POSTER  DESIGN FOR THE CAMPAIGN CLOTHES OF STUDENT AT RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY THANYABURI 

ผู้วิจัย วิภูษิต เพียรการค้า

ปีที่พิมพ์ 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยนี้ได้ทำศึกษาการแต่งกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเพื่อรับรู้ถึงสภาพปัญหาของนักศึกษาที่แต่งกายผิดระเบียบ และทำการออกแบบเรขศิลป์เพื่อรณรงค์การแต่งกายให้ถูกระเบียบของนักศึกษาจำนวน 4 แบบ อีกทั้งมีการประเมินคุณภาพของโปสเตอร์เพื่อรณรงค์การแต่งกายให้ถูกระเบียบของนักศึกษา โดยสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยถึงพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษาทั้งหมดจำนวน 730 คน เป็นเพศชายจำนวน 275 คน คิดเป็นร้อยละ 37.67 และ เป็นเพศหญิง 455 คน คิดเป็นร้อยละ 62.33 ผู้ตอบแบบสำรวจทั้ง 730 คน มีความเห็นว่านักศึกษาหญิงแต่งกายผิดระเบียบมากกว่าเพศชาย นักศึกษาหญิงแต่งกายผิดระเบียบจำนวน 385 คน คิดเป็นร้อยละ 52.74 และนักศึกษาชายแต่งการผิดระเบียบจำนวน 345 คน คิดเป็นร้อยละ 47.26 ผลการสำรวจพบว่าสิ่งที่นักศึกษาชายแต่งตัวผิดระเบียบมากที่สุด คือ เสื้อคิดเป็นร้อยละ 37.62 รองลงมา คือ กางเกง เข็มขัด คิดเป็นร้อยละ 34.02, 17.23 ตามลำดับ ส่วนนักศึกษาหญิงสิ่งที่แต่งตัวผิดระเบียบมากที่สุด คือ กระโปรงคิดเป็นร้อยละ 36.80 รองลงมา คือ เสื้อ และเข็มขัด คิดเป็นร้อยละ 35.82, 11.73 ตามลำดับ ผลการสำรวจสาเหตุที่นักศึกษาแต่งกายไม่ถูกระเบียบพบว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากนักศึกษาใส่แล้วรู้สึกว่าดูดีกว่าการแต่งกายถูกระเบียบ คิดเป็นร้อยละ 23.97 รองลงมา คือ สามารถสร้างความสนใจกับเพื่อนต่างเพศได้ และการแต่งตามเพื่อนในกลุ่มคิดเป็นร้อยละ 20.54, 18.08 ตามลำดับ ผลการประเมินคุณภาพของโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์การแต่งกายให้ถูกระเบียบของนักศึกษาสำหรับผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 แบบ จากคะแนนประเมินคุณภาพของโปสเตอร์ของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน พบว่าคุณภาพโปสเตอร์อยู่ในระดับดีทั้ง 4 แบบ โดยแบบที่ 2 จะมีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมสูงที่สุดเท่ากับ 4.10

คำสำคัญ : การออกแบบเรขศิลป์, โปสเตอร์, รณรงค์การแต่งกาย


วัตถปุระสงค์การวิจัย

  1. ศึกษาการแต่งกายในปัจจุบันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเพื่อรับรู้ถึงสภาพ ปัญหาของนักศึกษาที่แต่งกายผิดระเบียบ
  2. ออกแบบเรขศิลป์ เพื่อรณรงค์การแต่งกายให้ถูกระเบียบของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  3. การประเมินผลการออกแบบเรขศิลป์ เพื่อรณรงค์การแต่งกายให้ถูกระเบียบของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ขอบเขตของโครงการวิจัย

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาการแต่งกายในปัจจุบันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเพื่อรับรู้ถึงสภาพปัญหาของนักศึกษาที่แต่งกายผิดระเบียบ  และนำผลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์การรณรงค์การแต่งกายให้ถูกระเบียบของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ขนาดโปสเตอร์ขนาด A3 จำนวน 4 แบบ จัดทำทั้งหมด 30 ชุด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ข้อมูลการแต่งกายของนักศึกษามาวางแผนออกแบบและพัฒนาปรับปรุงสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการรณรงค์การแต่งกายให้ถูกระเบียบของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย
  2. ได้รูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับการณรงค์การแต่งกายที่ถูกระเบียบของนักศึกษาที่ตอบสนองความต้องการภายในมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี

