Production of sound effects for the movie thriller by Foley recording
จัดทำโดย พัชรพล ก้องเพชรศักดิ์
สาขา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ (Abstract)
ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเสียงประกอบภาพยนตร์เขย่าขวัญโดยการบันทึกเสียง Foley โดยแบ่งการผลิตเสียงต่าง ๆ ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในภาพยนตร์ จากนั้นทําสําเนาลงแผ่น DVD ในรูปแบบภาพยนตร์สั้น แล้วทําการประเมินผลโดยผู้เชียวชาญด้านเสียงในภาพยนตร์จํานวน 3 ท่าน เพื่อประเมินผลในด้านต่างๆของเสียงและความสมจริง
สรุปผลการศึกษาในการปฏิบัติการผลิตเสียงประกอบภาพยนตร์เขย่าขวัญด้วยการบันทึกเสียง Foley เสียงประกอบที่ผลิตมาบางเสียงยังต้องมีการแก้ไขในส่วนของเทคนิคและการเลือกใช้วัสดุในการอัดเสียง เพราะในขั้นตอนการอัดเสียงนั้นข้าพเจ้าได้อัดเสียงมาไม่มากพอ ส่งผลให้ความละเอียดและความสมจริงของเนื้อเสียงที่ได้ยังไม่ดี อีกปัจจัยหนึ่ง คือ เรื่องวัสดุที่ใช้ในการอัดเสียง มีน้อยและจํากัด ทําให้เนื้อเสียงที่ได้ยังไม่สมจริงเท่าที่ควร แต่โดยรวมถือว่า ผลงานที่ผลิตออกมานั้นมีคุณภาพที่ถือว่า ใช้ได้ มีเสียงประกอบหลาย ๆ เสียงรวมกันเป็นเสียงเดียว ทําให้สามารถเพิ่มหรือลดรายละเอียดของเสียงและนําไปใช้ประกอบภาพยนตร์ได้
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาวิธีการผลิต Sound effects เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เขย่าขวัญ (Thriller) ด้วยการบันทึกเสียง Foley
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถผลิต Sound effects เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เขย่าขวัญ (Thriller) ด้วยการบันทึกเสียง
Foley ได้ใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริงที่สุด
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาวิธีการผลิตเสียงประกอบประเภท Foley เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เขย่าขวัญ (Thriller) เรื่อง IMAGINE ความยาว 3.40 นาทีถ่ายทําด้วยกล้อง DSLR Canon 5D Mark III สร้างเสียง Foley โดยใช้ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ จํานวน 1 ตัว ไมโครโฟน Shot gun จํานวน 1 ตัว Boom poleRode 1 อัน เครื่องบันทึกเสียงระบบดิจิตอล Zoom H4N จํานวน 1เครื่อง Memory Card : SD Card 16 GB 1 ใบ ซิงก์เสียงประกอบในภาพยนตร์โดยใช้โปรแกรม Adobe Premiere CC Computer ระบบ Windows 7 Processor : IntelPentium(R) CPU 2.90 GHz Ram 4 GB HDD 1 TB Graphic Card : Geforce GT600 2 GB 128 bit และใช้โปรแกรม Cubase Version: Steinberg Cubase LE AL Elements 7 ในการปรับแต่งเสียง ผสมเสียง ทั้งนี้ ผู้จัดทําได้วางแผนการผลิตเสียงประกอบตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในภาพยนตร์และนําเสนอภาพยนตร์ที่ใช้เสียงประกอบด้วยการบันทึกเสียง Foley ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงประกอบภาพยนตร์ 3 ท่านทําการประเมินผลงานหลังจากได้รับชมภาพยนตร์สั้นเรื่อง IMAGINE ในรูปแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วทําการสรุปผล
