Study techniques for special effects of Composition Technique in fight scenes for make to real on action movie
จัดทำโดย ณรงค์วิทย์ บุญมณี, กิตติพงศ์ อินทรพานิช และชาญวิทย์ แจ่มเจริญ
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ (Abstract)
ผู้ศึกษามีความประสงค์ที่จะศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้ในภาพยนตร์แอ็คชั่น โดยทำการผลิตภาพยนตร์แอ็คชั่น ความยาว 10 นาที ถ่ายทำด้วยกล้อง Canon EOS 7D บันทึกลงใน CF Card ความจุ 32Gb มาทำการตัดต่อด้วยโปรแกรม Final Cut Pro และนำช่วงฉากยิงต่อสู้มาทำการซ้อนภาพและตกแต่งด้วยโปรแกรม After Effect CS 5 โดยการนำเอา Footage ลูกกระสุนปืน ไฟจากปากกระบอกปืน และเลือดที่ออกจากตัวนักแสดงที่มีการทำ Alpha Chanel เรียบร้อยแล้วมาทำงานซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้และบันทึกลงในแผ่น DVD และนำภาพยนตร์มาทำการประเมินผลโดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการซ้อนภาพ 1คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงภาพยนตร์ 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อภาพยนตร์ 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน 1 คนและสรุปผล
ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์ มีผลประเมินด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์และอาวุธปืนเป็นไปตามมาตรฐานการใช้เทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพเพื่อทำเทคนิคพิเศษในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์แอ็คชั่น
ประโยชน์ที่คาดว่าน่าจะได้รับ
สามารถใช้เทคนิคการซ้อนภาพเพื่อทำเทคนิคพิเศษในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์แอ็คชั่นด้วยโปรแกรม Adobe After Effect CS 5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของการศึกษา
ผู้ศึกษามีความประสงค์ที่จะศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพเพื่อทำเทคนิคพิเศษในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์แอ็คชั่นโดยทำการผลิตภาพยนตร์แอ็คชั่น ความยาว 10 นาที ถ่ายทำด้วยกล้อง Canon EOS 7D บันทึกลงใน CF Card ความจุ 32Gb มาทำการตัดต่อด้วยโปรแกรมFinal Cut Pro และนำช่วงฉากยิงต่อสู้มาทำการซ้อนภาพและตกแต่งด้วยโปรแกรม After Effect CS 5 โดยการนำเอา Footage ลูกกระสุนปืน ไฟจากปากกระบอกปืน และเลือดที่ออกจากตัวนักแสดงที่ได้มีการทำ Alpha Chanel เรียบร้อยแล้วมาทำงานซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้ แล้วนำเสียงที่ได้ศึกษาจากซาวน์ไคน์มาประกอบกับ Footage ลูกกระสุนปืน ไฟจากปากกระบอกปืนและเลือดที่ออกจากตัวนักแสดง และบันทึกลงในแผ่น DVD และนำภาพยนตร์มาทำการประเมินผลโดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการซ้อนภาพ 1คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงภาพยนตร์ 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อภาพยนตร์ 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน 1 คนและสรุปผล
สรุปผลการศึกษา/อภิปรายผล/ข้อเสนอแนะ
ในการศึกษาเรื่อง การศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์แอ็คชั่น มีการกำหนดปัจจัยที่จะทำให้ฉากยิงต่อสู้ในภาพยนตร์แอ็คชั่นดูสมจริงดังนี้ ลูกกระสุนที่ออกจากปากกระบอกปืน ไฟที่ออกจากปากกระบอกปืน ควันไฟที่ออกจากปากกระบอกปืน และแอ็คติ้งของนักแสดงขณะยิงปืน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้ฉากยิงต่อสู้มีความสมจริง และสามารถที่จะสร้างอารมณ์ร่วมของผู้ชมไปกับภาพยนตร์แอ็คชั่นได้
จากการศึกษาเรื่อง การศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์แอ็คชั่นจากการประเมินผลจากแบบสอบถามความคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์แอ็คชั่นและเทคนิค จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการซ้อนภาพ 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน 1 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์ 1ท่าน
โดยมีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
- ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร ตำแหน่ง อาจารย์สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
- นคร โฆสิตไพศาลตำแหน่ง Sound Design บริษัท Vanilla Sky Studio
- อภิชาติ ติ่งแก้ว ตำแหน่ง ข้าราชการทหารศูนย์สงครามพิเศษ
- โฆษิต ศรีรัตโนภาสตำแหน่ง Multimedia Designer
สรุปผลการศึกษา
การนำเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้มาใช้ในภาพยนตร์ทีมพิฆาตเหนือเมฆนั้น สามารถทำออกมาได้ดี สามารถดึงอารมณ์ร่วมกับผู้ชมได้เป็นอย่างดีทำให้ผู้ชมตื่นเต้นไปกับการแสดงของนักแสดง เทคนิคพิเศษต่างๆ ซึ่งลักษณะและท่าทางของนักแสดงก็ทำออกมาได้สอดคล้องกับการยิงปืนซึ่งทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าเป็นการยิงปืนจริง และทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมไปกับการแสดงที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ๆ ที่ทำออกมาในรูปของการซ้อนภาพสามารถนำมาปรับใช้กับฉากการแสดงต่างๆได้เป็นอย่างดีเรียกได้ว่า ในภาพยนตร์แอ็คชั่นนั้นสามารถนำเอาเทคนิคพิเศษทางด้านภาพที่เกิดขึ้นนำมาปรับใช้ในการถ่ายได้ เช่น การเคลื่อนที่ของกล้อง ขนาดของภาพที่หลากหลาย ซึ่งในขั้นตอนของการทำงานในขั้นของหลังการผลิตภาพยนตร์จะมีความยุ่งยากและซับซ้อน เช่น การถ่ายทำฉากที่กำลังเดินของนักแสดงจะต้องมีการบันทึกหลาย ๆ มุมกล้อง หลาย ๆ ขนาดภาพเพื่อเวลาที่นำมาทำการตัดต่อจะมีฟุตเตจที่สามารถนำไปใช้ในการตัดต่อที่มากขึ้น และสามารถสร้างสรรค์ฉากแอ็คชั่นที่มีความสนุกและตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น แต่ผลที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์นั้นทำให้เห็นว่าเทคนิคของการซ้อนภาพลูกกระสุนปืน ควันไฟจากปากกระบอกปืน ประกายไฟจากปากกระบอกปืน หรือแสงไฟที่เกิดจากการยิงปืน ก็สามารถทำออกมาได้เป็นอย่างดี อาจจะไม่คล้ายกับการยิงปืนจริงแต่ว่าสามารถทำให้ผู้ชมนั้นรู้สึกว่าลูกกระสุนที่ออกจากปากกะบอกปืนนั้นเป็นการยิงออกมาจากกระบอกปืนจริงๆ องค์ประกอบที่สำคัญในการทำให้ลูกกระสุนปืนมีความสมจริงก็คือท่าทางของนักแสดงที่กำลังแสดงถึงท่าทางของการยิงปืน ซึ่งลักษณะและท่าทางของนักแสดงก็ทำออกมาได้สอดคล้องกับการยิงปืนซึ่งทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าเป็นการยิงปืนจริง และทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมไปกับการแสดงที่เกิดขึ้นในเวลานั้น
อภิปรายผล
ทำให้สรุปได้ว่า นำเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้มาใช้ในภาพยนตร์ทีมพิฆาตเหนือเมฆนั้น มีความสมจริงอยู่พอสมควร เนื่องด้วยฟุตเตจกระสุนปืนที่นำมาใช้สอดคล้องกับกับอาวุธปืน แต่ในส่วนของลูกไฟที่ออกจากปากกระบอกปืนหรือแสงไฟที่สร้างบรรยากาศในการยิงปืนยังต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสมจริงมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ โฆษิต ศรีรัตโนภาส (สัมภาษณ์, 2556) ที่กล่าวว่า ยังขาดความสอดคล้องทั้งแสงตกกระทบและความสว่างเมื่อเปรียบเทียบกับบรรยากาศโดยรอบ เมื่อสิ่งเหล่านี้ขาดความสมจริงสิ่งที่จะทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้สนุกและน่าตื่นเต้นมาขึ้นก็คือ เทคนิคของการถ่ายทำ การตัดต่อ การใส่เสียงประกอบต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างให้ภาพยนตร์แอ็คชั่นมีความสมจริงยิ่งขึ้น ดูน่าตื่นเต้นน่าติดตาม สอดคล้องกับคำกล่าวของ นคร โฆสิตไพศาล (สัมภาษณ์, 2556) ที่กล่าวว่า ควรมีการเพิ่ม Shot ให้มากว่านี้ เพิ่มมุมกล้องต่าง ๆ ที่หลากหลายให้มากกว่านี้ เสียงประกอบบางเสียงดังเกินไป เสียงปืนยังไม่เหมาะสมกับปืนที่ใช้ยิง ปรับให้เสียงปืนที่เกินกว่าจริงให้ใกล้เคียงมากกว่านี้ ซึ่งลักษณะของภาพเหล่านี้จะส่งผลต่ออารมณ์ทางภาพสามารถดึงดูดอารมณ์ของคนดูให้มีอารมณ์ร่วมตาม มีความน่าตื่นเต้นที่ทำให้คนดูติดตาม การแสดงของนักแสดงก็ส่งผลต่อความสมจริงของภาพยนตร์เช่นกัน เนื่องจากลักษณะการแสดงการดีดของปืนขณะยิงต้องสอดคล้องกับการยิงปืนจริง ๆ หรือการถูกศัตรูยิงจะต้องล้มลงให้ดูเหมือนโดนลูกกระสุนยิงจริง ๆ สอดคล้องกับคำกล่าวของ ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร (สัมภาษณ์, 2556) ที่กล่าวว่า หัวหน้าผู้ร้าย หรือบรรดาสมุนที่ถูกยิงจากปืนยาว (Sniper) เพราะผู้ถูกยิงจะถูกแรงปะทะของกระสุนปืนด้วย แต่เคยดูภาพยนตร์บางเรื่องผู้ที่ถูกยิงจากระยะไกลมาก ๆ จะล้มลงก่อนได้ยินเสียงดังของกระสุนปืน 3 วินาที
ปัญหาในการศึกษา
ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้
ปัญหาในขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production)
- ข้อมูลของทีมหน่วยรบพิเศษในประเทศไทยมีน้อย ทำให้หาข้อมูลได้ยาก จึงต้องใช้การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก
- บทภาพยนตร์ต้องมีความสอดคล้องกับลักษณะของลูกไฟ ที่จะนำมาซ้อนภาพ
ปัญหาในขั้นตอนการถ่ายทำ (Production)
- นักแสดงที่มีน้อยทำให้ไม่เพียงพอที่จะมาเป็นตัวประกอบในการถ่ายทำ
- เวลาที่ใช้ถ่ายทำเป็นเวลากลางคืนทำให้ไฟที่ใช้ในการถ่ายทำไม่เพียงพอซึ่งบางช็อตมืดจนเกินไป
- สถานที่ถ่ายทำเป็นสนามยิงปืนบีบีกันที่มีบังเกอร์ที่ใช้หลับลูกกระสุนปืนเต็มไปหมด ทำให้ต้องมีการหลบมุมกล้องเพื่อหลีกเลี่ยงบังเกอร์ที่มีอยู่เต็มสนามบีบีกัน
ปัญหาในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ (Post-Production)
- เนื่องจากภาพยนตร์ที่ถ่ายมาเป็นเวลากลางคืนทำให้การซ้อนภาพลูกกระสุนปืนทำได้ยากเนื่องจากหาความเปรียบต่างของสีเพื่อที่จะซ้อนลูกไฟหรือลูกกระสุนปืนทำได้ยากมาก
- ฟุตเตจที่ใช้ในการซ้อนภาพไม่ว่าจะเป็นลูกไฟ ลูกกระสุนปืน หรือเสียงที่ใช้ประกอบนั้นมีน้อยซึ้งต้องดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมและต้องเสียเงินเพื่อซื้อเพิ่มขึ้นมาอีก ซึ่งก็มีราคาแพง
ข้อเสนอแนะ
- ควรมีการเพิ่ม Shot ให้มากว่านี้ เพิ่มที่มีความหลากหลายต่าง ๆ ให้มากกว่านี้
- เสียงประกอบบางเสียงดังเกินไป เสียงปืนยังไม่เหมาะสมกับปืนที่ใช้ยิง ปรับให้เสียงปืนที่เกินกว่าจริงให้ใกล้เคียงมากกว่านี้
- ควรจะมีการศึกษา ภาพยนตร์เพิ่มเติมให้มากกว่านี้เพื่อศึกษามุมกล้องและเทคนิคพิเศษอื่น ๆ