช่วยดึงดูดความน่าสนใจให้กับผ้ชม ทําให้สิ่งที่คณะผ้วิจัยต้องการถ่ายทอด สื่อสารไปยังกล่มตัวอย่างตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับการศึกษาของ อรวรรณ กรุแก้ว (2554) เรื่องการสร้างสื่อโฆษณารณรงค์การดื่ม
นม โดยใช้เทคนิค Freeze Frame ร่วมกับ Motion graphic พบว่า กล่มเป้าหมายได่รับการรับร้และความเข้าใจที่ดีมาก มีประโยชน์และสามารถทําให่นักศึกษาสนใจในเรื่องการรณรงค์การดื่มได้มากขึ้นซึ่งจะทําให้เกิดการรับรู้และมีความตระหนักถึงประโยชน์ที่มีอย่ในระดับสูง และมีความต้องการที่จะดื่มนมมากขึ้น
เช่นเดียวกับ การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี ซึ่งจําเป็นต้องอธิบายข้อมูลที่มีจํานวนมาก มีรายละเอียดหลากหลายให้“จบได้ในไม่กี่นาที” คุณสมบัติที่กล่าวมานี้คณะผ้วิจัยเห็นว่า เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ความน่าสนใจของสื่อนั้นจะเกิดขึ้นได้อาจจะกล่าวได้ว่า การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี จะช่วยให้การประชาสัมพันธ์มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะทั่วไป
- เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า การใช้เทคนิค Motion graphic ได้รับความนิยมจาก
กล่มเป้าหมายว่ามีความน่าสนใจ ในอนาคตจึงควรมีการใช้และพัฒนาสื่อสมัยใหม่มาใช้ในการประชาสัมพันธ์เรื่องการปฐมนิเทศ หรือการฝึกอบรมขององค์กร กับกล่มเป้าหมายที่อย่ในระดับวัยทํางาน เพราะจะช่วยให้เข้าถึงเป้าหมายได้เพราะมีความน่าสนใจและเข้าใจง่าย - ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นต้นแบบในการพัฒนาสื่อประเภทต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการให้ความรู้ในเรื่องของการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี
ข้อเสนอแนะสําหรับงานวิจัยครั้งต่อไป
คณะผู้วิจัยให้มีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง “สิทธิการลาของพนักงาน” โดยใช้เทคนิค Motion graphic สําหรับเทศบาลตําบลธัญบุรี เช่น สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิการศึกษาบุตร สิทธิค่าเช่าบ้าน สิทธิการเดินทางไปราชการ สิทธิเงินทําขวัญ เพื่อเปรียบเทียบกับผลการวิจัยในครั้งนี้