A study of the sound production of film by Foley sound:Karate

โดย ศุภวิชญ์ ค้ำคูณ และธนกฤต สูชัยยะ

ปี 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเสียงประกอบภาพยนตร์ประเภทเสียงโฟเลย์ :คาราเต้ และได้แบ่งเสียงออกเป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกแก่การใช้งาน เป็นเสียง 32 เสียง จากนั้นทำสำเนาลงบนแผ่น DVD ในรูปแบบของห้องสมุดเสียง แล้วทำการประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญจากด้านเสียงประกอบ จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินผลด้านคุณภาพเสียงและความสมจริง

สรุปผลการศึกษาในการปฏิบัติการผลิตเสียงประกอบภาพยนตร์ประเภท Foley: คาราเต้ เสียงประกอบที่ผลิตมาบางเสียงยังต้องมีการแก้ไขในส่วนของเทคนิคการอัดเสียง เพราะในขั้นตอนการอัดเสียงนั้นได้อัดเสียงมาได้ไม่หลากหลายมากพอ ส่งผลต่อความหลากหลายของเนื้อเสียงที่ได้ แต่ก็ยังมีวิธีแก้ไขให้เสียงนั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้น อีกปัจจัยหนึ่ง คือ เรื่องของวัสดุที่ใช้ในการอัดเสียง มีน้อยเกินไปทำให้เนื้อเสียงที่ได้ยังไม่มีความหลากหลายเท่าที่ควร แต่โดยรวมถือว่า ผลงานที่ผลิตออกมานั้นมีคุณภาพที่ถือว่า ใช้ได้ มีเสียงประกอบหลาย ๆ เสียงรวมกันเป็นเสียงเดียว ท้าให้สามารถเพิ่มหรือลดรายละเอียดของเสียงและน้าไปใช้ประกอบภาพยนตร์ได้


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

เพื่อการศึกษาการผลิตเสียงประกอบประเภทโฟเลย์ : คาราเต้ (KARATE)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษา

สามารถผลิตเสียงประกอบประเภทโฟเลย์เพื่อใช้กับภาพยนตร์แอ็คชั่น : คาราเต้ (KARATE)

ขอบเขตการศึกษา

ศึกษาโดยการผลิตเสียงประกอบประเภทโฟเลย์:คาราเต้ (KARATE) โดยใช้ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ จำนวน 2 ตัว, Tapco Link USB , iMac และโปรแกรม Pro Tools HD สำหรับบันทึกและปรับแต่งเสียง ทั้งนี้ ผู้จัดทำได้วางแผนการผลิตเสียงประกอบโดยแบ่งตามท่าการต่อสู้ต่าง ๆ ดังนี้

เสียงชก

  1. ชกหน้า
  2. ชกลำตัว
  3. ชกท้องน้อย
  4. ชกหมัดคู่
  5. ชก 2 หมัด
  6. ชก 3 หมัด
  7. ชกเสยคาง
  8. ชกหงายมือ
  9. ชกด้านข้าง

เสียงตี-ฟาด-ฟัน-แทง-กระแทก

  1. ตีด้วยหลังมือด้านหน้า
  2. ตีด้วยหลังมือด้านข้าง
  3. ตีด้วยหลังมือด้านหลัง
  4. ฟาดขมับด้วยหลังมือ
  5. ฟันหัวด้วยสันมือนอก
  6. ฟันไหล่ด้วยสันมือนอก
  7. แทงด้วยนิ้ว
  8. ศอกเสย

เสียงเตะ

  1. เตะตรงบน
  2. เตะตรงกลาง
  3. เตะตรงล่าง
  4. เตะเหวี่ยงบน
  5. เตะเหวี่ยงกลาง
  6. เตะเหวี่ยงล่าง
  7. เตะสันเท้าบน
  8. เตะสันเท้ากลาง
  9. เตะข้อต่อ
  10. เตะเหวี่ยงย้อนกลับ
  11. เตะกลับหลัง
  12. เตะเหวี่ยงกลับหลัง
  13. เตะด้วยหลังเท้า
  14. เตะ 2 ชั้น
  15. กระโดดเตะ

และนำเสียงที่ได้ทำการเก็บบันทึกเป็น Sound Library พร้อม Video ตัวอย่างการใช้เสียงในแต่ละท่า และทำการประเมินผลงานโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงประกอบในรูปแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 3 ท่าน แล้วทำการสรุปผล


ผลการศึกษา

จากการปฏิบัติงานผลิตเสียงประกอบภาพยนตร์ประเภทโฟเลย์ : คาราเต้ สอดคล้องกับคำกล่าวของ นคร โฆษิตไพศาล (สัมภาษณ์ 2559) ว่า “เราไม่จ้าเป็นต้องใช้สิ่งของเดียวกันกับในภาพยนตร์มาทำเป็นเสียงประกอบ” และ “วัสดุหรือวัตถุที่มีลักษณะคุณภาพใกล้เคียงกัน เสียงที่ออกมาก็จะคล้ายกัน” ซึ่งสรุปได้ว่า ทฤษฎีนี้สามารถใช้ได้จริง

