Productivity Apps Function on Mobile Phones to Provide Navigation for the Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT INFORMATION)

จัดทำโดย เพ็ญณภา จงสมจิตต์, เบญจพร ชมโพธิ์, มณีวรรณ หงษ์ทอง และ กนกวรรณ ทองมาก

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีต่อการผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทาง 2) เพื่อที่ผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 3) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีต่อการผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางเป็นการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลอาคาร สถานที่ จอดบริการรถรับ – ส่ง และข้อมูลเกี่ยวกับ 10 คณะ 1 วิทยาลัย ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดําเนินการสร้างแอพพลิเคชั่นและใช้รูปแบบโมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) ในการสร้างคู่มือการใช้งานแอพพลิเคชั่นเพื่อให้แอพพลิเคชั่นมีความน่าสนใจมากขึ้น

กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล ด้านการติดตั้ง และการใช้งานแอพพลิเคชั่น และด้านการออกแบบของแอพพลิเคชั่น 2) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จํานวน 60 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า การผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางสําหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT INFORMATION) มีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านข้อมูลอยู่ในระดับดีมาก คะแนนค่าเฉลี่ย ([arithmetic mean] = 4.55) ด้านการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่นอยู่ในระดับดีมาก คะแนนค่าเฉลี่ย ([arithmetic mean] = 4.60) และด้านการออกแบบของแอพพลิเคชั่นอยู่ในระดับดี คะแนนค่าเฉลี่ย ([arithmetic mean] = 4.49) สรุปผลการประเมินจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญคิดแล้วเป็น คะแนนเฉลี่ยรวม (?= 4.55) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.23) ซึ่งคิดเป็นเกณฑ์การประเมินได้อยู่ในเกณฑ์การประเมินได้อยู่ในเกณฑ์มีความพึงพอใจดีมาก

ผลการประเมินจากกลุ่มตัวอย่างด้านกระบวนการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่นอยู่ในระดับดีมาก คะแนนค่าเฉลี่ย ([arithmetic mean] = 4.58) ด้านภาพรวมของแอพพลิเคชั่นอยู่ในระดับดีมาก คะแนนค่าเฉลี่ย ([arithmetic mean] = 4.63) และด้านการออกแบบกราฟิก อยู่ในระดับดีมาก คะแนนค่าเฉลี่ย ([arithmetic mean] = 4.67) สรุปผลการประเมินจากกลุ่มตัวอย่างคิดแล้วเป็น คะแนนเฉลี่ยรวม ([arithmetic mean] = 4.56) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.57) ซึ่งคิดเป็นเกณฑ์การประเมินได้อยู่ในเกณฑ์มีความพึงพอใจดีมาก และจากการประเมินผลสามารถระบุได้ว่า การผลิตแอพพลิเคชั่นสามารถนําไปใช้งาน และเป็นประโยชน์ได้จริง

คําสําคัญ: แอพพลิเคชั่น, โทรศัพท์มือถือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาความต้องการของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีต่อการผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทาง
  2. เพื่อผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทาง บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
  3. เพื่อสอบถามความคิดเห็นของ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีต่อการผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทาง

ขอบเขตการวิจัย

ขอบเขตด้านเนื้อหา

การผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางสําหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT INFORMATION) นั้น ด้านเนื้อหาจะเจาะจงไปในเรื่องของการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาคารและหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รวมทั้งจุดบริการรถโดยสารของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมีความสามารถในการนําทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และการผลิตแอพพลิเคชั่นสามารถรองรับโทรศัพท์มือถือบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ด้วยขนาดหน้าจอ 1280 x 720 พิกเซล

ขอบเขตด้านประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร

นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558

กลุ่มตัวอย่าง

นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 มีทั้งหมด 10 คณะ และ 1 วิทยาลัย รวมทั้งหมด 60 คน (การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญโดยนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  1. แบบสอบถามความต้องการของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีต่อการสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ข้อมูลการนําทาง
  2. การผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางสําหรับมหาวิทยาลัย
    เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT INFORMATION) บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
  3. แบบประเมินคุณภาพการผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางสําหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT INFORMATION)
  4. แบบประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางสําหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT INFORMATION)

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. แอพพลิเคชั่น หมายถึง ซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งสําหรับใช้งานเฉพาะทาง ซึ่งแตกต่างกับซอฟต์แวร์ประเภทอื่น ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
  2. แอนดรอยด์ หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ถูกออกแบบมาสําหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่น สมาร์ตโฟน และแท็บเล็ต เป็นต้น
  3. ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) หมายถึง เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสําหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่น สมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด
  4. โทรศัพท์มือถือ หมายถึง อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ ในการสื่อสารสองทางผ่านโทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐานโดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่นโทรศัพท์มือถือ
  5. Blue Stacks หมายถึง โปรแกรมที่จําลองระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์มาอยู่บนคอมพิวเตอร์ ให้สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาทดลองใช้งานบนโปรแกรม Blue Stacks

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ข้อมูลความต้องการของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
  2. ได้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางตรงตามความคิดเห็นของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  3. แอพพลิเคชั่นสามารถสร้างความสะดวกสบายและประหยัดเวลาในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

สรุปผลการศึกษา

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางสําหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT INFORMATION) โดยแบ่งการประเมินผลออกเป็น 2 ส่วน คือ ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน แบ่งเป็นด้านข้อมูล จํานวน 1 คน ด้านการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่น จํานวน 2 คน และด้านการออกแบบของแอพพลิเคชั่น จํานวน 2 คน การประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มตัวอย่างจํานวน 60 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญโดยนักศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 ประเมินผลโดยการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ คณะผู้วิจัยได้ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคิดคํานวณหาค่าเฉลี่ย (?) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางสําหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT INFORMATION) ซึ่งมีผลการศึกษา ดังนี้

ผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางสําหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT INFORMATION) มีผลจากการสรุปเป็นเกณฑ์การประเมินคุณภาพได้อยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย (?) = 4.55 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.23 ซึ่งด้านข้อมูลมีความเข้าใจง่าย , กระบวนการในการติดตั้งแอพพลิเคชั่น ง่ายและสะดวกรวดเร็วมีความเหมาะสม, แอพพลิเคชั่นใช้งานง่าย, แอพพลิเคชั่นสามารถอํานวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน, แอพพลิเคชั่นสามารถบอกตําแหน่งและข้อมูลได้ถูกต้อง, แอพพลิเคชั่นมีความรวดเร็วในการตอบสนองการทํางาน, การลําดับภาพที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา, ภาพกราฟิกที่ใช้มีการออกแบบอย่างสวยงาม คุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก

ผลการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลการนําทางสําหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT INFORMATION) จํานวน 60 คน พบว่าค่าเฉลี่ยของปริญญานิพนธ์อยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย (?) = 4.56 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.57 จากผลการประเมินความพึงพอใจในหัวข้อกระบวนการในการติดตั้งแอพพลิเคชั่น ง่าย และสะดวกรวดเร็วมีความเหมาะสม, แอพพลิเคชั่นสามารถใช้งานและเข้าใจได้ง่ายและสีที่ใช้มีความเหมาะสม ในภาพรวมของสื่ออยู่ในระดับ ดีมาก

อภิปรายผล

  1. จากการประเมินคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญสามารถอภิปรายได้ ดังนี้
    1. ด้านข้อมูล มีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีข้อมูลมีความเข้าใจง่าย
    2. ด้านการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่น มีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมาก กระบวนการในการติดตั้งแอพพลิเคชั่น ง่ายและสะดวกรวดเร็ว, แอพพลิเคชั่นสามารถอํานวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน และความรวดเร็วในการตอบสนองการใช้งานแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ
    3. การออกแบบของแอพพลิเคชั่น มีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีภาพกราฟิกที่ใช้มีการออกแบบอย่างสวยงาม
  2. จากการประเมินผลความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างสามารถอภิปรายได้ ดังนี้
    1. ด้านกระบวนการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่น มีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีกระบวนการในการติดตั้งแอพพลิเคชั่น ง่าย และสะดวกรวดเร็ว
    2. ด้านภาพรวมของแอพพลิเคชั่น มีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีแอพพลิเคชั่นสามารถใช้งานและเข้าใจได้
    3. ด้านการออกแบบกราฟิก ผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีสีที่ใช้บนแอพพลิเคชั่นมีความเหมาะสม

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ
    1. ด้านข้อมูล
      1. ภาพกราฟิกที่ใช้บนแอพพลิเคชั่น ควรเลือกใช้สีที่มีความเข้มและความเด่นชัดของวัตถุเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งาน
      2. ภาพกราฟิกที่แทนแผนที่จริง ควรที่จะใช้ฟังก์ชันการย่อขนาดและเพิ่ม
        ขนาดของแอพพลิเคชั่นให้เห็นเส้นทางอย่างละเอียดชัดเจนมากขึ้น
    2. ด้านการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่น
      1. เพิ่มตารางเวลารถรับ – ส่ง เพื่ออํานวยความสะดวก
      2. ควรเพิ่มเนื้อหาในส่วน วัน – เวลาในการให้บริการของรถบริการ
      3. ควรปรับให้ไอคอนมีความเด่นชัด น่าสนใจ
    3. ด้านการออกแบบของแอพพลิเคชั่น
      1. ตรวจสอบและเช็คข้อมูลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีให้เรียบร้อย
      2. ตรวจสอบตัวอักษร, ปรับขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้น
      3. ควรเพิ่มภาพกราฟิกให้มีลักษณะหลายมุมมองเพื่อเพิ่มความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น
      4. เพิ่มลิงค์ไปยังเว็บไซต์ของแต่ละที่ เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
      5. ควรเพิ่มเสียงดนตรี คําบรรยาย และลูกเล่นต่าง ๆ
      6. ควรนําข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้มารวมเป็นหน้าเดียวกันเพื่อความสะดวกมากขึ้น
      7. ปรับอักษรตัวอ่านให้เป็นแบบมีหัว เพื่อง่ายต่อการอ่าน
      8. ปรับไอคอนให้ดูเข้าใจง่าย
      9. ควรสร้างแอพพลิเคชั่นที่สามารถใช้งานกับ IOS ได้
  2. ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง
    1. ควรมีจุดบอกตําแหน่งว่าอยู่ตรงไหน
    2. ความสะดวกสบายในการค้นหาเส้นทางได้มากขึ้น
    3. ควรเพิ่มลูกเล่นในแอพพลิเคชั่นให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
    4. แอพพลิเคชั่นสามารถนําไปพัฒนาต่อยอดได้ เพื่อให้สะดวกในการเดินทาง