The study of lighting technique in underwater fashion photography
จัดทำโดย ณัฐพล ชีพชล
สาขา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาเทคนิคการจัดแสงในการผลิตภาพถ่ายแฟชั่นใต้น้ำ โดยใช้ไฟต่อเนื่อง Fresnal 2500 w ถ่ายทําโดยใช้กล้อง Canon 5D mark II และเลนส์ Canon 16-35 mm ถ่ายทําที่สระว่ายน้ำซึ่งเป็นสระน้ำเกลือ มีคุณสมบัติไม่ระคายเคืองตา ทําให้แบบสามารถลืมตาใต้น้ำได้ เพื่อให้ภาพที่ได้มีการจัดแสงที่ดี ส่งเสริมให้แบบและเครื่องแต่งกายของแบบดูโดดเด่น มีความสวยงาม โดยทําการผลิตภาพถ่ายจํานวน 3 ภาพ และประเมินคุณภาพของภาพถ่ายโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถ่ายภาพจํานวน 3 ท่าน และหาค่าเฉลี่ยจากผลการประเมิน
ผลจากการศึกษาเทคนิคการจัดแสงในการผลิตภาพถ่ายแฟชั่นใต้น้ำพบว่า ภาพที่ได้มีการจัดแสงที่ดี ส่งเสริมให้แบบและเครื่องแต่งกายดูโดดเด่น และสีสันของภาพถ่ายมีความเหมาะสมซึ่งเป็นสิ่งสําคัญในการผลิตภาพถ่ายแฟชั่นใต้น้ำทั้งสิ้น ทําให้เกิดภาพถ่ายแฟชั่นใต้น้ำที่มีความน่าสนใจ โดยผลของการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ภาพถ่ายที่ได้อยู่ในระดับที่ดี
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาเทคนิคการจัดแสงในการผลิตภาพถ่ายแฟชั่นใต้น้ำ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถผลิตภาพถ่ายแฟชั่นใต้น้ำโดยมีการจัดแสงที่มีประสิทธิภาพได้
ขอบเขตการศึกษา
ทําการศึกษาเทคนิคการจัดแสงในการผลิตภาพถ่ายแฟชั่นใต้น้ำด้วยกล้องCanon 5D mark II เลนส์ Canon 16-35 F2.8 L ใส่อุปกรณ์กันน้ำและใช้ Fresnal 2500 w ในการจัดแสง โดยทําการถ่ายภาพทั้งหมด 3 ภาพ จากนั้นนําภาพที่ได้มาผ่านกระบวนการแต่งภาพด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop และ Adobe Lightroom เพื่อนําภาพที่ได้มาอัดขยาย ทําการประเมินคุณภาพของภาพถ่ายโดยช่างภาพมืออาชีพจํานวน 3 คน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพของภาพถ่าย
สรุปผลการศึกษา/อภิปรายผล/ข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษา สรุปได้ว่าการศึกษาเทคนิคการจัดแสงในการผลิตภาพถ่ายแฟชั่นใต้น้ำนั้นมีกระบวนการผลิตแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่
- กระบวนการเตรียมการผลิต (Pre-Production) ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายภาพแฟชั?น เทคนิคการจัดแสง และการถ่ายภาพแฟชั่นใต้น้ำ โดยค้นคว้าข้อมูลจากเว็บไซต์ และหนังสือการถ่ายภาพต่าง ๆ หาแนวคิด (Concept) ของภาพถ่าย หานางแบบ เครื่องแต่งกาย และการแต่งหน้าให้ตรงกับแนวคิด วิเคราะห์ศึกษาและออกแบบผังไฟให้ตรงกับแนวคิดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดแสงจริง ติดต่อขอเช่าสถานที่ถ่ายทํา อุปกรณ์การถ่ายทํา
- กระบวนการผลิต (Production) ประกอบด้วยการประกอบกล้อง Canon 5D mark II และเลนส์ Canon 16-35 mm. เข้ากับอุปกรณ์กันน้ำ (Housing) แล้วทําการเช็คความพร้อมของกล้องให้เรียบร้อย ทําการจัดวางไฟตามตําแหน่งผังไฟที่ได้วางไว้ และนําผ้าดํามาขึงปิดรอบ ๆ สระเพื่อลดแสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้การจัดแสงตามผังไฟที่คิดมานั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ช่างแต่งหน้าแต่งหน้านางแบบและให้นางแบบเปลี่ยนชุดตามที่ได้จัดหาไว้ เตรียมอุปกรณ์การดําน้ำ และตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ดําน้ำทําการถ่ายภาพทดสอบเพื่อตรวจสอบว่าภาพที่ได้มา ตรงตามที่วางไว้หรือไม่ ต้องแก้ไขส่วนไหนอย่างไรบ้าง ทําการถ่ายภาพจริง และนําภาพมาตรวจสอบในคอมพิวเตอร์ว่า ต้องแก้ไขส่วนไหนหรือไม่ ทําการถ่ายแก้ไขบางส่วน ถ่ายโอนภาพที่ได้จากการ์ดความจําลงไปยังคอมพิวเตอร์และฮาร์ดดิสก์
