The Development of Video Program for The Deaf in Lotus Cultivation
ผู้วิจัย นายยุวยง อนุมานราชธน
งบประมาณปี 2557
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนจากรายการวิดีทัศน์ เพื่อการศึกษาที่มีการบรรยายด้วยภาษามือ สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน เรื่องความรู้เกี่ยวกับการปลูกบัว
- เพื่อใช้เป็นสื่อเพื่อเผยแพร่ในสถานีโทรทัศน์ U22 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ใช่เป็นสื่อการสอนสาหรับผู้พิการทางการได้ยินและบุคคลทั่วไป
- สามารให้ผู้พิการทางการได้ยินสามารถปลูกบัวได้
สมมุติฐาน
การสอนผู้เรียนด้วยรายการวิดีทัศน์ เพื่อการศึกษาที่ใช้ภาษามือสาหรับผู้พิการทางการได้ยิน ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกัน
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีการผลิตวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาเนื้อหาในการสอน เรื่องการปลูกบัวและขยายพันธุ์
กลุ่มประชากร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เรียนจากรายการวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาที่มีผู้บรรยายเป็นภาษามือ ได้แก่ นักศึกษาผู้พิการทางการได้ยิน จากโรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร มัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 24 คน
ตัวแปรที่จะศึกษา
- ตัวแปรต้น
รายการวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาที่บรรยายด้วยภาษามือ
- ตัวแปรตาม
ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนด้วยรายการวิดีทัศน์ เพื่อการศึกษาปกติกับใช้การบรรยายด้วยภาษามือ ในการสอนเนื้อหาเรื่องความรู้เกี่ยวกับการปลูกบัว
นิยามศัพท์เฉพาะ
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากกลุ่มทดลองที่ได้จาการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนด้วยรายการวิดีทัศน์
- รายการวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา หมายถึง รายการวิดีทัศน์เพื่อประกอบการสอนที่ผู้วิจัยทำการบันทึกภาพและทาบทบรรยายภาษามือ ในเนื้อหาเรื่องความรู้เกี่ยวกับการปลูกบัว
- รายการวิดีทัศน์ที่ใช้เสียงบรรยายปกติ หมายถึง คำบรรยายเนื้อหาของรายการวิดีทัศน์ ในลักษณะร้อยแก้ว โดยผู้บรรยายสาหรับใช้เป็นฐานข้อมูลแก่บุคคลทั่วไป
- การบรรยายด้วยภาษามือ หมายถึง คำบรรยายรายการวิดีทัศน์ในลักษณะการใช้ภาษามือใต้กรอบภาพด้านล่างทางขวามือของรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
- กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ นักศึกษา ผู้พิการทางการได้ยิน จากโรงเรียนเศรฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เขียน เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกบัว
ประโยชน์ของการวิจัย
- เป็นข้อมูลในการใช้การบรรยายภาษามือ เพื่อประกอบรายการวิดีทัศน์ สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
- เป็นแนวทางในการเลือกใช้รูปแบบการบรรยายที่เหมาะสม สำหรับคนปกติและผู้บกพร่องทางการได้ยิน
- เป็นฐานข้อมูลสาหรับเผยแพร่ เรื่อง การปลูกและขยายพันธุ์บัว
- ใช้เป็นสื่อประกอบการบรรยายให้แก่ผู้เยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์บัว ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สรุปการวิจัย อภิปราย และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รายการวิดีทัศน์ เพื่อการศึกษาที่มีบรรยายโดยใช้ภาษามือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้วิจัย ได้สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ดังนี้
สรุปการวิจัย
1.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการเรียนจากรายการวิดีทัศน์ ที่ใช้การบรรยายด้วยภาษามือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
1.2 วิธีดำเนินการวิจัย
1.2.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์กรุงเทพมหานคร จำนวน 24 คน ในภาคการศึกษาที่ 2/2557 โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด
1.2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รายการวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาแห่งความรู้เกี่ยวกับการปลูกบัว
1.2.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องความรู้เกี่ยวกับการปลูกบัว ก่อนเรียนและหลังเรียนฉบับละ 30 ข้อ
1.2.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังต่อไปนี้
- ทดสอบก่อนเรียนกับประชากรทั้งหมด ด้วยแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนและบันทึกผลการสอบไว้ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
- ดำเนินการทดสอบโดยให้ผู้เรียน เรียนจากรายการวิดีทัศน์ ความยาว 28 นาที
- เมื่อสิ้นสุดการทดสอบได้ดำเนินการทดสอบหลังเรียน กับกลุ่มประชากรทั้งหมด ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการตรวจคำตอบและบันทึกผลเพื่อนำไป วิเคราะห์ข้อมูล
1.2.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการใช้รายการวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาที่บรรยายด้วยภาษามือ โดยการใช้ค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ผล
1.3 ผลการวิจัย
ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากรายการวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาที่ใช้การบรรยายด้วยภาษามือ เป็นการสื่อการเรียนการสอนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อภิปรายผล
จากผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่รับการสอนโดยเรียนจากรายการวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาทีมีการบรรยายด้วยภาษามือ มีความเข้าใจสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับ กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 43) ที่กล่าวไว้ว่าภาพเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับภาษาพูดแลภาษาเขียน เนื่องจากสามารถใช้ในการสื่อสารและสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี และมีความเป็นรูปธรรมที่สามารถอธิบายความหมายได้ในตัวเอง หรือ ช่วยอธิบายประกอบสิ่งที่เป็นนามธรรมให้กระจ่างชัดดียิ่งขึ้นด้วย
ทั้งนี้ จากการสังเกตระหว่างทำการสอนด้วยรายการวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาพบว่านักเรียนมีความสนใจ รายการวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาเป็นอย่างดี แสดงให้เห็นว่าการบรรยายด้วยภาษามือ ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ข้อสังเกตว่าเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน สามารถที่จะเรียนรู้ได้เท่ากับ คนส่วนใหญ่ที่มีประสาทรับรู้ได้ยินโดยทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับ มยุรา มณีวงค์ (2548 : 42) เนื่องจากการเรียนของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน ต้องใช้ประสาทตาเป็นส่วนใหญ่ในการรับรู้ ดังนั้น การใช้สื่อการสอนที่มีภาพภาษามือประกอบ จึงเป็นสิ่งที่สาคัญอย่างยิ่ง เพราะภาพภาษามือ จะเป็นตัวเชื่อมโยง ระหว่างภาษาและความหมายของคำและภาษา ซึ่งจะเป็นส่วนที่สาคัญที่นักการศึกษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องด้านความบกพร่องทางการได้ยินต้องช่วยกันพัฒนาสื่อการสอนที่มีคำบรรยายด้วยภาษามือ ให้มีประสิทธิภาพและมีมากขึ้น และมีความเหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของเด็ก ตามสภาพความเป็นจริง
ทั้งนี้ ความยาวของรายการวิดีทัศน์ที่มีเนื้อหาจัดทำมากเกินไป อาจทำให้ความสนใจของผู้ชมที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ลดลงด้วยเนื้อหาที่มาก ควรมีรายการวิดีทัศน์ให้เป็นตอน จะทำให้ความสนใจของผู้ชมที่บกพร่องทางการได้ยิน มีสมาธิและมีความจาเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผู้บกพร่องทางการได้ยิน ต้องอาศัยประสาทการเรียนรู้ด้วยตาเป็นหลักอาจทำให้มีความเหนื่อยล้าจากาการใช้ประสาทตามากจนเกินไป
เนื่องจากผู้บกพร่องทางการได้ยิน ยังขาดทักษะในด้านการอ่าน ทำให้การทำแบบทดสอบมีอุปสรรค การทำความเข้าใจข้อคำถาม ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามือแปลคำถาม นักเรียนจึงจะสามารถเข้าใจได้