สรุปผลการศึกษา
จากการสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านนั้น การใช้เทคนิคการบันทึกเสียง Foley ในภาพยนตร์แนวระทึกขวัญนั้นสามารถเพิ่มความน่าสนใจให้กับตัวภาพยนตร์ได้ สร้างอารมณ์ร่วมให้กับคนดูได้ ถ้าหากเราดีไซน์เสียงประกอบที่ทําออกมาได้ดี แต่โดยรวมคงถือระดับไว้ที่พอใช้ได้
อภิปรายผลการศึกษา
จากการปฏิบัติงานผลิตเสียงประกอบ (Sound effects) เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เขย่าขวัญ (Thriller) ด้วยการบันทึกเสียง Foley ผู้จัดทําพบว่าในการผลิตเสียงประกอบครั้งนี้ สอดคล้องกับ ยุวยง อนุมานราชธน (อ้างถึงในพีรพงศ์ หมื่นน้อย, 2549:1) เสียงประกอบ (Sound effects) ในภาพยนตร์จะถือเป็นเรื่องสําคัญมาก เพราะจะช่วยให้ภาพดูสมจริงสมจังมากขึ้น เสียงประกอบจะมีส่วนในการสร้างอารมณ์ร่วม ความรู้สึกร่วมของผู้ชมอย่างยิ่ง เสียงประกอบในภาพยนตร์จะมีเสียงที่เกิดขึ้นจริงในขณะถ่ายทําและเสียงที่สร้างขึ้นภายหลัง เช่น ฟันแทงกัน และการทุบตีทําร้ายร่างกาย เป็นต้น เพื่อนําไปประกอบกับภาพเพื่อเพิ่มความสมจริงให้เหตุการณ์ที่เกิดในฉากมากยิ่งขึ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทํางาน
- ในการบันทึกเสียงการหาอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติในการสร้างเสียงใกล้เคียงเสียงจริงที่สุดมีจํากัด ทําให้เสียงที่ได้ยังมีมิติน้อย และยังมีไม่มากเท่าที่ควร
- ความหลากหลายของอุปกรณ์ที่มียังน้อยเกินไป ทําให้ได้เสียงที่ผลิตออกมาไม่หลากหลาย จึงทําให้ยากต่อการปรับแต่งเสียง
- เสียงที่นํามา Mix ผสมกันแล้ว ไม่เป็นไปตามที่ต้องการจึงต้องอัดใหม่หลายครั้งเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการและเสมือนจริงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สุด
- ผู้ศึกษายังไม่มีประสบการณ์ในการเลือกใช้วัสดุและหาสิ่งของมาทดแทนเสียงที่เกิดขึ้นยังไม่ชํานาญจึงทําให้เสียงที่ออกมายังไม่สมจริงมากนัก
สรุปผลแก้ปัญหาหลังการปฏิบัติงาน
จากปัญหาเรื่องความมีมิติของเสียงและอุปการณ์ที่นํามาใช้มีจํากัดจากขั้นตอนการบันทึกเสียง จึงได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และได้ทําการแก้ไขโดยการปรับแต่งเสียงด้วยโปรแกรมปรับแต่ง EQ เพิ่มย่านเสียงพิเศษเข้าไปเพื่อทําให้เสียงมีมิติมากขึ้น หลังจากได้ทําการแก้ไขแล้วพบว่า ได้เนื้อเสียงที่มีมิติมากขึ้นและสมจริงมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
- การเลือกใช้อุปกรณ์มาทดแทนเสียงที่ไม่สามารถบันทึกในขณะถ่ายทําได้ก็เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้เสียงที่ได้มานั้นมีความใกล้เคียงกับของจริงในภาพยนตร์ที่สุด
- ในการบันทึกเสียงนั้น จะต้องควบคุมหลายๆอย่าง เช่น นํ้าหนักของเสียง ความใกล้ ไกลของเสียง และเสียงรบกวนรอบข้างขณะทําการบันทึกเสียง
- ควรมีไมโครโฟนในการบันทึกเสียงหลายๆชนิด เพื่อที่จะได้คาแรคเตอร์ของเสียงที่บันทึกให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น จะได้สะดวกต่อการปรับแต่งและนําไปเลือกใช้