- กระบวนการหลังการผลิต (Post-Production) ประกอบไปด้วยการเลือกภาพที่ดีที่สุดจํานวน 3 ภาพ ทําการปรับตกแต่งและลบรอยของพื้นขอบสระและรอยต่าง ๆ ในโปรแกรม Adobe Photoshop ทําการปรับสี ความเปรียบต่าง ความคมชัด เพื่อให้ตัวแบบดูเด่นและเห็นรายละเอียดที่ชัดเจนของภาพ และทําการอัดขยายภาพ นําภาพที่ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน และ
จากการประเมินมีผลสรุปว่า ภาพที่ 1 และภาพที่ 3 มีผลการประเมินอยู่ในระดับที่ดี โดยได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.42 และ 3.61 ตามลําดับ และภาพที่ 2 มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก โดยได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33
อภิปรายผลการศึกษา
จากการศึกษาเทคนิคการจัดแสงในการผลิตภาพถ่ายแฟชั่นใต้น้ำ ผู้ศึกษาได้พบว่า น้ำมีคุณสมบัติการหักเหแสง การกระจายแสง การสะท้อนแสง และการดูดกลืนแสง ดังที่ John Turner (1982 : 89) กล่าวไว้ว่า แสงที่ส่องผ่านน้ำไปยังอากาศที่มีความทึบน้อยกว่าจะเป็นการหักเหจากปกติ ได้ขยายจากภาพในอัตรา 4:3 นั่นคืออัตราส่วนของดัชนีความหักเหของแสงจากนํ้ำไปสู่อากาศซึ่งวัตถุที่อยู่ห่างออกไป 4 เมตรกลับมองเห็นในระยะ 3 เมตรเนื่องจากเลนส์ทั่วไปนั้นได้คํานวณบนสมมุติฐานของการใช้ผ่านตัวกลาง อากาศ – กระจก เท่านั้น ส่วนการใช้เลนส์ในน้ำจะเป็นการมองผ่านน้ำ – กระจก – อากาศ จะทําให้เกิดความคลาดเคลื่อน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของภาพอีกด้วย
การจัดแสงจากบนบกส่องลงไปใต้น้ำนั้น จําเป็นต้องใช้ไฟที่มีกําลังวัตต์ที่แรงพอ จากการศึกษานั้น ผู้ศึกษาได้ใช้ไฟต่อเนื่องกําลังไฟ 2500 w ในการถ่ายทําพบว่า ในระดับความลึกตั้งแต่ 3 เมตร ลงไป ไฟกําลัง 2500 w เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถส่องสว่างทําให้ใบหน้าของนางแบบดูเด่นและทําให้สีของชุดดูสดได้เพราะสีต่างๆ จะค่อยหายไปในน้ำ ดังที่ บุญถึง แน่นหนา (2544 : 82) ได้กล่าวไว้ว่า สีจะถูกน้ำดูดกลืนหายไปตามระดับความลึกของน้ำโดยเรียงตามลําดับสเปกตรัมของแสง ซึ่งเริ่มจากสีแดง คือ สีแดงจะหายไปในช่วงความลึกเพียง 15 – 20 ฟุต ตามมาด้วยสีส้ม ที่ระดับความลึก 25 – 30 ฟุต สีเขียวและสีเหลืองจะหายไปตั้งแต่ความลึกระดับ 100 ฟุตขึ้นไป จะเหลือแต่เพียงสีฟ้าเท่านั้น และเนื่องจากพื้นที่ที่จํากัด ผู้ศึกษาจึงไม่สามารถกําหนดทิศทางแสงที่ต้องการได้ในระดับน้ำลึก จึงจําเป็นต้องทําการถ่ายทําในระดับน้ำ 1-1.50 เมตรแทนจึงทําให้ไฟที่ใช้นั้นมีความเพียงพอต่อระดับน้ำที่ลึกเพียงเท่านี้ ทําให้ภาพถ่ายที่ได้มานั้นนางแบบมีความโดดเด่นและชุดที่ใส่มีสีสันที่สด และดูสวยงาม
ข้อเสนอแนะ
- ควรศึกษาเกี่ยวกับทิศทางของแสงในการถ่ายภาพแฟชั่นใต้น้ำให้มากขึ้น
- ระวังระดับน้ำที่ลึกกว่านี้ ควรจะมีการใช้ไฟที่มีกําลังไฟตั้งแต่ 8000 วัตต์ขึ้นไป
- ถ้าต้องการได้ภาพที่มีฉากหลังเป็นสีดําสนิท ควรถ่ายในสตูดิโอใต้น้ำที่มีฉากหลังสีดําโดยเฉพาะ หรือใช้ผ้าดําขึงเป็นฉากหลังแทน