A Comparative Study of Opinions on Conservative Tourism Promotion Programs in Applications and Printed Media Formats
ผู้วิจัย วสันต์ สอนเขียว
โครงการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2558
บทคัดย่อ (Abstract)
ปัจจุบันสื่อเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในรูปของการประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในรูปแบบของแอพพลิเคชั่นกับการส่งเสริมในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้งานระหว่างแอพพลิเคชั่นกับสื่อสิ่งพิมพ์ กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวจำนวน 200 คนเป็นชาวไทย 100 คนและชาวต่างชาติ 100 คน การเก็บข้อมูลจากแหล่งท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร ในปี 2558 โดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากการศึกษาการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการใช้งานระหว่างแอพพลิเคชั่นกับสื่อสิ่งพิมพ์ พบว่านักท่องเที่ยวส่วนมากนิยมเลือกใช้แอพพลิเคชั่นมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ และเหคุผลของการเลือกสื่อดังกล่าว พบว่า เนื่องจากความสะดวกในการพกพา มีข้อมูลครบถ้วน มีความสวยงามของภาพประกอบ สามารถสอบถามข้อมูลและแลกเปลี่ยนได้เพิ่มเติม และเห็นว่า สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับการท่องเที่ยวจะหมดไปเนื่องจากการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาผลิตสื่อเพื่อการท่องเที่ยวมีมากในหลากหลายรูปแบบและเห็นว่า สื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้สื่อในรูปแบบออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์
- เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ
ขอบเขตการศึกษา
ขอบเขตทางด้านกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งเป็นนักท่องเที่ยว ดังนี้
กลุ่มประชากรได้แก่นักที่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2557 และนักท่องเที่ยวไทยที่ท่องเที่ยวในปี พ.ศ.2557
กลุ่มตัวอย่างของนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 200 คน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 100 คน นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 100 คน
สรุปผลการศึกษา
นักท่องเที่ยวชาวไทย
เป็นเพศหญิง จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 68 รองลงมาเป็นเพศชายจำนวน 32 คนคิดเป็นร้อยละ 32
การเดินทางท่องเที่ยวบ่อย 1-2 ครั้งต่อ 6 เดือน จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 32 รองลงมาเป็นการเดินทางท่องเที่ยวบ่อย 1-2 ครั้งต่อเดือน จำนวน 28 คนคิดเป็นร้อยละ 28 รองลงมาเป็นการเดินทางท่องเที่ยวบ่อย 1-2 ครั้งต่อปี จำนวน 22 คนคิดเป็นร้อยละ 22 รองลงมาเป็นการเดินทางท่องเที่ยวบ่อย 2-4 ครั้งต่อปี จำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ 4 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามการเดินทางท่องเที่ยวอื่นๆจำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ 4
การท่องเที่ยวในแต่ละครั้งมีการวางแผน จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 63 รองลงมาจำนวนในการท่องเที่ยวในแต่ละครั้งไม่มีการวางแผน 37 คนคิดเป็นร้อยละ 37
การตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 35 รองลงมา ตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล เพื่อน / ครอบครัว จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 20 รองลงมาตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล ความฝัน / แรงบันดาลใจ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12 รองลงมาตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล อื่นๆ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12 รองลงมาตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล แอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยว จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 11 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในการตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูลสื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสารท่องเที่ยว/แผ่นพับ/โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์) จำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 10
การหาข้อมูลในการวางแผนการท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 74 รองลงมาหาข้อมูลในการวางแผนการท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล เพื่อน / ครอบครัว จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 รองลงมาหาข้อมูลในการวางแผนการท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล สื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสารท่องเที่ยว/แผ่นพับ/โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์) จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8 รองลงมาหาข้อมูลในการวางแผนการท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล แอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยว จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในการหาข้อมูลในการวางแผนการท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ จำนวน 2 คนคิดเป็นร้อยละ 2
การเลือกใช้ แอพพลิเคชั่น จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 76 รองลงมาเป็นการเลือกใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 24 คนคิดเป็นร้อยละ 24
ความสะดวกต่อการใช้งาน แอพพลิเคชั่น จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 90 รองลงมาเป็นให้ความสะดวกต่อการใช้งาน สื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 10
การเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ ความสะดวกสบาย จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาในเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ ความน่าสนใจ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 16 รองลงมาในเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ มีรีวิวจากบุคคลอื่น จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 รองลงมาในเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ เนื้อหาง่ายต่อความเข้าใจ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8 รองลงมาในเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ มีข้อมูลครบถ้วน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4 รองลงมาในเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ ความสวยงาม จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในเลือกใช้แอพพลิเคชั่น อื่นๆ จำนวน 2 คนคิดเป็นร้อยละ 2
การเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพราะ มีข้อมูลที่ครบถ้วน จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาในเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพราะ พกพาง่าย จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 16 รองลงมาในเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพราะ ความน่าสนใจ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 14 รองลงมาในเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพราะ เนื้อหาง่ายต่อความเข้าใจ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12 รองลงมาในเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพราะ ความสวยงาม จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ จำนวน 8 คนคิดเป็นร้อยละ 8
การให้ข้อมูลได้ตามความต้องการต่อการใช้งานคือ แอพพลิเคชั่น จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 76 รองลงมาเป็นการให้ข้อมูลได้ตามความต้องการต่อการใช้งานคือ สื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 124 คนคิดเป็นร้อยละ 24
การเปรียบเทียบแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ สะดวกรวดเร็ว จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 68 รองลงมาคิดว่าปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ สามารถเข้าถึงได้กับทุกเพศทุกวัย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12 รองลงมาคิดว่าปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ ประหยัดค่าใช้จ่าย / ต่อการเดินทางไปซื้อ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 รองลงมาคิดว่าปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ ประหยัดเวลา จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ วางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้อย่างสบายจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4
ปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นอย่างไรเมื่อแอพพลิเคชั่นเข้ามามีบทบาทมากกว่า เป็นเพราะ คนเริ่มหันไปสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 38 รองลงมาคิดว่าปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นอย่างไรเมื่อแอพพลิเคชั่นเข้ามามีบทบาทมากกว่า เป็นเพราะ คนเริ่มอ่านสื่อสิ่งพิมพ์น้อยลง จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 36 รองลงมาคิดว่าปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นอย่างไรเมื่อแอพพลิเคชั่นเข้ามามีบทบาทมากกว่า เป็นเพราะ สื่อสิ่งพิมพ์จะหมดไป จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 20 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นอย่างไรเมื่อแอพพลิเคชั่นเข้ามามีบทบาทมากกว่า เป็นเพราะ สายตาเริ่มแย่ลงเนื่องจากจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของคุณมาจากแหล่ง อินเทอร์เน็ต จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 84 รองลงมาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของคุณมาจากแหล่ง คำบอกเล่าจากเพื่อน/ญาติ/คนรู้จัก จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของคุณมาจากแหล่ง โทรทัศน์ จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 42 รองลงมาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของคุณมาจากแหล่ง คำสื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสารการท่องเที่ยว/หนังสือพิมพ์/โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว) จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของคุณมาจากแหล่ง แอพพลิเคชั่น จำนวน 32 คนคิดเป็นร้อยละ 32 รองลงมาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของคุณมาจากแหล่งวิทยุ จำนวน 2 คนคิดเป็นร้อยละ 2
ทักษะหรือความรู้ในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น คือ อินเทอร์เน็ตไม่ควบคลุมทุกพื้นที่ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 62 รองลงมาขาดทักษะหรือความรู้ในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น คือ ภาในแอพพลิเคชั่นเป็นภาษาอื่นนอกเหนือจากภาไทย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 14 รองลงมาคิดขาดทักษะหรือความรู้ในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น คือ ขาดสมาร์ทโฟนที่ทันสมัย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12 รองลงมาขาดทักษะหรือความรู้ในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น คือ ขาดสมาร์ทโฟนที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าขาดทักษะหรือความรู้ในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น คือ สมาร์ทโฟนเล่นค่อนข้างยาก จำนวน 2 คน
สื่อสิ่งพิมพ์ยังมีบทบาท เป็นเพราะ ให้ข้อมูลครบถ้วน จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมาคิดว่าคิดว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีบทบาท เป็นเพราะ สะดวกหาซื้อง่าย/ราคาถูก จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 26 รองลงมาคิดว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีบทบาท เป็นเพราะ เข้าใจจ่าย จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 18 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีบทบาท เป็นเพราะ สะดวกรวดเร็วต่อการเข้าถึงข้อมูล จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10