 นิยามศัพทเ์ฉพาะ

  1. การออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design) หมายถึง การสร้างสรรค์ความคิดที่จะสามารถสื่อสารข้อมูลที่ต้องการโดยอาศัยการแสดงออกผ่านตัวอักษรและ/หรือภาพลงบนพื้นที่ว่าง (space) เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนดึงดูดความสนใจ เมื่อพบเห็นแล้วเกิดความประทับใจหรือจดจำได้
  2. โปสเตอร์ (Poster) หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ที่สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้สะดวกกว้างขวาง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกพื้นที่ และสามารถจูงใจได้
  3. รณรงค์ (Campaign) หมายถึง วิธีการใช้สื่ออย่างต่อเนื่อง และยาวนานพอควรโดยมีแผนอย่างรัดกุม เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
  4. การแต่งกายให้ถูกระเบียบ หมายถึงการแต่งกายในชุดนักศึกษาถูกต้องตามระเบียบการแต่งกายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  5. นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หมายถึงนักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558

 สรปุผลการศึกษา

ผลการสำรวจพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจาก อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา จำนวน 730 คน พบว่านักศึกษาเพศหญิงมีการแต่งกายผิดระเบียบของมหาวิทยาลัยมากกว่าเพศชาย โดยมีความเห็นว่านักศึกษาหญิงแต่งกายผิดระเบียบจจำนวน 385 คน คิดเป็น ร้อยละ 52.74 และนักศึกษาชายแต่งการผิดระเบียบจำนวน 345 คน คิดเป็นร้อยละ 52.74 ดังตารางที่ 4.1.2

ผลการสำรวจพบว่าสิ่งที่นักศึกษาชายแต่งตัวผิดระเบียบมากที่สุด คือ เสื้อคิดเป็นร้อยละ 37.62 รองลงมา คือ กางเกง เข็มขัด คิดเป็นร้อยละ 34.02, 17.23 ตามลำดับ ส่วนนักศึกษาหญิงสิ่งที่แต่งตัวผิดระเบียบมากที่สุด คือ กระโปรงคิดเป็นร้อยละ 36.80 รองลงมา คือ เสื้อ และเข็มขัด คิดเป็นร้อยละ 35.82, 11.73 ตามลำดับ และผลการสำรวจสาเหตุที่นักศึกษาแต่งกายไม่ถูกระเบียบพบว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากนักศึกษาใส่ แล้วรู้สึกว่าดูดีกว่าการแต่งกายถูกระเบียบ คิดเป็นร้อยละ 23.97

ผลการสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อนักศึกษาที่แต่งกายไม่ถูกระเบียบพบว่าเห็นควรให้ทางมหาวิทยาลัยกวดขันมากกว่านี้ จำนวน 378 คน คิดเป็นร้อยละ 51.78

 ผลการประเมินคุณภาพของโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์การแต่งกายให้ถูกระเบียบของนักศึกษาสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 4 แบบ จากคะแนนประเมินคุณภาพของโปสเตอร์ของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน พบว่าคุณภาพ โปสเตอร์อยู่ในระดับดีทั้ง 4 แบบ โดยแบบที่ 2 จะมีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมสูงที่สุดเท่ากับ 4.10

 

 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของผู้เชียวชาญ 

  1. เสนอแนะให้นำบุคคลที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเช่น นักกีฬา นักแสดง มาเป็น presenter การแต่งกายเพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษาให้มากขึ้น
  2. อาจทำโปสเตอร์แนวสะท้อน ปัญหาสังคม เช่น การแต่งกายที่ล่อแหลมนำไปสู่ปัญหาทางสังคมที่ตามมา

 ข้อเสนอแนะเพิ่มของผู้ศึกษา 

  1.  สำหรับการทำสื่อเพื่อรณรงค์ด้านการแต่งกายนั้นโปสเตอร์อาจไม่เพียงพอ อาจทำสื่อประเภทอื่น ๆ เช่น วีดีโอ
  2. ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องภาษาของวัยรุ่น อาจนำเป็นส่วนหนึ่งของข้อความบนโปสเตอร์เพื่อการสื่อความหมายไปยังผู้รับได้มากขึ้น
  3. ทำการศึกษาการได้รับรู้ข่าวสารของนักศึกษาที่มีต่อการแต่งกาย