The development of creative writing ability for primary education 6 students based on scaffolding with motivation of thinking question and mind mapping methods

โดย จักรพันธ์ สีหานาถ

ปี 2559


 บทคัดย่อ 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเสริมศักยภาพการเรียน ด้วยเทคนิคการใช้คำถามแบบกระตุ้นให้คิดและแผนผังความคิดของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเครือข่ายบึงสัมพันธ์อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 10 โรงเรียน จำนวน 102 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 21 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเสริมศักยภาพการเรียนด้วยเทคนิคการใช้คาถามแบบกระตุ้นให้คิดและแผนผังความคิด แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติแบบประเมินความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทย และแบบบันทึกภาคสนาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มทดลองมีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้


Abstract

This objectives of this research were to 1) compare the ability of creative writing of the primary education 6 students in the experimental group and the control group before and after the lesson, and 2) compare the attitudes of the primary education 6 students in the experimental group and the control group before and after the creative writing lesson.

The population was 102 primary education 6 students studying in the 1st semester of academic year 2016 from 10 schools of Bung Sampan Association, Nong Sue District, Pathumtani under the Pathumtani Primary Educational Service Area Office 2. The sample were obtained by cluster random sampling, and divided into 2 groups comprised of 21 students for the experimental group and another 21 students for the control group. The research instruments were the scaffolding with motivate thinking question and mind mapping methods, an usual lesson plan, a creative writing test, a questionnaire of students’ attitudes towards Thai teaching method, and a field note. The statistics used for analyzing data were the average, the standard deviation and t–test Independent.

The result showed that: 1) the statistical ability of creative writing of the experimental group was higher than the control group with a statistical significance at the .05 level which was consistent with the hypothesis; and 2) the experimental group had better attitudes towards the Thai subject than the control group with a statistical significance at the .05 level which was consistent with the hypothesis.

 

Downloadการพัฒนาความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดการเสริมศักยภาพการเรียนด้วยเทคนิคการใช้คำถามแบบกระตุ้นให้คิดและแผนผังความคิด