The study of film production by using technique Invisible Wipe, Swish Pan and The Zero Cut for film continuity editing.

โดย สุรกิจ นาโถ, เอกราช นาคบัณฑิตย์ และ วุฒิพงษ์ กำศร

สาขา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาการผลิตภาพยนตร์โดยใช้เทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan, The Zero Cut เพื่อความต่อเนื่องในการตัดต่อภาพยนตร์ ผู้ศึกษาผลิตภาพยนตร์สั้นเรื่อง “Something บางสิ่ง..ที่ไม่เคยบอก” โดยมีความยาวทั้งหมด 25 นาที ถ่ายทำโดยใช้กล้อง Canon EOS 5D Mark III แล้วนำไปตัดต่อโดยใช้โปรแกรม Adobe Premiere Pro CC และAdobe After Effects CS6 คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาเทคนิคการตัดต่อแบบ Invisible Wipe, Swish Pan และ The Zero Cut จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาการใช้เทคนิคการตัดต่อแบบ Invisible Wipe, Swish Pan และ The Zero Cut ในการผลิตภาพยนตร์สั้นให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ผลิตผลงานภาพยนตร์สั้น เพื่อสามารถสร้างภาพยนตร์สั้นโดยการใช้เทคนิคการตัดต่อแบบ Invisible Wipe, Swish Pan และ The Zero Cut โดยสามารถใช้เทคนิคได้อย่างแนบเนียน ลื่นไหล โดยจัดฉายให้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางทางด้านภาพยนตร์ 5 ท่านแบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตัดต่อ 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ 2 ท่าน ชมภาพยนตร์สั้นเรื่อง “Something บางสิ่ง…ที่ไม่เคยบอก” และทำการประเมินผล โดยการสัมภาษณ์ และนำมาสรุปผล

ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาผลิตภาพยนตร์โดยใช้เทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan, The Zero Cut เพื่อความต่อเนื่องในการตัดต่อภาพยนตร์ มีผลประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดต่อและด้านการถ่ายภาพ เป็นไปตามมาตรฐานของการใช้เทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan, The Zero Cut ในภาพยนตร์ได้ค่อนข้างดี ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

เพื่อศึกษาการผลิตภาพยนตร์โดยการใช้เทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan, The Zero Cut เพื่อความต่อเนื่องในการตัดต่อภาพยนตร์ สามารถสื่อความหมายในการเล่าเรื่องได้ตามความต้องการ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถใช้เทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan, The Zero Cut เพื่อสร้างความต่อเนื่องทางภาพได้อย่างกลืมกลืนและมีประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการศึกษา

ศึกษาการผลิตภาพยนตร์โดยใช้เทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan, The Zero Cut เพื่อความต่อเนื่องในการสร้างภาพยนตร์ เรื่อง “Something บางสิ่ง..ที่ไม่เคยบอก” โดยมีความยาวทั้งหมด 25 นาที ถ่ายทำโดยใช้กล้อง Canon EOS 5D Mark III แล้วนำไปตัดต่อโดยใช้โปรแกรม Adobe Premiere Pro CC และAdobe After Effects CS6 แล้วประเมินโดยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์ 5 ท่าน แบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตัดต่อ 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ 2 ท่าน ด้วยการสัมภาษณ์ และนำมาสรุปลงในปริญญานิพนธ์เล่มนี้


สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาการผลิตภาพยนตร์โดยใช้เทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan, The Zero Cut
เพื่อความต่อเนื่องในการตัดต่อภาพยนตร์ ผู้จัดท าได้ท าการรวบรวมข้อมูลเทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan, The Zero Cut จากหนังสือและรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญทางด้านการถ่ายภาพและการตัดต่อ ผลการศึกษาปรากฏว่า ผู้จัดทำสามารถทำการผลิตภาพยนตร์โดยใช้เทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan, The Zero Cut เพื่อความต่อเนื่องในการตัดต่อภาพยนตร์ได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการที่ได้ศึกษามาและสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ผลิตได้เป็นอย่างดีตรงตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน
โดยมีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญได้แก่

  1. อุดมศักดิ์ เล็กกระจ่าง Camera Operator
  2. พิรชัช พุฒิแสงภักดี Camera Operator
  3. สุชาติ แสงชู Editor
  4. พิชิตพล พิลาล้ำ Editor
  5. เอกรินทร์ ทุ่งราช Editor

สรุปผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในเทคนิค Invisible Wipe เพื่อความต่อเนื่องในการตัดต่อภาพยนตร์ได้ผลสรุปว่า การใช้เทคนิค Invisible Wipe จะเป็นการตัดต่อที่แตกต่างจากการตัดต่อ
ในรูปแบบอื่น เพราะการตัดต่อโดยใช้เทคนิค Invisible Wipe ไม่ได้เน้นไปที่การแก้ปัญหาในเรื่องของการตัดต่อ แต่เป็นเทคนิคที่ต้องมีการวางแผนตั้งแต่ก่อนการถ่ายทำว่า จะเป็นอย่างไร จะต้องกำหนดว่า ควรเคลื่อนกล้องผ่านวัตถุชนิดใดเพื่อเชื่อมกับอีกช็อตหนึ่งอย่างไร เพื่อให้การเชื่อมต่อนั้นดูต่อเนื่อง แนบเนียน ลื่นไหล และไม่สะดุด รวมทั้งความเร็วของการเคลื่อนกล้อง และ
ขนาดภาพที่สอดคล้องกันของทั้งสองช็อต สามารถนำมาช่วยในการย่นระยะเวลาในการนำเสนอ
เรื่องราวให้เหมือนผ่านช่วงเวลาได้

ประเด็นที่ทำให้ การใช้เทคนิค Invisible Wipe มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. ควรคำนึงถึงความเร็วของการเคลื่อนกล้อง
  2. ขนาดภาพ ของช็อตที่นำมาเชื่อมกันควรมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน
  3. การใช้ช่วงของเลนส์ที่มีช่วงที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ช็อตทั้งสองมีความใกล้เคียงและเชื่อมต่อกันได้ดีขึ้น
  4. วัตถุที่กล้องเคลื่อนผ่านควรมีลักษณะที่คล้ายกัน เช่น รูปร่าง สี เป็นต้น เพื่อจะทำให้การเชื่อมต่อดูต่อเนื่อง แนบเนียน

สรุปผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในเทคนิค Swish Pan เพื่อความต่อเนื่องในการตัดต่อภาพยนตร์ได้ผลสรุปว่า การใช้เทคนิค Swish Pan จะเป็นการตัดต่อที่แตกต่างจากการตัดต่อใน
รูปแบบอื่นเช่นเดียวกับเทคนิค Invisible Wipe ซึ่งต้องมีการวางแผนตั้งแต่การถ่ายทำว่าจะเป็น
อย่างไรจะต้อง Swish Pan ท้ายช็อตไหนแล้วมาเชื่อมต่อกับช็อตไหนที่ต้อง Swish Pan ตั้งแต่ต้นช็อตแล้วดำเนินเรื่องต่อไป รวมถึงความเร็วในการ Swish Pan ซึ่งต้องมีความเร็วที่ให้เคียงกัน และขนาดภาพที่ใกล้เคียงกัน เพื่อที่จะทำให้ดูต่อเนื่อง ลื่นไหล ไปกับอีกช็อตหนึ่งได้ดี สามารถนำมาช่วยในการเปลี่ยนซีน และช่วยย่นระยะเวลาในการน าเสนอเรื่องราวเหมือนผ่านช่วงเวลาได้

ประเด็นที่ทำให้เทคนิค Swish Pan มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. ความเร็วในการ Pan กล้องจะต้องมีความเร็วที่ใกล้เคียงกันทั้งสองช็อต
  2. ขนาดภาพของทั้งสองช็อตต้องมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน
  3. การใช้ช่วงของเลนส์ที่มีช่วงที่ใกล้เคียงกันทำให้ช็อตทั้งสองมีความใกล้เคียงและเชื่อมต่อกันได้ดีขึ้น
  4. สี แสง ของทั้งสองช็อตควรมีสี แสง ที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้การเชื่อมต่อดูแนบเนียน
    มากยิ่งขึ้น

สรุปผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในเทคนิค The Zero Cut เพื่อความต่อเนื่องในการตัดต่อภาพยนตร์ได้ผลสรุปว่า การใช้เทคนิค The Zero Cut จะเป็นการตัดต่อที่แตกต่างจากการตัดต่อในรูปแบบอื่นเช่นเดียวกับเทคนิค Invisible Wipe และ Swish Pan ที่จะต้องมีการวางแผนตั้งแต่ก่อนการถ่ายทำว่าจะมีคนหรือวัตถุใด ๆ ผ่านหน้ากล้องแล้วเปลี่ยนเป็นอีกช็อตหนึ่ง โดยเทคนิคนี้จะต้องคำนึงถึงบรรยากาศโดยรวมของซีนนั้น ยกตัวอย่างเช่น มีนักแสดงประกอบเดินผ่านให้เป็นบรรยากาศก่อนที่จะใช้เทคนิค เพื่อที่จะทำให้การใช้เทคนิคนี้ดูต่อเนื่อง แนบเนียน สามารถนำมาใช้เป็น Transition เพื่อเปลี่ยนซีน และช่วยย่นระยะเวลาในการนำเสนอเรื่องราวเหมือนผ่านช่วงเวลาได้

