The Study of Colour Difference on Printed PVC after Coating In Offset Printing
จัดทำโดย รักศักดิ์ วงษ์เสนสะ
สาขา เทคโนโลยีการพิมพ์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ (Abstract)
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าสีหลังการเคลือบงานพิมพ์พีวีซีที่มีการกำหนดช่วงค่าความดำในการพิมพ์ออฟเซต พีวีซีในการพิมพ์ออฟเซตจะใช้หมึกพิมพ์ที่แห้งตัวด้วยการผ่านแสงยูวี ในขั้นตอนการผลิตจะมีอยู่ 2 ขั้นตอนสำคัญ คือ ขั้นตอนการพิมพ์และขั้นตอนการเคลือบลามิเนต ผู้ศึกษาได้ดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลให้ที่ปรึกษาได้ตรวจสอบ และทำการพิมพ์ด้วยเครื่องออฟเซตยูวี โดยจะตั้งค่าเครื่องพิมพ์ให้ได้ตามมาตรฐานในคู่มือเครื่อง และในการพิมพ์จะทำการกำหนดค่าความดำจากโรงงาน (A) คือ Cyan = 1.45 Magenta = 1.45 Yellow = 1.75 Black = 1.70 และค่าความดำที่ได้กำหนดขึ้น (B) คือ Cyan = 1.35 Magenta = 1.35 Yellow = 1.65 Black = 1.60 (C) คือ Cyan = 1.55 Magenta = 1.55 Yellow = 1.85 Black = 1.80 หลังจากทำการพิมพ์เสร็จ จะทำการวัดค่าความดำ (Density) ค่าเม็ดสกรีนบวม (Tone value increase) ค่าสี (L*a*b*) และนำชิ้นงานที่ผ่านการพิมพ์มาแล้วไปเข้าสู่ขั้นตอนการเคลือบลามิเนตโดยจะใช้แผ่นโอเวอร์เลย์มาทำการประกบหน้าและหลังของตัวชิ้นงาน และหลังจากผ่านการเคลือบมาแล้วจะทำการวัดค่าความดำ ค่าเม็ดสกรีนบวม ค่าสี และค่าความมันเงา (Gloss)
ผลการศึกษาพบว่า หลังผ่านการเคลือบ ค่าความดำจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น แต่ค่าความสว่างของสีจะลดลง และค่าแตกต่างสีหลังการเคลือบ สรุปได้ว่า ค่าความดำชุด C ให้ค่าความแตกต่างสี C M Y K อยู่ในเกณฑ์มาตรมากที่สุด และค่าความดำชุด A และ B ตามลำดับ และสีที่ให้ค่าเกินเกณฑ์มาตรทุกชุด คือ สี Y ค่าเม็ดสกรีนบวม พื้นที่เม็ดสกรีนช่วง 20 เปอร์เซ็นต์ ของทุกชุดมีการเกิดเม็ดสกรีนบวมมากกว่าพื้นที่อื่น แต่เมื่อเทียบกับมาตรฐานของการเกิดเม็ดสกรีนบวมทั้ง 3 ชุด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประเทศไทย ที่ไม่เกิน 18 เปอร์เซ็นต์ และค่าความมันเงาของทั้ง 3 ชุด มีค่าความมันเงาใกล้ที่ต่างกันโดย ชุด B มีความมันเงามากที่สุด สรุปว่า ยิ่งภาพพิมพ์ที่มีค่าความมันเงาที่สูงจะทำให้สีของภาพพิมพ์มีความเข้มขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อการศึกษาค่าสีหลังการเคลือบงานพิมพ์พีวีซีที่มีการกำหนดช่วงค่าความดำในการพิมพ์ออฟเซต
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้ทราบว่าค่าสีหลังการเคลือบงานพิมพ์พีวีซีที่มีการกำหนดช่วงค่าความดำให้คุณภาพงานพิมพ์ออกมาเป็นอย่างไร
- สามารถนำค่าสีมาเป็นแนวทางในการประเมินผลได้
- รู้ขั้นตอนการปรับตั้งเครื่องพิมพ์ออฟเซตยูวีและขั้นตอนการทำเคลือบลามิเนต
ขอบเขตการศึกษา
