Education Gloss of screen printing inks the pearl powder on Polyvinylchloride Stickers with Screen Printing

จัดทำโดย อนุวัฒน์ ขำพาที

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความมันเงาของหมึกพิมพ์ที่ผสมผงมุกบนสติ๊กเกอร์พีวีซี ด้วยระบบการพิมพ์สกรีน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นส่วนสำคัญในการแสดงออกของภาพให้ดูเด่นชัดและความมันเงาเป็นธรรมชาติ โดยมีขั้นตอนการทดสอบ 2 ขั้นตอนสำคัญ คือ ขั้นตอนผสมหมึกพิมพ์สกรีนกับผงมุก และขั้นตอนการพิมพ์ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลให้ที่ปรึกษาได้ตรวจสอบและทำการพิมพ์ โดยกำหนดสูตรในการผสมหมึกกับผงมุกทั้งหมด 4 สูตร ดังนี้ หมึก 90% ผงมุก 10%, หมึก 85% ผงมุก 15%, หมึก 80% ผงมุก 20% และหมึก 75% ผงมุก 25% ทำการออกแบบเทสฟอร์มประกอบด้วย ภาพเวกเตอร์, ตัวอักษร, ลายเส้นตรงและลายเส้นกลม หลังจากนั้นทำการพิมพ์ด้วยวิธีการปาดมือ หลังจากทำการพิมพ์จะทำการวัดค่าความมันเงา ค่าความทึบแสง ค่าความแตกต่างสี และการเก็บรายละเอียดลายเส้นและตัวอักษร ผลการศึกษาหมึก 90% ผงมุก 10% ให้ความมันเงามากที่สุดอยู่ที่ 31.25 และค่าความทึบแสง หมึก 85% ผงมุก 15% มีค่าไกล้เคียงที่สุดกับที่กำหนดไว้ที่ 1.14 ค่าความทึบแสง ที่ได้จากหมึก 85% ผงมุก 15% มีค่าความทึบแสง อยู่ที่ 1.14 ความแตกต่างสีนั้น สีมีความแตกต่างตามปริมาณของผงมุกสูตรที่มีค่าความแตกต่างสีมากที่สุดนั้นอยู่ที่ 48.17 ส่วนการเก็บรายละเอียดนั้นในการเก็บราลละเอียดลายเส้นและตัวอักษรของภาพโพสิทิฟได้ดีทุกขนาดตัวอักษรและลายเส้น ส่วนภาพเนกาทีฟสามารถเก็บรายละเอียดได้เพียงบางส่วนทั้งตัวอักษรและลายเส้น ในทางอุสาหกรรมมีการเลือกใช้การผสมผงมุกอยู่ที่ 20% ของส่วนผสมทั้งหมด 100% จากการทดสอบหมึก 90% ผงมุก 10% สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนได้ช่วยลดต้นทุนการผลิตในการพิมพ์สกรีนบนสติ๊กเกอร์พีวีซี และมีความสวยงามขึ้นมีความมันเงาเหมือนเดิม


วัตถุประสงค์การศึกษา

เพื่อศึกษาความมันเงาของหมึกพิมพ์สกรีนที่ผสมผงมุขบนสติ๊กเกอร์พีวีซี ด้วยระบบการพิมพ์สกรีน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สามารถบอกความแตกต่างของภาพพิมพ์ที่มีส่วนผสมของผงมุขที่แตกต่างกันได้
  2. สามารถบอกความแตกต่างของความมันเงาบนภาพพิมพ์
  3. สามารถเลือกใช้ปริมาณ ผงมุก ที่เหมาะกับความต้องการความมันเงาบนสติ๊กเกอร์ พีวีซี

ขอบเขตการศึกษา

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษา ด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษา ดังนี้

  1. หมึกพิมพ์สกรีนเชื้อน้ำมัน 1 สี (สีแดง) ผสมกับผงมุกทั้งหมด 4 สูตร หมึก 90% ผงมุก 10%, หมึก 85% ผงมุก 15%, หมึก 80% ผงมุก 20% และหมึก 75% ผงมุก 25% นำมาทดสอบคุณสมบัติ การแห้งตัว, ความหนืด, ความละเอียด
  2. ออกแบบแผ่นทดสอบ ภาพลายเส้น, ลายเส้น, ขนาดตัวอักษร, ลายเส้นวงกลม
  3. แม่พิมพ์สกรีน กำหนดเป็นผ้าสกรีนไนลอนเบอร์ 90 เส้นด้ายเดี่ยวขนาด 44 ไมคอน รูเปิด-ปิดผ้า 65 ไมคอน ปาดด้วยกาวอัดสีม่วงด้านพิมพ์ 2 ครั้ง และด้านยางปาด 3 ครั้ง
  4. วิธีการพิมพ์ ปาดพิมพ์ด้วยมือ
    1. ใช่ยางปาดรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส
    2. หมึกพิมพ์เชื้อน้ำมัน 1 สี (สีแดง) ที่ผสมผงมุกทั้ง 4 สูตร
    3. สรุปผลการศึกษาโดยการวัดค่าความดำ, ค่าความมันวาว, ค่าความแตกต่างสี และค่าการยึดติดของภาพพิมพ์ และสังเกตความแตกต่างของภาพจากงานพิมพ์สกรีน