อภิปรายผล

จากการปฏิบัติงานผลิตเสียงประกอบภาพยนตร์ประเภทโฟเลย์ : คาราเต้ ผู้จัดทำพบว่า ในการผลิตเสียงประกอบครั้งนี้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่า “เราไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งของเดียวกันกับใน
ภาพยนตร์มาทำเป็นเสียงประกอบ” และ “วัสดุหรือวัตถุที่มีลักษณะคุณภาพใกล้เคียงกัน เสียงที่
ออกมาก็จะคล้ายกัน” เพราะทางผู้จัดทำมิได้ต่อยหรือเตะใบหน้า ลำตัว หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ตามท่าของคาราเต้จริง ๆ แต่ได้เลือกใช้วัสดุและการดีไซน์ตามทฤษฎีข้างต้นมาผลิตเสียง
ประกอบตามท่าของคาราเต้นั้น ๆ และเสียงที่ได้มีความใกล้เคียงกับการต่อยหรือเตะตามท่านั้น ๆ อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ยังขาดเรื่องความหลากหลายของเสียง

จำนวนไมโครโฟนและระยะตำแหน่งการวางไมโครโฟน มีผลต่อการบันทึกเสียงโดยตรง เพราะไมโครโฟนแต่ละตัวมีคาแร็คเตอร์เสียงที่ไม่เหมือนกัน ยิ่งใช้ไมโครโฟนมากเสียงที่ได้ก็จะยิ่งมีความหลากหลายมากขึ้น มีโทนเสียงครอบคลุมในหลาย ๆ ย่านความถี่ และในส่วนของการปรับแต่งเสียงนั้นมีความส้าคัญอย่างยิ่ง ซึ่งขั้นตอนการปรับแต่งนี้เองที่จะเป็นการแก้ไขความบกพร่องข้างต้นได้เป็นอย่างดี การใช้ Plugin ต่าง ๆ เพื่อ Mix และเพิ่มความหลากหลายให้กับเนื้อเสียง

จากการปฎิบัติงานผลิตเสียงประกอบภาพยนตร์แอ็คชั่นประเภทโฟเลย์ : คาราเต้ ได้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น ทางผู้จัดทำจึงวิเคราะห์ปัญหาออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้

  1. จากการบันทึกเสียงนั้น พบว่า วัสดุที่ใช้ในการบันทึกเสียงนั้น ยังมีความหลากหลายไม่เพียงพอ ท้าให้เมื่อบันทึกเสียงแล้วยังได้ความหลากหลายของเสียงไม่เพียงพอ
  2. ไมโครโฟนที่ใช้อัดเสียงนั้นมีจ้านวนน้อยเกินไป ทำให้เสียงที่ทำการบันทึกนั้นขาดความหลากหลายของเนื้อเสียง
  3. จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่า ผู้จัดทำยังใช้ Plugin ในการตกแต่งเสียงได้ไม่ครอบคลุมมากนักในการผลิตงาน ทำให้การแก้ปัญหาเรื่องความหลากหลายของเสียงนั้นยังทำได้ไม่ดีมากพอ
  4. เนื่องจากผู้จัดทำไม่มีผู้ช่วยที่เพียงพอในขั้นตอนการบันทึกเสียง ทำให้การบันทึกเสียงบางครั้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก

สรุปผลการแก้ปัญหาหลังการปฎิบัติงานผลิตเสียงประกอบภาพยนตร์ประเภทโฟเลย์ : คาราเต้

จากปัญหาเรื่องขาดความหลากหลายของเนื้อเสียงที่ได้จากขั้นตอนบันทึกนั้น จึงได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและได้ข้อสรุปว่า ให้ทำการแก้ไขปรับแต่งเสียงด้วย Plugin ต่าง ๆ เช่น E.Q., Reverb หรือ Compressor เป็นต้น หลังจากการแก้ไขปรับแต่งเสียงตามคำแนะน้าของผู้เชี่ยวชาญแล้ว พบว่า เสียงที่ได้นั้นมีความหลากหลายของเสียงมากขึ้น และมีคุณภาพของเนื้อเสียงมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะ

  1. สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับงานบันทึกเสียงทุกประเภท คือ ผู้ช่วย เพราะในงานด้านการบันทึกเสียงมีปัจจัยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างต้องควบคุม ไม่สามารถที่จะกระทำด้วยคนเดียวหรือ 2 คน
  2. ในขั้นตอนการอัดเสียงนั้น จะต้องควบคุมองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง คอยเช็ค VU meter
    อยู่ตลอดเวลาว่า เสียงพีคเกินไปหรือเบาเกินไปหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของเนื้อเสียงที่ได้ และจะเกิดความยุ่งยากในขั้นตอนแก้ไขปรับแต่งเสียงนั่นเอง
  3. การเลือกสถานที่ในการบันทึกเสียงก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ต้องใช้สถานที่ ที่ต้องไม่มีเสียงรบกวน หรือมีการสะท้อนของเสียง (Reverb) ให้น้อยที่สุด เพื่อให้เสียงที่ได้มีคุณภาพที่ดีพอสำหรับขั้นตอนการแก้ไขปรับแต่งเสียง

รับชมผลงาน ลำดับที่ 1

รับชมผลงาน ลำดับที่ 2