ในการศึกษาค่าสีหลังการเคลือบงานพิมพ์พีวีซีที่มีการกำหนดช่วงค่าความดำ โดยใช้วัสดุที่ทำการทดสอบ คือ พีวีซีที่ความหนาที่ 0.20 มิลลิเมตร และวัสดุเคลือบแผ่นพีวีซีใส (Overlays) ที่ความหนาที่ 0.05 มิลลิเมตร โดยการทดสอบจะทดสอบโดยการวัดค่าความดำ (Density) ค่าสี (Lab) และค่าเม็ดสกรีนบวม (Tone value increase) และในการทดสอบจะใช้ความละเอียดของแม่พิมพ์ที่ 150 Lpi เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการทดสอบ คือ เครื่องพิมพ์ออฟเซต 4 สี ยี่ห้อ Ryobi 524 HE และเครื่องเคลือบลามิเนตยี่ห้อ OASYS ในการทดสอบจะวัดค่าความดำ ค่าสี และค่าเม็ดสกรีนบวม ค่าความมันวาว หลังพิมพ์ และบันทึกผลที่ได้ จากนั้นนำชิ้นงานเข้ากระบวนการเคลือบด้วยความร้อน และแรงกดโดยอุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ตามกำหนด และแรงกดอยู่ที่ 1800 Psi และทำการวัด ค่าความดำ ค่าสี ค่าเม็ดสกรีนบวมหลังทำการเคลือบ และความมันเงา หาค่าแตกต่างสี และนำชิ้นงานมา และสรุปผลการทดลอง
สรุปผลการศึกษา
จากการกำหนดค่าความดำ (Density) ที่ต่างกันในการเปรียบเทียบคุณภาพงานพิมพ์ทั้งสามชุด ทดสอบค่าจากโรงงาน (A) คือ Cyan = 1.45 Magenta = 1.45 Yellow = 1.75 Black = 1.70 และค่าทดสอบที่ได้กำหนดขึ้น (B) คือ Cyan = 1.35 Magenta = 1.35 Yellow = 1.65 Black = 1.60 (C) คือ Cyan = 1.55 Magenta = 1.55 Yellow = 1.85 Black = 1.80 ผลจากการวัดค่าความดำหลังจากผ่านกระบวนการเคลือบลามิเนต ค่าความดำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมทั้ง 3 ชุด แต่ในการเปลี่ยนแปลงของสีในแต่ละสีไม่เท่ากัน แสดงให้เห็นว่าหลังจากผ่านกระบวนการเคลือบส่งผลให้ค่าความดำมีค่าเพิ่มสูงขึ้นทำให้ความเข้มสีเพิ่มมากขึ้น ผลจากการหาค่าความแตกต่างสีของ Yellow มีค่าที่สูงเกินมาตรฐานทุกชุดที่ทำการทดสอบ สามารถสังเกตเห็นความแตกต่างสีก่อนเคลือบและหลังเคลือบได้ด้วยตาเปล่า และชุด A ให้ค่าความแตกต่างสี ของ Yellow มากที่สุด และชุด C ให้ค่าความแตกต่างสี Yellow น้อยที่สุดเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันชุด A จะให้ความเป็นสีเหลืองมากกว่าชุด B และ C ส่วนชุด B ค่าแตกต่างสีของ Magenta มากเกินเกณฑ์มาตรจะทำให้หลังการเคลือบภาพพิมพ์จะออกเป็นสีแดงมากกว่าชุดอื่น ๆ ส่วนสี Cyan ให้ค่าความแตกต่างสีที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั้ง ชุด B และ C ส่วนชุด A เกินเกณฑ์มากเล็กน้อย และสี Black ให้ค่าแตกต่างสีอยู่ในเกณฑ์มาตรทุกชุด จากค่าความแตกต่างสีสรุปได้ว่า ชุด C ให้ค่าความแตกต่างสีหลังการเคลือบได้ดีที่สุด ผลจากการวัดค่าเม็ดสกรีนบวม (Tone value increase) พื้นที่เม็ดสกรีนช่วง 20 เปอร์เซ็นต์ ของทุกชุดมีการเกิดเม็ดสกรีนบวมมากกว่าพื้นที่อื่น แต่เมื่อเทียบกับมาตรฐานของการเกิดเม็ดสกรีนบวมทั้ง 3 ชุด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประเทศไทย ที่ไม่เกิน 18 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการวัดค่าความมันเงา (Gross) มุมที่ 20องศา ค่าความมันเงาของทั้ง 3 ชุด มีค่าความมันเงาใกล้ที่ต่างกันโดย ชุด B มีความมันเงามากที่สุด สรุปว่า ยิ่งภาพพิมพ์ที่มีค่าความมันเงาที่สูงจะทำให้สีของภาพพิมพ์มีความเข้มขึ้น และแผ่นโอเวอร์เลย์ในการเคลือบเป็นแผ่นฟิล์มชนิดเงาจะสามารถให้ความทนต่อการขูดขีดและให้ความมันเงาสูง
ข้อเสนอแนะ
- ช่วงค่าความดำที่ทำการพิมพ์ครั้งต่อไปควรมากกว่า ±0.1 เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลคุณภาพงานพิมพ์พีวีซีที่ผ่านการเคลือบ
- แผ่นโอเวอร์เลย์ที่นำมาทดสอบเป็นแผ่นแบบเงาหากมีการศึกษาต่อควรเพิ่มแผ่นโอเวอร์เลย์แบบด้านเพื่อเป็นแนวในการประเมินผลหลังผ่านการเคลือบ