The Production of Public Relation Film; Faculty of Mass Communication Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

โดย สุชาธีณี พิณสุวรรณ์, พุฒิพงศ์ เตชะพูลผล, พงศกร พงษ์เจริญ, ศรัณย์พิชญ์ สนธิสุวรรณ, เวฬุริย์ ผาสุข, อภิรักษ์ ไพรศร, พงศ์ธร มงคลธนพันธุ์, เรวัต แจ่มจันทร์ศรี, วิมลรัตน์ นิลชิต, ฑิฆัมพร กิจจาหาญ, วชิระ แช่มสกุล, ขจรศักดิ์ สงคราม และวีระศักดิ์ ฉิมแป้น

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตสื่อภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยี
สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้ศึกษาได้ทำการผลิตภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ ความยาว 7.45 นาที โดยมีเนื้อหาแสดงถึง
การเรียนการสอน มีอาคารเรียน วัสดุอุปกรณ์ ที่มีความใหม่และทันสมัย อีกทั้งบรรยากาศและ
สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพการผลิตของภาพยนตร์โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และ
แบบสอบถามเพื่อประเมินเนื้อหาของภาพยนตร์โดยกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า จำนวน 4 โรงเรียน

ผลการศึกษาสรุปได้ว่า สื่อภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ผลิตขึ้นนั้น มีคุณภาพการผลิตของภาพยนตร์อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี และด้านเนื้อหาของภาพยนตร์อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

เพื่อผลิตภาพยนตร์โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้ชมทราบถึง อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มุ้งเน้นการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติผู้ที่เป็นมืออาชีพสำหรับสายงานด้านต่างๆ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถผลิตภาพยนตร์สั้น ประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ขอบเขตของการศึกษา

ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษา ทำการผลิตภาพยนตร์โฆษณาเชิงภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ความยาว 5-10 นาที โดยใช้กล้อง Sony PXW-FS7 4K Super 35 และตัดต่อในโปรแกรม Adobe Premiere CS6 บันทึกลงแผ่น DVD และเผยแพร่เป็นสื่อออนไลน์ ทางเว็บไซต์ www.youtube.com เป็นการผลิตภาพยนตร์สั้น ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทำการประเมิน เนื้อหาและความเข้าใจของภาพยนตร์โดยใช้แบบแสดงความคิดเห็นกับนักศึกษา และประชาชนทั่วไป จำนวน 20 คน และนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติเป็น ร้อยละ


สรุปผลการศึกษา

ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้ศึกษาสามารถผลิตสื่อภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ความยาว 7.45 นาที ซึ่งภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้น มีเนื้อหาแสดงถึงคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนที่มีการเรียนการสอนทั้งหมด 6 สาขาวิชา มีอาคารเรียน วัสดุอุปกรณ์ที่มีความใหม่และทันสมัย อีกทั้งบรรยากาศและสิ่งอำนวย ความสะดวกต่าง ๆ มากมาย โดยใช้การตัดต่อหลากหลายรูปแบบประกอบกับเสียงดนตรีประกอบ ซึ่งผลการประเมินคุณภาพการผลิตของภาพยนตร์ อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี และผลการประเมินเนื้อหาของภาพยนตร์อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี

อภิปรายผลการศึกษา

จากผลการศึกษาการผลิตสื่อภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่าด้านคุณภาพการผลิตของภาพยนตร์อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี เป็นเพราะว่า ภาพที่นำเสนอมีความสวยงามและน่าสนใจ อาจเกิดจากการถ่ายทำด้วยเทคนิค Long Take รวมถึงการตัดต่อมีส่วนช่วยทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความน่าสนใจ และภาพยนตร์เรื่องนี้ สามารถใช้ในการบอกข่าวสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนได้ ซึ่งสอดคล้องกับเทคนิคการถ่ายแบบ Long Take โดย Congee Filleggs (Website,2016) กล่าวว่า การถ่ายแบบ Long Take ทำให้ผู้ชมได้เห็นสถานการณ์ตรงทุกวินาที เหมือนประหนึ่งเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ นี่คือจุดเด่นมาก ๆ เพราะสามารทำให้ภาพยนตร์มีความน่าสนใจได้ และ Kru Noch, Website, 2012 กล่าวว่า การถ่ายแบบ Long Take ไม่ใช่งานง่าย ๆ แต่ก็มักจะได้ผลลัพธ์คุ้มค่าสมราคาความพยายาม งานหลายชิ้นอาจจะใช้เทคนิคนี้เพื่อเล่นกับความหมายของ Long Take ได้น่าสนใจ และสอดคล้องกับหลักการผลิตภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ โดย พรสิทธิ์ พัฒนานุรักษ์ (2544 : 32) ได้กล่าวว่า การผลิตภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์เพื่อใช้เป็นสื่ออย่างหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ ซึ่งถ้าหากภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นด้วยความเข้าใจในศิลปะการนำเสนอที่มีคุณภาพดี โดยอาศัยคุณสมบัติเด่นของภาพยนตร์ ย่อมเชื่อมั่นได้ว่า ภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์นั้นถือเป็นสิ่งที่ทรงพลานุภาพสื่อหนึ่งในการทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพราะเป็นสื่อที่สามารถสร้างความประทับใจให้อยู่ความรู้สึกของผู้ดูได้ยืนนาน

แต่ในด้านเสียงประกอบและจังหวะการตัดต่อยังไม่ค่อยตรงกันเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะว่า ผู้ศึกษาไม่สามารถถ่ายทอดเสียงประกอบนั้นออกมาตามอารมณ์ของแต่ละสาขาได้ ทำให้อรรถรสในการชมภาพยนตร์ลดลง ดังที่ประวิทย์ แต่งอักษร (2556 : 266-273) ได้กล่าวเรื่องเทคนิคการใช้เสียงดนตรีประกอบในภาพยนตร์ว่า ผู้สร้างหนังไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านดนตรี แต่พวกเขาจะต้องรู้ดีว่า ตัวเองต้องการถ่ายทอดอารมณ์ดนตรีให้ออกมาลักษณะไหน หน้าที่พื้นฐาน ของดนตรีประกอบหนัง ก็คือการกระตุ้นและตอบสนองด้านอารมณ์ของผู้ชม และสนับสนุนความหมายทางด้านภาพ รวมทั้งบุคลิกของตัวละคร เพื่อให้เห็นลักษณะเปรียบเทียบที่แตกต่างจากตัวละครอื่น

ส่วนในด้านเนื้อหาของภาพยนตร์ ก็อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี อาจเป็นเพราะว่า ภาพยนตร์มีการบอกข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนได้ดี จึงทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจและอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ โดย พรสิทธิ์ พัฒนานุรักษ์ (2544 : 32) ได้กล่าวว่า การผลิตภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ ผลิตขึ้นเพื่อเป็นสื่อที่ใช้ในการแจ้งข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความเข้าใจ และความศรัทธาให้เกิดขึ้นในประชาชน กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นคุณประโยชน์ทางความรู้ ทัศนคติและทักษะแก่ประชาชน โดยหวังผลในความร่วมมือหรือสนับสนุนที่จะเกิดในโอกาสต่อไป

ข้อเสนอแนะ

ในการผลิตภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ครั้งต่อไป ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้

  1. เพิ่มเสียงบรรยายและคำอธิบายให้กับภาพยนตร์ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลมากยิ่งขึ้น
  2. เรื่องการแต่งกายของนักแสดง ให้อยู่ในกฎระเบียบความเหมาะสม
  3. ลำดับขั้นตอนในการทำงานควรมีการวางแผนขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
  4. ควรมีเทคนิคพิเศษเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพยนตร