The process of film production animation for the 3D non-smoking campaign. By Poser Pro.
โดย ลินดาวัฒน์ แก้วธนกูล และมาลินี ฉายอรุณ
ปีการศึกษา 2552
บทคัดย่อ (Abstract)
ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เพื่อรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ โดยใช้โปรแกรม POSER PRO
วิธีการศึกษาได้ผลิตภาพยนตร์โฆษณาเรื่อง “บุหรี่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม” ความยาว 35 วินาที โดยใช้โปรแกรม Poser Pro สร้างภาพยนตร์แอนนิเมชั่นแล้วตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe Premiere ประเมินผล ด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านแอนิเมชั่น และกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุตั่งแต่ 13 – 18 ปี แล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน ด้วยค่าสถิติแบบร้อยละ
ผลการศึกษาสรุปว่า การใช้โปรแกรมPoser Pro สร้างภาพยนตร์แอนนิเมชั่น 3 มิติเพื่อรณรงค์การไม่สูบบุหรี่สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเยาวชนให้เห็นถึงโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่ได้
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ โดยใช้โปรแกรม POSER PRO
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ โดยใช้โปรแกรม POSER PRO ได้
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้จัดทำการผลิตภาพยนตร์ แอนิเมชั่น 3 มิติ เพื่อการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ เรื่อง การสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง ความยาว 35 วินาที โดยใช้โปรแกรม POSER PRO สร้างตัวละคร กำหนดการเคลื่อนไหว และนำมาตัดต่อลำดับภาพด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro และใช้โปรแกรม After Effect สร้างควันบุหรี่ขึ้นมา ทำงานบนคอมพิวเตอร์ภายใต้ระบบปฏิบัติการ WINDOW XP และถ่ายทอดสัญญาณภาพลงบนแผ่นบันทึกข้อมูลแบบ Digital Video Disc (DVD) นำไปฉายให้ผู้เชี่ยวชาญด้านแอนิเมชั่น ประเมินผลและวิเคราะห์ ความเหมาะสม และคุณภาพของสื่อก่อนที่จะนำไปฉาย ให้ผู้ชม ที่มีอายุตั่งแต่ 13-18 ปี จำนวน 20 คน จากนั้นทำการประเมินผล โดยทำแบบสอบถามความคิดเห็นด้านพฤติกรรมการตัดสินใจไม่สูบบุหรี่ของเยาวชนจากการชมภาพยนตร์แอนิชั่น 3 มิติ ในครั้งนี้ แล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน ด้วยค่าสถิติแบบร้อยละ โดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเฉลี่ยแบบมาตรฐานเป็นรายข้อ
สรุปผลการศึกษา
ในการศึกษาเรื่องการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เพื่อรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ โดยใช้โปรแกรม POSER PRO ความยาว 35 วินาที และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวัดและ ประเมินผล ความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านแอนิเมชั่นและกลุ่มผู้ชมอายุระหว่าง 13 – 18 ปี จำนวน 20 คน หลังจากการชมภาพยนตร์แอนิเมชั่น สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ จากผลการศึกษาพบว่า โปรแกรม Poser Pro สามารถสร้างตัวละคร แอนิเมชั่นได้สมจริง ทั้งในด้านความสมจริง การเคลื่อนไหวของตัวละคร และการสร้างฉากได้ไม่แตกต่างจากโปรแกรมอื่นๆ และภาพยนตร์แอนิเมชั่น เรื่อง การสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง สามารถช่วยให้ลดการสูบบุหรี่ได้ โดยด้านผู้เชี่ยวชาญ ให้ผลประเมินโดยรวม ในระดับปานกลาง และ กลุ่มผู้ชมอายุระหว่าง13 – 18 ปี จำนวน 20 คน ให้ผลประเมินโดยรวม ในระดับ ดี
ปัญหา
- การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Poser Pro เป็นโปรแกรมที่มีขนาดไฟล์ใหญ่ จึงทำให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ล่าช้าลง
- ปัญหาการสร้างฉาก เพราะโปรแกรมPoser Pro จะเน้นในเรื่องในเรื่องของตัวละครเป็นส่วนใหญ่
ข้อเสนอแนะ
- ต้องมีความเข้าใจในโปรแกรมที่จะนำมาสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นเป็นอย่างดี
- เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ควรจะมีคุณสมบัติ ดังนี้ Hard disk 160 GB, RAM 1 GB
การ์ดแสดงผล 1024 x 768 16-bit แรม 124 MB เป็นต้น ตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ - เสียงมีความสำคัญต่องานแอนิเมชั่นหรืองานภาพเคลื่อนไหว จึงควรศึกษาในเรื่องของเสียงเพิ่มขึ้น