The use of Web Blogs in teaching Multimedia Technology course of Students in Faculty Mass Communication Technology 

นักวิจัย อุกฤษ  ณ สงขลา

ปีที่จัดพิมพ์ 2555


บทคัดย่อ (Abstract) 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการใช้เว็บบล็อกในการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการใช้เว็บบล็อกในการเรียนการสอนวิชา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สาขาละ 30 คน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายนักศึกษามีวัตถุประสงค์ในการใช้งานเว็บบล็อกจะใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยเลือกใช้งาน facebook เป็นอันดับแรก มีการใช้งานเว็บบล็อก 5-6 วันต่อสัปดาห์ วันละ 3-4 ชั่วโมงในช่วงเวลา18.01 น. – 24.00 น. สถานที่ที่ใช้งานเว็บบล็อกโดยส่วนใหญ่จะใช้งานที่มหาวิทยาลัยและที่บ้าน กิจกรรมในระหว่างการใช้งานเว็บบล็อกส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารและของว่าง

ผลกระทบด้านพฤติกรรมที่ได้จากการใช้เว็บบล็อกอยู่ในเกณฑ์ดีมาก  ผลกระทบด้านการเรียนรู้ เว็บบล็อกช่วยเพิ่มพูนความรู้ด้านต่าง ๆ เพิ่มช่องทางในการรับส่งข้อมูลกับเพื่อน เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดความสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการเรียน

ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรมจากการใช้เว็บบล็อกอยู่ในเกณฑ์มาก มีความสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการเรียน ทำให้ได้รู้จักรูปแบบการสื่อสารแบบใหม่ ทำให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร  ผลกระทบด้านร่างกายและจิตใจ จากการใช้เว็บล็อกอยู่ในเกณฑ์มาก รู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน รู้สึกปวดตาเมื่อใช้งานมากเกินไป ทำให้ไม่มีเวลาออกกาลังกาย

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจช่วยให้ประหยัดค่าเดินทางในการค้นหาข้อมูล ผลกระทบด้านสังคมวัฒนธรรมจากการใช้เว็บบล็อกมีผลต่อนักศึกษามากที่สุด

จากผลการวิจัยที่พบว่าการนำเว็บบล็อก มาใช้ในการเรียนการสอนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในวิชาที่เรียนมากขึ้นและมีพัฒนาการในด้านการเขียนเพิ่มขึ้นด้วย อีกทั้งการเขียนในเว็บบล็อกจะเป็นตัวกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเขียนแก่ผู้เรียนอีกทางหนึ่ง อีกทั้งเพื่อนร่วมชั้นเรียนยังสามารถแสดงความคิดเห็นในการเขียนของนักศึกษาผ่านเว็บบล็อก ซึ่งส่งเสริมให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์และสามารถพัฒนาการเขียนมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว การเรียนการสอนแบบใช้เว็บบล็อกจึงส่งผลให้นักศึกษามีพฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ถือว่าเว็บบล็อก มีความเหมาะสมกับวิธีเรียนรู้ของผู้เรียน


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาการใช้เว็บบล็อกในการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการใช้เว็บบล็อกในการเรียนการสอนวิชา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ขอบเขตของการวิจัย

  1. ประชากร
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. กลุ่มตัวอย่าง
    กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สาขาละ 30 คน
  3. ตัวแปรที่ศึกษา
    ตัวแปรอิสระ คือ การใช้เว็บบล็อกในการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
    ตัวแปรตาม คือ ข้อดี ข้อเสีย ปัญหาและอุปสรรคการใช้เว็บบล็อกในการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. เว็บบล็อก (Weblog) หมายถึง เว็บไซต์สำหรับเขียนบันทึกเล่าเรื่องราวประจำวันเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิด มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร ในเรื่องที่ผู้เขียนท่านหนึ่ง ๆ (Blogger) สนใจโดยเฉพาะ ผู้เขียนได้มีโอกาสคิดทบทวน ประสบการณ์ ทำความเข้าใจ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เกิดการรวบรวมความรู้ ความคิด และประสบการณ์ไว้เป็นระบบง่ายในการค้นหา ทบทวน ความคิดที่ผู้เรียนแสดงไว้จะเป็นทั้งประโยชน์แก่ผู้เรียนและเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันได้ต่อไป
  2. มัลติพลาย หมายถึง เว็บไซต์ multiply.com เป็นเว็บบล็อกที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดาผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นเป็นศูนย์กลางของการแสดงภาพ การวิจารณ์ แนะนำ ติ ชม แลกเปลี่ยนความรู้ทัศนคติเกี่ยวกับถ่ายภาพที่เป็นประโยชน์อย่างมากมาย
  3. ข้อดี ข้อเสีย หมายถึง ข้อดีและข้อเสียของการนำเว็บบล็อกมัลติพลายมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
  4. ปัญหาและอุปสรรค หมายถึง ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการนำเว็บบล็อกมัลติพลายมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ได้แนวทางในพัฒนาปรับปรุงวิธีการจัดเรียนการสอนให้มีคุณภาพโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครือข่ายสังคมออนไลน์และสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


สรุปการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากผลการวิจัยสรุปว่า วัตถุประสงค์ในการใช้งาน เว็บล็อกของนักศึกษาส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยเลือกใช้งาน facebook เป็นอันดับแรกมีการใช้งานเว็บล็อก 5-6 วันต่อสัปดาห์ วันละ 3-4 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 18.01 น. – 24.00 น. สถานที่ที่ใช้งานเว็บล็อกโดยส่วนใหญ่จะใช้งานที่มหาวิทยาลัย และที่บ้าน กิจกรรมในระหว่างการใช้งานเว็บล็อกส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารและของว่าง

ผลกระทบด้านพฤติกรรมที่ได้จากการใช้เว็บล็อกอยู่ในเกณฑ์ดีมาก    ผลกระทบด้านการเรียนรู้ เว็บล็อกช่วยเพิ่มพูนความรู้ด้านต่าง ๆ เพิ่มช่องทางในการรับส่งข้อมูลกับเพื่อนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองเกิดความสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการเรียน

ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรมจากการใช้เว็บล็อกอยู่ในเกณฑ์มาก มีความสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการเรียน ทำให้ได้รู้จักรูปแบบการสื่อสารแบบใหม่ ทำให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร ผลกระทบด้านร่างกายและจิตใจจากการใช้เว็บล็อกอยู่ในเกณฑ์มาก รู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน รู้สึกปวดตาเมื่อใช้งานมากเกินไป ทำให้ไม่มีเวลาออกกำลังกาย

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ช่วยให้ประหยัดค่าเดินทางในการค้นหาข้อมูลผลกระทบด้านสังคมวัฒนธรรมจากการใช้เว็บล็อกมีผลต่อนักศึกษามากที่สุด

อภิปราย

จากผลการวิจัยที่พบว่าการนำเว็บล็อก มาใช้ในการเรียนการสอนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในวิชาที่เรียนมากขึ้น และมีพัฒนาการในด้านการเขียนเพิ่มขึ้นด้วย โดยเว็บบล็อกเป็นเหมือนข้อมูลย้อนกลับในการเขียนของตนที่เพื่อนสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นหรือเสนอความคิดในรูปแบบอื่นผ่านช่องแสดงความคิดเห็น อีกทั้งการเขียนในเว็บบล็อกจะเป็นตัวกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเขียนแก่ผู้เรียนอีกทางหนึ่ง อีกทั้งเพื่อนร่วมชั้นเรียนยังสามารถแสดงความคิดเห็นในการเขียนของนักศึกษาผ่านเว็บล็อก ซึ่งส่งเสริมให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์และสามารถพัฒนาการเขียนมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว การเรียนการสอนแบบใช้เว็บล็อกจึงส่งผลให้นักศึกษามีพฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดีขึ้นถือว่าเว็บล็อกมีความเหมาะสมกับวิธีเรียนรู้ของผู้เรียนและเว็บล็อก ก็คือ เครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและมีศักยภาพในการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอน การจัดการความรู้และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรมีการศึกษาการใช้แนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการและการใช้เว็บบล็อกกับรายวิชาอื่นที่แตกต่างกัน
  2. ควรมีการศึกษาว่า ณ เวลานั้นรูปแบบสื่อออนไลน์ใดเป็นที่นิยม เช่น Google+, Foursquare, Bloger เป็นต้น แล้วเลือกนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอนและสิ่งสำคัญผู้วิจัยหรือผู้สอนต้องมีความชำนาญในการใช้เว็บบล็อกที่เลือกมาด้วย