The invention of cable-cam for camera in the narrow and long area 

จัดทำโดย ปิณฑิรา ตลับศรี, นพัฒน์ สายเชื้อ และ สินินาถ ปักเคธาติ

ปีการศึกษา 2552


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการประดิษฐ์อุปกรณ์รองรับกล้อง โดยการผลิตอุปกรณ์รองรับกล้องสามารถแบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ ส่วนบาร์สไลด์ และส่วนรองรับกล้อง โดยบาร์สไลด์จะผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับกับสลิง 1 เส้น และส่วนรองรับกล้องผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับกล้องที่มีขนาดความกว้างไม่เกิน 6 นิ้ว หนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม

วิธีการศึกษาโดยผลิตเป็นสื่อนำการเสนอการติดตั้งอุปกรณ์รองรับกล้อง Cable-Cam โดยมีผู้สาธิตวิธีการติดตั้งและอธิบายส่วนประกอบต่าง ๆ ของ Cable-Cam และนำภาพที่ได้ไปตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS3 และวัดผลจากกลุ่มผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับทางด้านเทคนิคและอุปกรณ์ 10 คน และผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาด้านภาพยนตร์หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ 10 คน

ดังนั้นอุปกรณ์รองรับกล้อง Cable-Cam ที่ผู้ศึกษาได้ทดลองนั้น สามารถถ่ายภาพได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังมีการใช้งบประมาณที่ไม่สูงนัก น่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่ง


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

เพื่อการประดิษฐ์อุปกรณ์รองรับกล้อง (Cable-cam) เพื่อการเคลื่อนที่ในพื้นที่แคบและยาว

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถประดิษฐ์อุปกรณ์รองรับกล้องเพื่อการเคลื่อนกล้องในขั้นตอนการบันทึกภาพงานภาพยนตร์หรือด้านสื่อมวลชน

ขอบเขตการศึกษา

ปริญญานิพนธ์นี่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการประดิษฐ์อุปกรณ์รองรับกล้อง (Cable-cam) เพื่อการเคลื่อนกล้องในพื้นที่แคบและยาว โดยมีจุดมุ่งหมายให้อุปกรณ์สามารถรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม และระยะทางในการเคลื่อนที่ของกล้องประมาณ 50 เมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในฉากที่ติดตามคนวิ่งในพื้นที่แคบและยาว จึงผลิตผลงานออกมาเป็นช็อตเพื่อไปประกอบในฉากภาพยนตร์เสร็จแล้วนำอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์มาประเมินผล โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคและอุปกรณ์จำนวน 10 คนและผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาด้านภาพยนตร์หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์จำนวน 10 คน โดยผลสำรวจจากแบบสอบถามเป็นสถิติร้อยละ


สรุปผลการศึกษา

การผลิตอุปกรณ์รองรับกล้อง Cable-Cam ได้ทำการประเมินจากผู้ชมจำนวน 20 คนพบว่าอุปกรณ์รองรับกล้อง Cable-Cam สามารถทำงานได้จริงและมีความสมบูรณ์จากการถ่ายทำสามารถทำให้เห็นทัศนคติ (Perspective) ชัดเจน ทำให้การติดตามตัวละครดูสมบูรณ์และสร้างความน่าสนใจให้กับภาพยนตร์ได้มากขึ้นตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน

  1. เฟืองที่ใช้มีขนาดใหญ่ ทำให้การทำงานช้าลง
  2. สลิง 1 เส้นทำให้เกิดการแกว่งของอุปกรณ์รองรับกล้อง ทำให้ภาพที่ได้เกิดการสั้นของภาพ
  3. การออกแบบอุปกรณ์รองรับกล้องไม่สามารถใช้ได้กลับกล้องทุกรุ่น

ข้อเสนอแนะ

  1. อุปกรณ์รองรับกล้องนี้ออกแบบมาให้ใช้กับสลิง 1 เส้น ซึ่งการออกแบบนั้นใช้เพื่อถ่ายพื้นที่ที่แคบและยาว มีข้อเสียก็คือ ภาพที่ได้ค่อนข้างไม่นิ่งแต่ด้วยอารมณ์ของฉากนั้นจึงทำให้เป็นข้อดีต่อไป แต่ทั้งนี้ควรออกแบบที่บาร์สไลด์ใหม่ให้เป็นบาร์สไลด์ที่ใช้ได้กับสลิง 2 เส้น และถ่ายในพื้นที่ที่แคบและยาวได้อย่างสมบูรณ์
  2. การออกแบบตัวรองรับกล้องไม่มีข้อควรจำกัดเรื่องขนาดของกล้อง ควรจะรองรับกับกล้องได้หลากหลายชนิด
  3. ดังที่ผู้จัดทำได้ออกแบบนั้น มีข้อเสียตรงเฟือง ถ้าเปลี่ยนเฟืองให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง การหมุนก็จะสามารถทำความเร็วได้รวดเร็วขึ้น
  4. ในขั้นตอนการถ่ายทำควรมีการวางแผนและมีอุปกรณ์ที่พร้อมใช้เสมอ
  5. การหาสถานที่เพื่อถ่ายทำควรคำนึงความปลอดภัยเป็นหลัก ถ้ายึดติดโครงสร้างควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแข็งแรงมากน้อยเพียงใด ถ้าโครงสร้างต้นไม้ก็ควรควรยึดและถ่ายเทน้ำหนักไปยังโคนต้นไม้ เพื่อความแข็งแรงและความปลอดภัย
  6. ควรเลือกอุปกรณ์ที่จะนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงาน

รับชมผลงาน