ประเด็นที่ทำให้เทคนิค The Zero Cut มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. ขนาดภาพของทั้งสองช็อตที่นำมาเชื่อมกันควรมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน
  2. ต้องคำนึงถึงบรรยากาศภายในซีน เพื่อไม่ให้การใช้เทคนิค The Zero Cut ดูแปลกเกินไป

อภิปรายผล

สามารถสรุปได้ว่า การศึกษาการผลิตภาพยนตร์ โดยการใช้เทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan,
The Zero Cut เพื่อความต่อเนื่องทางการตัดต่อภาพยนตร์ สามารถท าให้ภาพยนตร์มีความต่อเนื่อง ลื่นไหล และไม่สะดุด ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ สมเกียรติ วิทุรานิช (สัมภาษณ์, 21 มกราคม 2559) กล่าวว่า ความต่อเนื่องทางการเคลื่อนไหวเป็นความต่อเนื่องระหว่างช็อตต่อช็อต ซึ่งปกติแล้วการที่จะทำให้รู้สึกว่า ระหว่างช็อตต่อช็อตนั้นดูลื่นไหลเหมือนมีการซ่อนการตัดต่อ ประโยชน์หลักก็คือ การทำให้อารมณ์คนดูไม่สะดุด ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ ชัยรัตน์ พิริยะวัฒนะกุล (สัมภาษณ์ 29 มกราคม 2559) ได้กล่าวว่า เป็นเทคนิคที่ซ่อนรอยตัดต่อระหว่างช็อตสองช็อตที่ต่อเนื่องกัน นิยมใช้ในการเชื่อมโยงสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง หรือใช้เพื่อย่นย่อเวลา เชื่อมโยงเวลาระหว่างอดีตกับปัจจุบัน หรือเชื่อมโยงเหตุการณ์ของสองเหตุการณ์ในการเล่าเรื่องสลับกันไปมา เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการเล่าเรื่องโดยไม่ทำให้ผู้ชมรู้ได้ว่ามีการตัดต่อเกิดขึ้น

ทั้งนี้สิ่งสำคัญในการใช้เทคนิค Invisible Wipe, Swish Pan และ The Zero Cut ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับเนื้อหา อารมณ์ และการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ Madsen (1975 : 85) การตัดต่อลำดับภาพของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง เราจะเห็นได้ว่า จะไม่มีการใช้เทคนิคการตัดต่อเชื่อมภาพแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นไปในลักษณะของการผสมผสานกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระและการดำเนินเรื่อง ซึ่งผู้ตัดต่อจะต้องใช้ดุลพินิจและวิจารญาณเลือกนำมาใช้ตามความเหมาะสม เพื่อใช้ถ่ายทอดหรือบอกเล่าเรื่องราวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ที่สุด

ปัญหาในการศึกษา

ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนี้

  1. การค้นคว้าข้อมูลในเนื้อหา การซ่อนรอยตัดต่อ ข้อมูลในรูปแบบหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์
    นั้นหาได้ยาก จึงต้องทำการค้นคว้าโดยการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก
  2. การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมในเนื้อหาของเทคนิค Invisible Wipe ข้อมูลในรูปแบบหนังสือ หรือสื่อสิ่งพิมพ์นั้นหาได้ยาก จึงต้องทำการค้นคว้าข้อมูลใน Website เป็นหลัก
  3. ในส่วนของขั้น Post-production มีปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ช็อตที่จะนำมาเชื่อมกันมีความเร็วในในการเคลื่อนกล้องที่ไม่เท่ากันจึงต้องนำมาปรับความเร็วให้ช็อตทั้งสองมีความเร็วเท่ากัน
  4. เสียงที่อัดมามีเสียงบรรยากาศที่ดังเกินจนรบกวนเสียงพูดของนักแสดง

ข้อเสนอแนะ

  1. ในการเลือกใช้เทคนิคแต่ละเทคนิคควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องราวของภาพยนตร์
  2. ในการใช้เทคนิค The Zero Cut ควรที่จะมีคนเดินผ่านหน้ากล้องก่อนแล้วค่อยใช้เทคนิค The Zero Cut เพื่อเปลี่ยนซีน
  3. ควรเพิ่มอารมณ์ของนักแสดงให้เหมาะสมกับภาพยนตร์เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น
  4. ควรตัดต่อภาพยนตร์ให้มีความกระชับมากขึ้น

รับชมผลงาน