The Making of Sound Effects (Foley) For Realistically In Horror Film

โดย ณัฐวุฒิ มั่นระวัง, จักรกฤษณ์ รักเสรี และวศิน คะระวานิช

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเสียงประกอบประเภทโฟเลย์ในภาพยนตร์สยองขวัญเพื่อให้เกิดความสมจริง ศึกษาโดยการผลิตเสียงประกอบประเภทโฟเลย์ ขึ้นมา 3 ชนิด ได้แก่ เสียงมีดแทง เสียงตกจากที่สูง และเสียงรถชน จากนั้นทำสำเนาลงบนแผ่นดีวีดีแล้วทำการประเมินผล โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเสียงในภาพยนตร์จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินผลทางด้านคุณภาพเสียงและความสมจริง

สรุปผลการศึกษาในการปฏิบัติการผลิตเสียงประกอบภาพยนตร์มีปัญหาเล็กน้อย แต่โดยรวมถือว่า ผลงานที่ออกมานั้นดี เสียงประกอบที่ผลิตได้นั้นสามารถนำไปใช้ตัดต่อเพื่อเพิ่มหรือลดรายละเอียดต่าง ๆ และนำไปใช้ประกอบภาพยนตร์ได้จริง


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

เพื่อศึกษาการผลิตเสียงประกอบประเภทโฟเลย์ในภาพยนตร์แนวสยองขวัญเพื่อให้เกิดความสมจริง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถผลิตเสียงประกอบประเภทโฟเลย์ในภาพยนตร์แนวสยองขวัญเพื่อให้เกิดความสมจริง

ขอบเขตของการศึกษา

ศึกษาโดยทำการผลิตภาพยนตร์แนวสยองขวัญ ถ่ายทำด้วยกล้อง Canon รุ่น 60D บันทึกเสียงโดยไมโครโฟนชนิดรับเสียงมุมแคบแบบช๊อตกันไมโครโฟน จากนั้นนำภาพและเสียงมาตัดต่อให้เข้ากัน ด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro โดยเสียงประกอบที่นำมาใช้นั้นจะทำการอัดเสียงแยกหลังการถ่ายทำ โดยการนำภาพที่จะใส่เสียงประกอบมาดูประกอบกับการทำเสียงประกอบขึ้นมาใหม่ เช่น เสียงรถชน, เสียงมีดแทง, เสียงตกจากที่สูง เป็นต้น จากนั้นนำมาทำสำเนาลงในระบบ ดีวีดี และฉายให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงและภาพยนตร์เพื่อจัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสยองขวัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ จำนวน 3 คน แล้วสรุปความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ


สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาปริญญานิพนธ์ เรื่อง การผลิตเสียงประกอบประเภทโฟเลย์ ในภาพยนตร์สยองขวัญเพื่อให้เกิดความสมจริง ผู้ศึกษาพบว่า การผลิตเสียงประกอบ (โฟเลย์) มีความเหมาะสมเป็นธรรมชาติ สามารถนำไปใช้ในการตัดต่อภาพยนตร์ได้จริง ถือว่าผลงานที่ปฏิบัติมาตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ส่วนในเรื่องของคุณภาพเสียงที่ได้ถือเป็นที่น่าพอใจ ผู้ที่ต้องการนำเสียงประกอบไปใช้จะสามารถนำไปพัฒนาต่อได้ไม่มากก็น้อย

โดยนำเสนอภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ตาย ตาม ตาย” จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบันทึกเสียงภาพยนตร์ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตัดต่อเสียงประกอบในภาพยนตร์ จำนวน 3 คน โดยมีรายชื่อ
ดังต่อไปนี้

  1. คุณกรกช ไกรสมุทร ตำแหน่ง : Sound man บริษัท Red Snapper
  2. คุณณัฐสุพงศ์ ธามกุลการ ตำแหน่ง : Sound man บริษัท Red Snapper
  3. คุณกิตติพงษ์ ประสมสุข ตำแหน่ง : Sound Engineer บริษัท 101 Creation House Co.,Ltd.

 

ปัญหาในการศึกษา

  1. การถ่ายทำไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทำให้เกิดความล่าช้าให้การถ่ายทำ
  2. สถานที่ถ่ายทำมีแมลงเยอะ ทำให้ยากต่อการเก็บเสียงพูด
  3. อุปกรณ์ชำรุดระหว่างการถ่ายทำ ทำให้อุปกรณ์ไม่เพียงพอและถ่ายทำล่าช้า

 

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรเพิ่มรายละเอียดในเสียง Foley ให้มากขึ้น
  2. ควรอัดเสียง Ambiance แยกมา เพื่อให้ง่ายต่อการวางเสียง และทำให้สมดุลมากขึ้น
  3. Sound Design ภาพยนตร์สยองขวัญไม่ควรใส่ดนตรีประกอบมากไป ควรให้เข้าถึงอารมณ์ของนักแสดงโดยตรง
  4. ควรปรับในส่วนของ Sound Design บางช่วงให้ตามจังหวะภาพ

รับชมผลงาน