ข้อมูลของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
เพศชายจำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาเป็นเพศหญิงจำนวน 42 คนคิดเป็นร้อยละ 42
การเดินทางท่องเที่ยวบ่อย 1-2 ครั้งต่อปี จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 80 รองลงมาเป็นการเดินทางท่องเที่ยวบ่อย 2-4 ครั้งต่อปี จำนวน 12 คนคิดเป็นร้อยละ 12 รองลงมาเป็นการเดินทางท่องเที่ยวบ่อย 1-2 ครั้งต่อ 6 เดือน จำนวน 8 คนคิดเป็นร้อยละ 8 รองลงมาเป็นการเดินทางท่องเที่ยวบ่อย 1-2 ครั้งต่อเดือน
การท่องเที่ยวในแต่ละครั้งมีการวางแผน จำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 88 รองลงมาจำนวนในการท่องเที่ยวในแต่ละครั้งไม่มีการวางแผน 12 คนคิดเป็นร้อยละ 12
การตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 56 รองลงมา ตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล แอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยว จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 14 รองลงมาตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล เพื่อน/ครอบครัว จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12 รองลงมาตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล สื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสารท่องเที่ยว/แผ่นพับ/โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์) จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12 รองลงมาตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล ความฝัน/แรงบันดาลใจ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6
การวางแผนการท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล แอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยว จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 52 รองลงมาหาข้อมูลในการวางแผนการท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 42 รองลงมาหาข้อมูลในการวางแผนการท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูล สื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสารท่องเที่ยว/แผ่นพับ/โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์) จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6
การเลือกใช้ แอพพลิเคชั่น จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 92 รองลงมาเป็นการเลือกใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 8 คนคิดเป็นร้อยละ 8
ความสะดวกต่อการใช้งาน แอพพลิเคชั่น จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 92 รองลงมาเป็นให้ความสะดวกต่อการใช้งาน สื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 8 คนคิดเป็นร้อยละ 8
การเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ ความสะดวกสบาย จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 36 รองลงมาในเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ มีข้อมูลที่ครบถ้วน จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 36 รองลงมาในเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ เนื้อหาง่ายต่อความเข้าใจ จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 18 รองลงมาในเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ ความน่าสนใจ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6 รองลงมาในเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ ความสวยงาม จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2 รองลงมาในเลือกใช้แอพพลิเคชั่นเพราะ มีรีวิวจากบุคคลอื่น จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2
การเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพราะ ความสวยงาม จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาในเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพราะ พกพาง่าย จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 28 รองลงมาในเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพราะ ความน่าสนใจ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 16 รองลงมาในเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพราะ มีข้อมูลที่ครบถ้วนจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6
การให้ข้อมูลได้ตามความต้องการต่อการใช้งานคือ แอพพลิเคชั่น จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 92 รองลงมาเป็นการให้ข้อมูลได้ตามความต้องการต่อการใช้งานคือ สื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 8 คนคิดเป็นร้อยละ 8
ปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ วางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้อย่างสบาย จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 26 รองลงมาคิดว่าปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ สามารถเข้าถึงได้กับทุกเพศทุกวัย จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 24 รองลงมาคิดว่าปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ ประหยัดค่าใช้จ่าย/ต่อการเดินทางไปซื้อ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 22 รองลงมาคิดว่าปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ สะดวกรวดเร็ว จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 20 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ ประหยัดเวลา จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8
ปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นอย่างไรเมื่อแอพพลิเคชั่นเข้ามามีบทบาทมากกว่า เป็นเพราะ คนเริ่มหันไปสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 54 รองลงมาคิดว่าปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นอย่างไรเมื่อแอพพลิเคชั่นเข้ามามีบทบาทมากกว่า เป็นเพราะ คนเริ่มอ่านสื่อสิ่งพิมพ์น้อยลง จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 26 รองลงมาคิดว่าปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นอย่างไรเมื่อแอพพลิเคชั่นเข้ามามีบทบาทมากกว่า เป็นเพราะ สื่อสิ่งพิมพ์จะหมดไป จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 20 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นอย่างไรเมื่อแอพพลิเคชั่นเข้ามามีบทบาทมากกว่า เป็นเพราะ สายตาเริ่มแย่ลงเนื่องจากจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ตามลำดับ
การศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของคุณมาจากแหล่ง แอพพลิเคชั่น จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 48 รองลงมาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของคุณมาจากแหล่ง อินเทอร์เน็ต จำนวน 40คน คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของคุณมาจากแหล่ง สื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสารการท่องเที่ยว/หนังสือพิมพ์/โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว) จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8 รองลงมาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของคุณมาจากแหล่ง คำบอกเล่าจากเพื่อน/ญาติ/คนรู้จัก จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4
ทักษะหรือความรู้ในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น คือ อินเทอร์เน็ตไม่ควบคลุมทุกพื้นที่ จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 74 รองลงมาขาดทักษะหรือความรู้ในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น คือ ขาดสมาร์ทโฟนที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 รองลงมาคิดขาดทักษะหรือความรู้ในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น คือ ขาดสมาร์ทโฟนที่ทันสมัย จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8 รองลงมาขาดทักษะหรือความรู้ในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น คือ สมาร์ทโฟนเล่นค่อนข้างยาก จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8
สื่อสิ่งพิมพ์ยังมีบทบาท เป็นเพราะ สะดวกหาซื้อง่าย / ราคาถูก จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 92 รองลงมาคิดว่าคิดว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีบทบาท เป็นเพราะ ให้ข้อมูลครบถ้วน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4 รองลงมาคิดว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีบทบาท เป็นเพราะ เข้าใจจ่าย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4
อภิปรายผลการศึกษา
นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่การเดินทางท่องเที่ยวบ่อย 1-2 ครั้งต่อ 6 เดือน จากกลุ่มตัวอย่าง 100 คน มี จำนวน 32 ในส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติการเดินทางท่องเที่ยวบ่อย 1-2 ครั้งต่อปี จำนวน 80 คน ซึ่งมีการท่องเที่ยวมากกว่าชาวไทย เช่นเดียวกับการวางแผนการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีการวางแผนมากว่านักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 88 คน ในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวไทยมีการวางแผนจำนวน 63 คน จากกลุ่มตัวอย่าง 100 คน
และในการตัดสินใจท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมีการใช้สื่อทางอินเทอร์เน็ตในการวางแผนในการท่องเที่ยวและนิยมใช้แอพพลิเคชั่นมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยให้เหตุผลการเลือกใช้เพราะความสะดวกต่อการใช้งาน ความสะดวกต่อการใช้งาน ความสะดวกสบาย ส่วนการเลือกสื่อสิ่งพิมพ์เพราะพกพาง่าย
และเมื่อให้แสดงความคิดเห็นในการเปรียบเทียบแอพพลิเคชั่นมีบทบาทมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเพราะ สะดวกรวดเร็ว สามารถเข้าถึงได้กับทุกเพศทุกวัย ประหยัดค่าใช้จ่าย / ต่อการเดินทางไปซื้อ วางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้อย่างสบาย
ปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นอย่างไรเมื่อแอพพลิเคชั่นเข้ามามีบทบาทมากกว่า เป็นเพราะ คนเริ่มหันไปสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น คนเริ่มอ่านสื่อสิ่งพิมพ์น้อยลง สื่อสิ่งพิมพ์จะหมดไป แต่ให้ความเห็นว่าการใช้แอพพลิเคชั่นอาจส่งผลกับสายตาเริ่มแย่ลงเนื่องจากจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน และการใช้แอพพลิเคชั่นต้องทักษะและความรู้ในการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น และปัญหาของอินเทอร์เน็ตไม่ควบคลุมทุกพื้นที่ ภาษาอื่นนอกเหนือจากภาไทย ขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัย และเห็นว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีบทบาท เป็นเพราะ ให้ข้อมูลครบถ้วน สะดวกหาซื้อง่าย/ราคาถูก เข้าใจจ่าย สะดวกรวดเร็วต่อการเข้าถึงข้อมูล
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
- ในการศึกษาพบว่าแนวโน้มของการใช้สื่อในรูปของแอพพลิเคชั่นมีมากขึ้นทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ดังนั้นเจ้าของสถานที่ท่องเที่ยว ผู้ริหารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวควรมีการศึกษารูปแบบของแอพพลิเคชั่นที่จะทำให้ส่งเสริมการท่อเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
- ในการศึกษายังพบว่า สิ่งพิมพ์ยังมีบทบาท ที่สามารถเข้าถึงและพกพาได้สะดวก และยังใช้ได้ในสถานที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต ดังนั้นผู้บริหาร เจ้าของสถานประกอบการจึงควรผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทีอินเทอร์เน็ตเข้าไปไม่ถึง
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
- ควรมีการศึกษาถึงรูปแบบของแอพพลิเคชั่นที่จะเพิ่มความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและเพิ่มภาษาที่ใช้หรือมีการโปรแกรมในการแปลภาษาบนแอพพลิเคชั่นเพื่อการท่องเที่ยว
- ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบสื่ออื่นที่สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