สรุปผลการศึกษา

การศึกษาความมันเงาของหมึกพิมพ์สกรีนที่ผสมผงมุกบนสติ๊กเกอร์ พีวีซี ด้วยระบบการพิมพ์สกรีน สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้

ในการทดสอบครั้งนี้ได้ทำการเตรียมหมึกพิมพ์สกรีนเชื้อน้ำมันชนิดแห้งไว จำนวน 1 สี ได้แก่ สีแดง มาทำการผสมผงมุกใน 100% ทั้งหมด 4 รูปแบบแบ่งเป็นหมึกและผงมุก 75/25, 80/20, 85/15 และ 90/10 เปอร์เซ็นและทำการพิมพ์ทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ ความมันเงา ความแตกต่างสี และค่าความทึบแสง (Density) ของหมึกพิมพ์ที่ผสมผงมุกและไม่ผสมผงมุก โดยวิธีการทดสอบผู้ศึกษาได้ทำการเตรียมหมึกพิมพ์และผงมุกมาทำการผสม เมื่อผสมเสร็จจึงนำหมึกไปทดสอบคุณสมบัติ ได้แก่ ทดสอบความละเอียด การแห้งตัว และความหนืด หลังจากนั้นทำการพิมพ์ทดสอบด้วยเทสฟอร์มที่เตรียมไว้ โดยวิธีการปาดมือ เมื่อพิมพ์สำเร็จก็รอจนหมึกพิมพ์แห้งตัวหลังจากนั้นนำชิ้นงานที่พิมพ์มาทำการทดสอบวัดค่าต่าง ๆ ได้แก่ ความมันเงา ความแตกต่างสี ค่าความทึบแสง (Density) จากนั้นนำมาวิเคราะห์และสรุปผล

จากผลการทดลองสรุปได้ว่า เมื่อทำการผสมผงมุกลงไปในหมึกพิมพ์สกรีนทำให้ค่าความทึบแสง (Density) ลดลงตามปริมาณของผงมุกที่ผสมลงไปในหมึกพิมพ์ซึ่งอาจเกิดจากผงมุกไปทำปฏิกิริยากับหมึกพิมพ์ทำให้ค่าความทึบแสง (Density) ลดลง หมึกที่มีค่าความทึบแสง (Density) ไกล้เคียงกับที่กำหนดไว้ 1.14 มากที่สุด คือ หมึก 85% ผงมุก 15% ค่าความทึบแสง (Density) อยู่ที่ 1.14 ส่วนค่าความแตกต่างสีหลังจากที่ผสมผงมุกเข้ากับหมึกพิมพ์ พบว่า มีความแตกต่างสีที่เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณของผงมุกที่ผสมอยู่ในหมึกพิมพ์ ยิ่งผงมุกมีปริมาณมากยิ่งทำให้แยกความแตกต่างสีด้วยตาเปล่าได้ชัดเจนยิ่งขึ้นหมึกที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ หมึก 75% ผงมุก 25% ค่าอยู่ที่ 48.17 และคุณสมบัติความมันเงาสรุปได้ว่า เมื่อทำการผสมผงมุกกับหมึกพิมพ์ที่มีความมันเงามาก พบว่า มีค่าความมันเงาลดลงตามปริมาณของผงมุกที่ได้ทำการผสมเข้าไป การผสมผงมุกที่ให้ความมันเงาดีที่สุดในการพิมพ์ลงบนสติ๊กเกอร์พีวีซี คือ หมึก 90% ผงมุก 10% ความมันเงาอยู่ที่ 31.25 อยู่ในระดับความมันเงาปานกลาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละผู้ประกอบการ และชนิดของหมึกพิมพ์และผงมุกที่นำมาผสมว่ามีคุณสมบัติอย่างไร

ข้อเสนอแนะ

  1. ผู้ทดสอบควรใช้วิธีการทดสอบด้วยเครื่องพิมพ์ที่สามารถกำหนดได้แม่นยำกว่า
  2. ผู้ทดสอบควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสะท้อนแสงของผงมุก
  3. ควรเพิ่มหมึกที่ใช้ในการทดสอบมากขึ้น
  4. ผู้ทดสอบควรใช้การอบด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม