ACTION FILM PRODUCTION EQUIPMENT DJI RONIN M FOR THE PURPOSE OF FILMING TRAVELLING SHOT

โดย ศุภณัฐ แก้วทะเล, นนทวัฒน์ ตะสันเทียะ และภาณุวัฒน์ ภิรมย์ทอง

ปี 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเรื่องการใช้มุมภาพผ่านอุปกรณ์ DJI Ronin M โดยให้เห็นถึง ความนุ่มนวล มั่นคง ราบรื่น ลดการสั่นสะเทือนน้อยที่สุดหรืออาจไม่มีเลยของภาพในฉาก Travelling shot

การศึกษาครั้งนี้เป็นการผลิตภาพยนตร์สั้นประเภท ACTION ด้วยอุปกรณ์DJI RONIN M เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมั่นคง นุ่มนวล รวดเร็ว ราบรื่น ใน TRAVELLING SHOT เรื่อง “SWOLLEN” ความยาว 5 นาที โดยใช้กล้อง Sony A7s และมาตัดต่อในคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม Adobe Premier CS6 แล้วถ่ายโอนข้อมูลเป็นระบบสัญญาณภาพและเสียงในระบบ DVD โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์จำนวน 2 ท่านรับชมภาพยนตร์ พร้อมทั้งสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “SWOLLEN” แล้วสรุปความคิดเห็น


วัตถุประสงค์การศึกษา

เพื่อต้องการศึกษาอุปกรณ์ DJI Ronin M โดยการใช้เทคนิค Travelling shot กับอุปกรณ์รองรับกล้อง DJI Ronin M

ประโยชน์ที่คาดหวังจะได้รับ

สามารถผลิตภาพยนตร์สั้นที่มีประสิทธิภาพการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์รองรับกล้อง DJI Ronin M

ขอบเขตการศึกษา

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการผลิตภาพยนตร์สั้นประเภท Action ด้วยอุปกรณ์ DJI Ronin M เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมั่นคง นุ่มนวล รวดเร็ว ราบรื่น ใน Travelling shot เรื่อง “SWOLLEN” ความยาว 5 นาที โดยใช้กล้อง Sony A7s และนำมาตัดต่อในคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม Adobe Premier CS6.0 แล้วถ่ายโอนข้อมูลเป็นระบบสัญญาณภาพและเสียงในระบบ DVD โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์จำนวน 2 ท่าน รับชมภาพยนตร์ พร้อมทั้งสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “SWOLLEN” แล้วสรุปความคิดเห็น


สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาในการจัดทำปริญญานิพนธ์เรื่องการถ่ายทำภาพยนตร์โดยใช้อุปกรณ์รองรับกล้อง DJI Ronin M ในฉาก Travelling shot เพื่อสร้างความนุ่มนวลของภาพ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้เป็นการผลิตภาพยนตร์สั้นเรื่อง SWOLLEN มีความยาว 8 นาที ซึ่งสามารถทำให้ภาพยนตร์ประเภทแนว Action เป็นภาพยนตร์ที่มีความนุ่มนวลยาวต่อเนื่อง โดยส่วนมากแล้วการใช้อุปกรณ์ DJI Ronin M สร้างความ Smoot ให้กับภาพยนตร์อยู่แล้ว ทำให้ผู้ชมภาพยนตร์เกิดความรู้สึกสนุกเหมือนได้เดินตามตัวละครอยู่ตลอดเวลา

การสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีผลต่องานภาพยนตร์สั้นเรื่อง SWOLLEN จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์ คุณอุดม วรประคุณ สรุปได้ว่า ภาพยนตร์ประเภท Action มักนิยมใช้ใช้ อุปกรณ์ช่วยเสริม อาทิเช่น Ronin handheld sterdicam ในการติดตามตัวละครอยู่แล้วซึ่งจะทำให้ผู้ชมได้เกิดความรู้สึกตื่นเต้นตลอดเร้าใจ เหมือนว่าได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นมุมที่ผู้ร้ายกำลังจะต่อสู้กับพระเอก ยิ่งสร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้กับผู้ชมมากขึ้น ซึ่งความจำเป็นนั้นขึ้นอยู่กับไลน์กล้องนั้นๆ ว่าจะถ่ายในมุมไหนให้ดูตื่นเต้น เร้าใจมากที่สุด

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการแก้ไขปัญหา

  1. ขั้นตอน Pre-Production
    1. ควรวางแผนเรื่องสภาพภูมิอากาศให้อยู่ลำดับสำคัญก่อนวันถ่ายทำภาพยนตร์
    2. ควรกำหนดระยะเวลาการถ่ายทำ
  2. ขั้นตอน Production
    1. ควรทำความเข้าใจและซักซ้อมอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้
    2. ควรวางแผนการถ่ายทำให้ดีกับการเลือกใช้อุปกรณ์และโลเคชั่น
  3. ขั้นตอน Post-Production
    1. ควรระมัดระวังในการนำไฟล์ที่ถ่ายเสร็จแล้วลงในคอมพิวเตอร์เพราะจะทำให้ไฟล์ งานอาจมีปัญหาได้
    2. ควรตรวจดูความละเอียดในการตัดต่อภาพให้ดีที่สุด เพราะอาจจะทำให้ขาดตก บกพร่องได้