EXPOSURE AND SATISFACTION TOWARD TV DIGITAL OF AUDIENCE IN PARTHUMTANI

ผู้วิจัย วิษณุพร อรุณลักษณ์

ปีงบประมาณ  2558


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อทราบพฤติกรรมทั่วไปในการชมรายการโทรทัศน์ผ่านทางทีวีดิจิทัลของผู้ชมในจังหวัดปทุมธานี 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมจังหวัดปทุมธานีในการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านทางทีวีดิจิทัล

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยเลือกศึกษาจากประชากรในจังหวัดปทุมธานี ที่รับชมรายการโทรทัศน์ผ่านระบบทีวีดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากประชากร ตำบลบางโพธิ์เหนือ ตำบลคูบางหลวง ตำบลลาลูกกา ตำบลสวนพริกไทย ตำบลหนองสามวัง ตำบลบางกระบือ ตำบลบางพูด ตำบลบางกะดี ตำบลระแหง ตำบลท้ายเกาะ ตำบลบางเตย ตำบลพืชอุดม ตำบลละ 100 คน รวมเป็น 1,200 คน โดยใช้เครื่องมือในการสำรวจเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อการรับชมทีวีดิจิทัล

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อการรับชมทีวีดิจิทัลของผู้ชมในจังหวัดปทุมธานีของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงระบบการออกอากาศเป็นทีวีดิจิทัล พบว่าในภาพรวมส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถาม มีผลคะแนนในระดับความพึงพอใจมาก ( x = 3.73, S.D. =1.12)


วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อทราบพฤติกรรมทั่วไปในการชมรายการโทรทัศน์ผ่านทางทีวีดิจิทัลของผู้ชมในจังหวัดปทุมธานี
  2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมจังหวัดปทุมธานีในการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านทางทีวีดิจิทัล 3

ขอบเขตการวิจัย

  1. การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกศึกษาจากประชากรในจังหวัดปทุมธานี ที่รับชมรายการโทรทัศน์ผ่านระบบทีวีดิจิทัล
  2. กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก จากประชากร ตำบลบางโพธิ์เหนือ ตำบลคูบางหลวง ตำบลลำลูกกา ตำบลสวนพริกไทย ตำบลหนองสามวัง ตำบลบางกระบือ ตำบลบางพูด ตำบลบางกะดี ตำบลระแหง ตำบลท้ายเกาะ ตำบลบางเตย ตำบลพืชอุดม ตำบลละ 100 คน รวมเป็น 1,200 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. ทีวีดิจิทัล (TV Digital)หมายถึงระบบออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล
  2. ผู้ชมหมายถึงผู้ที่รับชมรายการโทรทัศน์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เป็นแนวทางในการพัฒนาการออกอากาศทางโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ชมและผู้ให้บริการ
  2. โทรทัศน์ในระบบดิจิทัลที่เข้าถึงผู้ใช้บริการทุกกลุมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ชม
  3. เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบรายการให้สอดคล้องกับระบบออกอากาศทีวีดิจิทัล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

แบบสอบถาม (Questionnaire) เนื้อหาดังนี้

  1. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา
  2. ข้อมูลการเปิดรับและความพึงพอใจการรับชมโทรทัศน์ผ่านระบบทีวีดิจิทัล

ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีรูปแบบและขั้นตอนในการดำเนิน การวิจัยดังนี้

  1. นำแบบสอบถามไปสำรวจตามสถานที่ที่ได้กาหนดไว้
  2. เก็บข้อมูลความพึงพอใจต่อการรับชมทีวีดิจิทัล
  3. รวบรวมข้อมูลทั้งหมดและวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ
  4. สรุปผลการวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูล โดยการประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้สถิติ วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป นำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าความถี่และร้อยละ

ส่วนที่ 2 วิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการรับชมทีวีดิจิทัล


สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) เรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับและความ พึงพอใจต่อการรับชมทีวีดิจิทัลของผู้ชมในจังหวัดปทุมธานี สามารถสรุปผลวิจัยได้ดังนี้

สรุปผล

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อการรับชมทีวีดิจิทัลของผู้ชมในจังหวัดปทุมธานีที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงระบบการออกอากาศเป็นทีวีดิจิทัลพบว่าโดยภาพรวมส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามมีผลคะแนนในระดับความพึงพอใจมาก

อภิปรายผล

อิทธิพลในการรับชมรายการโทรทัศน์ มาจากพฤติกรรมในการปรับเปลี่ยนของคนในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งยังไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ ๆ โดยผู้ชมดูยังคงยึดติดการดูช่องหลักเหมือนเดิม แต่การที่เลือกดูผ่านทีวีระบบดิจิทัลทำให้ได้รับชมรายการทางโทรทัศน์ที่มีความคมชัดมากขึ้นกว่าเดิม ถึงแม้จะมีช่องรายการเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมแต่หลัก ๆ ก็คือ ยังดูช่องหลักอยู่ตามปกติอย่างไรก็ตามบุคคลแต่ละคนก็จะมีเกณฑ์ในการเลือกรับข่าวสารที่แตกต่างกันตามลักษณะส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในสังคมนั้น ๆ และวัตถุประสงค์หรือความต้องการที่จะเปิดรับข่าวสารของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันย่อมทำให้มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่แตกต่างกันได้ด้วย เมื่อได้ลงพื้นที่สารวจความคิดเห็นของประชากร ในจังหวัดปทุมธานี เกี่ยวกับความพึงพอใจในการรับชมระบบทีวีดิจิทัล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความ พึงพอใจมากในการเปลี่ยนจากระบบอนาล็อกเป็นระบบดิจิทัล เพราะทีวีดิจิทัลมีคุณภาพในการรับชมทั้งภาพและเสียงที่คมชัด อีกทั้งยังมีช่องเพิ่มมากขึ้นทำให้ประชาชนสามารถรับชมได้ถึงจำนวน 48 ช่อง โดยรับชมผ่านกล่องสัญญาณ Set Top Box  ที่ทาง กสทช. ได้แจกคูปองให้กับประชาชน หรือทางโทรทัศน์รุ่นใหม่ ๆ ที่มีภาครับระบบดิจิทัลมาในตัว โดยประชาชนส่วนใหญ่มีการติดตามรับฟังข่าวสารอยู่ในอยู่เสมอ มีความเข้าใจในข้อมูลที่ทาง กสทช.ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับทีวีดิจิทัล ข่าวสารจึงเป็นปัจจัยสาคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ความต้องการข่าวสารจะเพิ่มมาก ขึ้นเมื่อบุคคลนั้นต้องการข้อมูลในการตัดสินใจหรือไม่แน่ใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นอกจากนั้นข่าวสารยัง เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เปิดรับมีความทันสมัย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของโลกปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น หากมีหน่วยงานภาครัฐ หรือมีเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ คำแนะนำมากขึ้นจะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจในเรื่องของอุปกรณ์ ระบบทีวีดิจิทัลรวมไปถึง วิธีการใช้งานของกล่อง  Set Top Box เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับการปิดระบบออกอากาศแบบอนาล็อกในอนาคต

ข้อเสนอแนะ

  1. การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ทาการสุ่มตัวอย่างเฉพาะประชาชนในจังหวัดปทุมธานีเท่านั้น ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปจึงควรศึกษาให้กว้างขึ้นโดยครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศเพื่อให้เห็นภาพโดยรวม และเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างพื้นที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการนาข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาทีวีดิจิทัลระดับประเทศได้
  2. ควรมีการศึกษาข้อมูลอื่น เช่น การรู้เท่าทันสื่อ การวิเคราะห์ผู้รับสาร ทัศนคติ แรงจูงใจ ความรู้ความเข้าใจ การเรียนรู้ข่าวสาร เป็นต้น เพื่อทำให้งานวิจัยมีความน่าสนใจขึ้น และมีผลวิจัยที่มีข้อมูลต่อการพัฒนาระบบทีวีดิจิทัล
  3. ควรมีการศึกษาในเรื่องปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบทีวีดิจิทัลในประเทศไทย เพื่อให้หน่วยงานรัฐบาล กสทช. สามารถนำข้อมูลจากการวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาได้อย่างดี