The documentary film production for conservation mangroves: a case of Bang Pu Seaside Resort
จัดทำโดย กรวีร์ พยนต์เลิศ, ชลัช หงส์ไกรเดช และธนธันว์ บับพาน
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
ภาพยนตร์สารคดีชุดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการผลิตภาพยนตร์สารคดีแบบธรรมชาตินิยม เพื่อนำเสนอคุณค่าของป่าชายเลน ศึกษากรณี สถานตากอากาศบางปูโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับระบบนิเวศของป่าชายเลน มีความยาวประมาณ 8 นาที
วิธีการศึกษาการผลิตภาพยนตร์สารคดีแบบธรรมชาตินิยม เพื่อนำเสนอคุณค่าของป่าชายเลนของ สถานตากอากาศบางปู ดำเนินการถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (DSLR) ยี่ห้อ Canon รุ่น 5D Mark II ตัดต่อลำดับภาพและเสียงโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป จากนั้นผู้ศึกษาดำเนินการจัดทำสำเนาในรูปของสื่อดิจิตอลวีดีโอดิสก์ (DVD) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตภาพยนตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปูฯ) ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหา และดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำ พร้อมดำเนินการจัดส่งให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
จากการผลิตผลงานภาพยนตร์สาคดีนี้สามารถสรุปได้ว่า ภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบธรรมชาตินิยม เพื่อนำเสนอคุณค่าของป่าชายเลนของ สถานตากอากาศบางปู สามารถเสนอประโยชน์และความงามของป่าชายเลนให้ผู้รับชมได้
วัตถุประสงค์
เพื่อทำการผลิตภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำเสนอคุณค่าของป่าชายเลน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถนำเสนอคุณค่าของป่าชายเลนในรูปแบบของภาพยนตร์สารคดีที่ได้
ขอบเขตการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการผลิตภาพยนตร์สารคดีแบบธรรมชาตินิยม เพื่อนำเสนอคุณค่าของป่าชายเลน ศึกษากรณีสถานตากอากาศบางปู เพื่อมอบให้หน่วยงานศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปูฯ) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จ.สมุทรปราการ สำหรับนำเสนอให้นักท่องเที่ยวได้รับชมและตระหนักถึงคุณค่าของป่าชายเลน ดำเนินการถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (DSLR) ยี่ห้อ Canon รุ่น 5D Mark II บันทึกภาพในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับระบบนิเวศของป่าชายเลน มีความยาวประมาณ 8 นาที ตัดต่อลำดับภาพและเสียงโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป จากนั้นผู้ศึกษาดำเนินการจัดทำสำเนาในรูปของสื่อดิจิตอลวีดีโอดิสก์(DVD) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตภาพยนตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปูฯ) ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหา และดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำ พร้อมดำเนินการจัดส่งให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
สรุปผลการศึกษา
จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาสามารถสรุปประเด็นต่างๆ จากการนำเสนอผลงานภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบธรรมชาตินิยม : เพื่อนำเสนอคุณค่าของป่าชายเลน สถานตากอากาศบางปู ได้ดังนี้
ข้อจำกัดในเรื่องขนาดของภาพ ภาพยนตร์สารคดีเรื่องดังกล่าวมีการใช้ภาพขนาดกว้าง (Long Shot) เยอะเกินไป ซึ่งภาพยนตร์สารคดีที่ดีอย่างน้อยต้องมีการกำหนดขนาดภาพที่หลากหลาย อาทิ ภาพขนาดกว้าง (Long Shot) ภาพขนาดกลาง (Medium Shot) และภาพขนาดใกล้ (Close-Up) เพื่อให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นรายละเอียดของสิ่ง ๆ นั้นเพิ่มมากขึ้น และยังช่วยส่งเสริมเรื่องราวให้ภาพยนตร์สารคดีมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น อาจแก้ได้ด้วยการหาภาพให้มีขนาดที่ใกล้ขึ้น อาทิ ภาพขนาดกลาง (Medium Shot) และ ภาพขนาดใกล้ (Close-Up)
ในส่วนของการถ่ายทำเรื่องของการใช้เทคนิคหรือการเคลื่อนกล้องอาจพบปัญหาในเรื่องของการเคลื่อนหน้ากล้องในแนวดิ่ง (Tilting) หรือการเคลื่อนหน้ากล้องในแนวนอน (Panning) จะซ้ำกันเยอะความจำเป็น ประกอบกับการแพน (Panning) ยังไม่นุ่มนวล (Smooth) ควรจะต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ข้อจำกัดในเรื่องของการตัดต่อลำดับภาพในภาพยนตร์สารคดีเรื่องดังกล่าว พบว่า มีการใช้ทรานสิชั่น (Transition) เชื่อมต่อภาพมากเกินไป โดยเฉพาะการ (Dip to Black) ซึ่งทำให้ดูแล้วรู้สึกคล้ายกับว่า ภาพยนตร์กำลังจะจบ ทั้งที่จริงยังไม่ได้จบ
ข้อจำกัดในเรื่องของเสียงบรรยาย มีการใช้เสียงดนตรีประกอบที่มีการสื่ออารมณ์ได้ดีแล้ว ดูแล้วทำให้รู้สึกมีอารมณ์ร่วม แต่เรื่องเสียงบรรยายควรมีการออกเสียงที่กระชับมากกว่านี้ จะสามารถทำให้ผู้ชมได้ดูและฟังทั้งสองอย่างควบคู่ไปได้อย่างนุ่มนวล
จุดเด่นที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นที่สอดคล้องกันต่อผลงานภาพยนตร์สารคดีเรื่องดังกล่าว โดยรวมของชิ้นงานที่ถ่ายมา ผู้ศึกษาสามารถนำเสนอมุมมองในการถ่ายภาพค่อนข้างดี สามารถจัดองค์ประกอบของภาพที่มีความสวยงาม แสงธรรมชาติดูสวย ดูแล้วสบายตาและไม่อึดอัด อาจเป็นเพราะคนถ่ายเข้าใจในการเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ดี ภาพจึงดูไม่มืดหรือไม่สว่างจนเกินไป จึงทำให้ภาพยนตร์สารคดีมีความน่าสนใจ
อภิปรายผล
จากการผลิตภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบธรรมชาตินิยม : เพื่อนำเสนอคุณค่าของป่าชายเลน สถานตากอากาศบางปู จากการประเมินผลเรื่องคุณภาพของผลงานภาพยนตร์สารคดี ของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตภาพยนตร์สารคดี พบว่า การนำเสนอมุมในการมีความสวยงามดี ดูแล้วสบายตา ไม่อึดอัด อันเนื่องมาจากมีการจัดวางองค์ประกอบของภาพที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ โรเบิร์ต ชูมันน์ (2549) ได้กล่าวว่า ความสวยงามนั้นจัดได้เป็นสองประเภท คือ ความงามโดยธรรมชาติ และความงามที่เกิดโดยมนุษย์ ความงามที่เกิดโดยธรรมชาติ คือ การสัมผัสและรับรู้ถึงสิ่งสวยงามที่ปรากฏในธรรมชาติ แต่ความงามที่เกิดโดยมนุษย์ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์และเข้าไปเกี่ยวข้องในธรรมชาติ ในศิลปะมีความงามทั้งสองชนิดปรากฏอยู่ เพียงแต่ความงามโดยธรรมชาติ คือ ความสุนทรีย์ทางอารมณ์ และความงามที่เกิดโดยมนุษย์ คือ ความเข้าใจในผลงานศิลปะชิ้นนั้น แต่ผู้เชี่ยวชาญยังเสริมอีกว่า ควรมีขนาดภาพในการสื่อความหมายให้หลากหลายกว่านี้ เพราะภาพในแต่ละขนาดจะช่วยสื่อความหมายที่แตกต่างกัน และยังช่วยเพิ่มข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดให้กับคนดูได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ ประวิทย์ แต่งอักษร (2541 :18-38) กล่าวว่า แม้ว่าขนาดของภาพที่ปรากฏให้เห็นในหนังแต่ละเรื่องจะมีความหลากหลายแต่ส่วนใหญ่จะถูกจำกัดให้อยู่ภายใต้หมวดหมู่ใหญ่ ๆ 7 หมวดด้วยกัน คือ ภาพขนาดที่เรียกว่า Extreme Long Shot หรือภาพระยะไกลที่สุด ภาพขนาด Long Shot หรือภาพระยะไกล ภาพขนาด Full Shot หรือภาพเต็มตัว ภาพขนาด Medium Shot หรือระยะปานกลาง ภาพขนาด Close-up หรือระยะใกล้ ภาพขนาด Extreme Close-up หรือภาพระยะใกล้ที่สุด และภาพขนาด Deep-Focus shot หรือภาพชัดลึก นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นต่อผลงานภาพยนตร์สารคดีเรื่องดังกล่าวว่า ภาพยนตร์มีการนำเสนอวัตถุประสงค์ในการผลิตที่ชัดเจนว่า เป็นภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบธรรมชาตินิยมที่มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาในเชิงอนุรักษ์ ซึ่งสอดคล้องกับ ธัญญา สังขพันธานนท์ (2548 : 152) กล่าวว่า สารคดีเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสารคดีอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เหตุที่สารคดีแนวนี้มีผู้ชมและสนใจค่อนข้างมาก คงเนื่องมาจากกระแสความตื่นตัวในเรื่องอนุรักษ์ธรรมชาติกำลังเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก
ข้อเสนอแนะในภาพยนตร์สารคดี
- ควรมีขนาดภาพที่หลาย ๆ ขนาดมากกว่านี้ มีภาพระยะไกลเยอะเกินไป ควรหาภาพ
ระยะใกล้มากขึ้นเข้ามาช่วยเสริมเรื่องราว - ภาพบางภาพมีการทิ้งช่วงนานเกินไป
- ทางผู้เชี่ยวชาญได้แนะให้ใช้วิธีแก้ปัญหาแบบง่าย ๆ โดยการใช้หนังยางมาคล้องที่จับ (Handled) แล้วใช้มือดึงจะช่วยให้การแพนดูนุ่มนวล (Smooth) ได้
- เสียงบรรยายควรมีการบรรยายให้กระชับกว่านี้ ไม่ควรหย่อนยานเกินไป
- ถ้าหากกังวลเรื่องภาพซ้ำก็ควรใช้ภาพคนละมุม หรือภาพที่ขนาดภาพในลักษณะ
ภาพขนาดกลาง (Medium Shot) และ ภาพขนาดใกล้ (Close-Up) แทนได้ - สำหรับเนื้อหาตรงที่พูดถึงเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ มีข้อเสนอแนะว่า ตรงหัวข้อความหลากหลายอาจจะไปถ่ายที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์กว่านี้ และตรงที่ยกตัวอย่างต้นไม้ เช่น ต้นแสม ต้นโกงกาง โพทะเล ซึ่งเป็นพันธ์ไม้เด่น ๆ ในบางปู อาจจะเพิ่มพันธ์ไม้เข้าไปเพื่อให้เห็นถึงความหลากหลายมากกว่านี้