The production of 2D traditional animation “Blue”
จัดทำโดย นลิน เอกมณีสุนทร
สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ (Abstract)
ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue เบื้องต้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างหลังรับชมสื่อ
วิธีการศึกษาทำโดยศึกษาข้อมูลการทำสื่อ โดยศึกษาจากหนังสืออ้างอิง เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปเนื้อหากับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา แล้วนำมาเขียนบทภาพ ทำการพากย์เสียงบรรยาย สร้างสตอรี่บอร์ด สร้างภาพเคลื่อนไหว จากนั้นทำการใส่เสียงบรรยาย และบันทึกในรูปแบบวิดีโอ แล้วนำไปทดสอบเพื่อประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยด้านเทคนิคการผลิตสื่อ จำนวน 5 ท่าน และทดสอบความคิดเห็นกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 ที่สนใจในสื่อแอนิเมชั่นสองมิติ จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
ผลการศึกษาสรุปว่า โดยภาพรวมแล้ว ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการประเมินในด้านเทคนิคอยู่ในระดับดี ([arithmetic mean] = 3.78) และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี ([arithmetic mean] = 4.15) หลังรับชมสื่อแล้วกลุ่มตัวอย่างสามารถทราบถึงแนวคิดถึงมุมมองและพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียได้เป็นอย่างดี สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า การผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue นั้นมีความเหมาะสมในการเป็นสื่อที่ให้ความรู้ได้เป็นอย่างดีและทำให้กลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าใจถึงผู้ที่มีอาการซึมเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อผลิตสื่อภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue
- เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อเทคโนโลยีแอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue โดยกลุ่มตัวอย่าง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้ผลิตสื่อภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue
- ได้รับทราบความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อสื่อเทคโนโลยีแอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue จากกลุ่มตัวอย่าง
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
- แอนิเมชั่น หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพต่อเนื่องกัน ภาพนิ่งที่มองเห็นทั้งความยาวและความกว้าง โดยแต่ละภาพจะมีความแตกต่างจากภาพก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย โดยใช้เวลาควบคุมทำให้ภาพดูเหมือนเคลื่อนไหวได้ โดยนำภาพนั้นขึ้นมาแสดงบนจอทีละภาพและใช้ความเร็วสูงในการฉายภาพแต่ละภาพต่อเนื่องกันให้ดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว ซึ่งผู้สร้างจะเป็นผู้กำหนดเองว่าจะใช้กี่ภาพต่อวินาทีเพราะมาตรฐานของแอนิเมชั่นฝั่งตะวันตกและตะวันออกนั้นต่างกัน
- ภาพยนตร์ คือ ภาพนิ่ง หลาย ๆ ภาพเรียงติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทาการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทาหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฏในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นธรรมชาติ ความเร็วที่ใช้ในการถ่ายทำโดยทั่วไป คือ 24 เฟรม ต่อ 1 วินาที
- ความเศร้า เป็นอารมณ์ด้านลบซึ่งทางจิตวิทยาถือว่า เป็นสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวกับบุคคลทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย เมื่อเผชิญกับการสูญเสีย การพลาดในสิ่งที่หวัง การถูกปฏิเสธ และมักเกิดขึ้นร่วมกับความรู้สึกสูญเสีย ผิดหวัง หรือความรู้สึกอึดอัดทรมาน
- ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการสูญเสีย โดยเฉพาะการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นปฏิกิริยาทางจิตใจที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ จะมีอาการหลักคล้ายอาการของโรคซึมเศร้า คือ มีอารมณ์เศร้า หงุดหงิด เบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าสังคม นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร นอกจากนี้อาจมีความรู้สึกผิด รู้สึกโกรธ ยอมรับความเป็นจริงของการสูญเสียไม่ได้
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
- ขอบเขตด้านเนื้อหา
การผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue เป็นการถ่ายทอดมุมมอง และพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการนี้ สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ ผ่านรูปแบบภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติ - ด้านเทคนิค
การผลิตสื่อภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue เป็นการนาเทคนิคเทคโนโลยีแอนิเมชั่นสองมิติ เพื่อให้เข้าถึงกับผู้คนได้มากขึ้น- โปรแกรมสาหรับออกแบบตัวละครและฉาก Clip Studio, Adobe Photoshop CC
- โปรแกรมสาหรับการทำแอนิเมชั่น CACANi
- โปรแกรมสาหรับตัดต่อ Adobe After Effect CC
- ประชากร
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2559 - กลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง - ผู้เชี่ยวชาญ
ในการประเมินผลงานผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติ โดยมีผู้เชี่ยวชาญหนึ่งกลุ่มคือผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติ จำนวน 5 คนโดยคัดเลือกจากผู้ที่ประกอบอาชีพในด้านการออกแบบสื่อแอนิเมชั่นสองมิติที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 1 ปี
สรุปผลการศึกษา
จากการประเมินกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสรุปได้ว่า การผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue อยู่ในระดับดี ซึ่งด้านเนื้อหานั้นทางผู้วิจัยได้มีการศึกษาและค้นคว้าจากบทความทางการแพทย์และวารสารทางการแพทย์เป็นอย่างดีจึงทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและเป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นสื่อที่ให้ความรู้เรื่องใกล้ตัวเป็นประโยชน์ต่อผู้ชมสื่อ โดยสื่อสามารถทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้มุมมองและพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการนี้ สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ ผ่านรูปแบบภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue ด้านการแอนิเมชั่น สี การจัดวางฉาก การสื่อความหมายของเนื้อเรื่อง มีความเหมาะสม การใช้เพลง การพากย์เสียง มีความชัดเจนเหมาะสมกับรูปแบบของสื่อ ด้านฉากและการลำดับภาพ ช่วยให้สื่อมีความน่าสนใจได้ดี ตัวสื่อโดยรวมสามารถแสดงเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อความหมายได้ค่อนข้างชัดเจน
จากการวัดความพึงพอใจโดยการทาแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 ที่สนใจในสื่อแอนิเมชั่นสองมิติ จำนวน 30 คน สรุปได้ว่า สื่อทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ถึง แนวคิดถึงมุมมอง และพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการนี้ สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ในระดับ ดี ในรายข้อที่เราได้ทำแบบสอบถามความพึงพอใจไว้ ซึ่งเป็นที่น่าพอใจเพราะผู้ชมส่วนใหญ่ได้รับรู้ถึงแนวคิดถึงมุมมอง และพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการนี้สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้เป็นอย่างดี
อภิปรายผลการศึกษา
จากการศึกษางานวิจัยครั้งนี้พบว่า การผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue สื่อมีคุณภาพเหมาะสมในการนาไปเผยแพร่เพื่อให้ความรู้ ทั้งทางด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ โดยก่อนการผลิตสื่อ ได้มีการศึกษาและค้นคว้าจากบทความทางการแพทย์ และวารสารทางการแพทย์เป็นอย่างดี เพื่อความถูกต้องของข้อมูล แล้วจึงนำมาสู่กระบวนการผลิตสื่อ โดยในการผลิตสื่อนั้นมีการศึกษาทฤษฎีของการออกแบบแอนิเมชั่นสองมิติ ทฤษฎีของการออกแบบตัวละคร ทฤษฎีสี และการกำกับภาพ เพื่อให้สื่อมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดข้อมูลมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ รัชนู วรรณา (2557) ได้ศึกษาความชุกของการสูญเสียบุคคลสาคัญอันเป็นที่รัก อารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียของผู้ป่วยนอกจิตเวชโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษาพบภาวะซึมเศร้า เล็กน้อย ร้อยละ 11.8 ซึมเศรา้ปานกลาง ร้อยละ 15 และ ซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 9.8 ส่วนใหญ่(ร้อยละ 69.7) ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง จากผู้ป่วยนอกจิตเวช จานวน 843 คน
สำหรับการผลิตสื่อนี้ในการศึกษาขั้นตอนการผลิตเพื่อให้สื่อมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดข้อมูลในรูปแบบแอนิเมชั่นสองมิตินั้นมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์ (2553) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นชุดขนาดสั้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูล เรื่อง เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นผ่านอินเทอร์เน็ต วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและการรับรู้ของวัยรุ่นที่มีต่อสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นที่พัฒนาขึ้น เนื่องจากการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องเพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้สื่อที่มีคุณภาพและเข้าถึงความต้องการของวัยรุ่นได้ สื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นเป็นสื่อใหม่ชนิดหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับวัยรุ่นและได้รับความสนใจจากกลุ่มวัยรุ่นเป็นอย่างมาก และในผลงานวิจัยในการผลิตสื่อแอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue พบว่า ด้านการนำเสนอเนื้อหาของสื่อสามารถทำผู้ชมเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการจะนำเสนอได้ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.15 ด้านการดำเนินเนื้อเรื่องมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.11 ด้านความเหมาะสมของภาพมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 4.25 และผู้ชมสามารถรับรู้ถึง แนวคิด มุมมอง และพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการนี้สามารถยอมรับ และเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.13 และโดยรวมผู้ที่รับชมสื่อมีความพึงพอใจหลังรับชมสื่ออยู่ในระดับ ดี โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.08
ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
- การดำเนินเรื่องค่อนข้างเป็นเส้นตรงเกินไป
- การแอนิเมชั่นยังทำได้ไม่ดีพอ
- ปม หรือ ประเด็นในเรื่องยังดูไม่ชัดเจนพอ
- การใช้มุมกล้องยังมีความหลากหลายได้ไม่ดีพอ
- ฉากกับตัวละครยังไม่ค่อยเข้ากัน และไม่เข้าถึงอารมณ์ได้ดีพอ
- ข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง
- ความสัมพันธ์ของตัวละครค่อนข้างไม่ชัดเจน
- การลงสียังมีความไม่เข้ากันของฉากกับตัวละคร
- มีบางฉากที่ลำดับภาพไม่ชัดเจน
- ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย
- ควรมีการวางแผนด้านเนื้อเรื่อง สตอรี่บอร์ด และทิศทางของการออกแบบให้รัดกุมและชัดเจน เพื่อที่จะทำให้ผลงานมีความสมบูรณ์ที่สุด
- ควรมีการวางแผนกาหนดเวลา และจำนวนของงาน ในสัมพันธ์กับจานวนผู้วิจัย เพื่อที่จะทำให้ได้ตามกำหนดการ
- ควรมีการออกแบบด้านเสียงให้ดีกว่านี้เพื่อจะได้สื่ออารมณ์ของงานได้ชัดเจน