ตัดต้

จัดทำโดย: สุทธาสิณี  หลักคำ, ชาญชัย  ธรรมเกษร และธวัชชัย  มหิศยา

ปีการศึกษา 2552


บทคัดย่อ (Abstract)

สาระนิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาการใช้เทคนิค Bullet–Time Photography โดยการทดลองถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหวด้วยกล้องภาพนิ่ง Single Use Camera 30 ตัว มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดลองศึกษาการทำภาพให้มีความคล้ายคลึงกับภาพที่ได้จากเทคนิค Bullet Time โดยใช้ต้นทุนต่ำซึ่งใช้กล้องภาพนิ่งในการถ่าย30ตัว

วิธีการศึกษาทำโดยผลิตเป็นสื่อนำเสนอเทคนิคการถ่ายทำ Bullet–Time Photography ความยาว 2 นาที จากนั้นนำภาพที่ได้มาตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe premier Pro CS3 และนำมาปรับแต่งด้วยโปรแกรม After Effect และตรวจสอบผลด้านความคล้ายคลึงกับเทคนิค Bullet Time โดยวัดผลจากกลุ่มผู้ชมที่มีความรู้ทางด้านการถ่ายภาพและภาพยนตร์ 10 คน และผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านภาพยนตร์ 10 คน จากแบบสอบถามพบว่า สื่อที่ได้นำเสนออยู่ในเกณฑ์ ดี

ดังนั้น รูปแบบเทคนิคที่กลุ่มผู้ศึกษาได้ทดลองปฏิบัตินั้น สามารถสร้างภาพโดยใช้เทคนิค Bullet-Timeได้ อีกทั้งมีการใช้งบประมาณที่ไม่สูงนัก น่าจะเป็นเทคนิคการถ่ายภาพที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

เพื่อการศึกษาทดลองผลิต ภาพเคลื่อนไหว ตามเทคนิค Bullet Time Photography ในการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหว ด้วยกล้อง Single use camera

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถนำหลักการทำงานของเทคนิค Bullet Time Photography และสามารถนำเทคนิค
นี้มาประยุกต์ใช้กับภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณาหรือสื่ออื่น ๆ ได้ตามความเหมาะสม

ขอบเขตของการศึกษา

เพื่อศึกษาและทดลองทำเทคนิค Bullet-Time Photography โดยการวางโครงร่างและออกแบบมุมกล้องที่ต้องการจะถ่ายตามที่กำหนดไว้ โดยกำหนดจุดรอบตัวแบบ แล้ววัดระยะห่างระหว่างกล้องกับตัวแบบที่ถ่ายระยะห่างประมาณ 3 เมตร กำหนดระยะห่างระหว่างกล้องห่างกัน 3 องศาโดยถ่ายทั้งหมด 90 องศา ซึ้งจะได้จุดทั้งหมด 30 จุด โดยทางผู้ศึกษาได้ทำการถ่ายแบบ ซึ่งมีลักษณะการเคลื่อนกล้อง จากตัวแบบถึงกล้องระยะทางจากจุดแรกถึงจุดสุดท้ายเท่ากันมีลักษณะเป็น แนวโค้ง (Curve) โดยมีความสูงคงที่

ถ่ายทำที่สตูดิโอ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน โดยใช้ฉากสีดำ ในการถ่ายทำผู้ศึกษาได้ใช้กล้อง Single use camera ยี่ห้อ Kodak รุ่น Power Flash ISO400 ระยะชัด 1.2 เมตรถึงอินฟินิตี้ในการถ่ายภาพนิ่งและใช้กล้อง Sony Z5 ในการถ่ายภาพวีดีโอ โดยนำมาปรับแสง และขนาดของภาพในโปรแกรม Adobe Photoshop CS3 แล้วนำมาตัดต่อเข้ากับภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Premier Pro CS3 ซึ่งทางผู้ศึกษาได้นำวิธีการที่ทดลองมาผลิตเป็นสื่อนำเสนอเทคนิค Bullet-time Photography (Showreel) และนำสื่อที่ได้ผลิต ให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามความคิดเห็น แล้วประเมินออกมาเป็นค่าร้อยละ


สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาเรื่องเทคนิคการถ่ายทำ Bullet-Time Photography สรุปจากผลสำรวจกลุ่มผู้ชมจำนวน 20 คนที่มีความรู้ทางด้านสาขาวิชาภาพยนตร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและผู้ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาภาพยนตร์ได้ว่า

  1. ความต่อเนื่องหรือความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์ดี   คิดเป็นร้อยละ 65
  2. การนำไปใช้ประกอบสื่ออยู่ในเกณฑ์ดี   คิดเป็นร้อยละ 55
  3. ผลของภาพทางด้าน Image Quality อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง   คิดเป็นร้อยละ 55

ข้อเสนอแนะ

  1. อุปกรณ์รองรับควรปรับระดับความสูง ต่ำ ก้ม เงย ได้
  2. ควรเลือกใช้กล้องที่มีคุณภาพสูงกว่าที่ทำการทดลอง อาทิเช่น สามารถปรับรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ ค่าความไวแสง และทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่เหมาะสม
  3. ในขั้นตอนการถ่ายทำควรใช้ฉากประเภทกรีนสกรีน เพื่อสะดวกปรับแก้แสงและสี ในขั้นตอนการตัดต่อ
  4. การเลือกสิ่งที่จะมานำเสนอ ควรจับจังหวะขณะวัตถุของภาพอยู่ในจุดสูงสุด (Peck of Action) เช่น การลอยตัวอยู่กลางอากาศ หรือ อยู่ในท่าที่ร่างกายไม่น่าจะรักษาสมดุลของร่างกายได้
  5. ลักษณะการวางกล้องควรมีรูปแบบที่หลากหลายเพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานได้อยากมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  6. ควรเลือกใช้กล้องที่สามารถถ่ายภาพได้อย่างต่อเนื่องมากกว่ากล้อง ชนิด Single Use Camera

รับชมผลงานนักศึกษา