THE COMPARISON OF EXPOSURE SETTING BETWEEN DIFFERENT EXPOSURES VALUES OF HIGH-KEY RAW DIGITAL FILES
จัดทำโดย กอบชัย เปรื่องธรรมกุล
ปีการศึกษา 2554
บทคัดย่อ (Abstract)
ปริญญานิพนธ์นี้มีจุดมุงหมายเพื่อการศึกษาเปรียบเทียบการปรับค่าการรับแสงจากไฟล์ภาพดิจิทัล RAW ที่มีค่าการรับแสงที่แตกต่างกันในการถ่ายภาพไฮคีย์ เป็นภาพที่สร้างสรรค์เหมาะสมกับการถ่ายภาพงานแต่งงาน ภาพบุคคล ถ่ายภาพ Still life โดยใช้กล้องดิจิทัลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (D-SLR) ยี่ห้อ Canon รุ่น 7D ถ่ายภาพวัตุในการจัดแสงแบบ High Key โดยเลือกรูปแบบการบันทึกภาพสี ใช้เลนส์ทางยาวโฟกัส 50 มม. โดยกำหนดวิธีการถ่ายภาพ คือ ถ่ายภาพกำหนดแสงปกติ 1 ภาพ ถ่ายภาพคร่อม (Bracketing) แตกต่างกันช่วงละ 1/3 Stop จำนวน 12 ภาพ รวม 13 ภาพ ทุกภาพกำหนดขนาดรูรับแสงและค่าความไวแสงคงที่โดยเปลี่ยนค่าความเร็วชัตเตอร์ แล้วทำการวัดแสงทั้งภาพจากกระดาษสีเทามาตรฐาน 18% (Gray Card) จากนั้นนำภาพที่ได้มาเปิดผ่านโปรแกรม Adobe Photoshop lightroom 3.6 เพื่อปรับภาพเป็นภาพดิจิทัลรูปแบบภาพขาวดำ เพื่อวัดคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ White Balance Selector (วัดค่าความสว่างของภาพ) เลือกจุดที่สว่างมากที่สุดของภาพ และในส่วนที่มืดที่สุดของภาพ นำภาพก่อนปรับและหลังปรับมาวิเคราะห์ผล ซึ่งจะทำการเปรียบเทียบค่าความสว่างผ่านตารางภาพ กราฟ และตาเปล่า แล้วทำการสรุปผล
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบการปรับค่าการรับแสงจากไฟล์ภาพดิจิทัล RAW ที่มีค่าการรับแสงที่แตกต่างกันในการถ่ายภาพไฮคีย์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถทราบถึงการเปรียบเทียบการปรับค่าการรับแสงจากไฟล์ภาพดิจิทัล RAW ที่มีค่าการรับแสงที่แตกต่างกันในการถ่ายภาพไฮคีย์ ในกล้องดิจิทัล
ขอบเขตการศึกษา
ผู้ศึกษาใช้กล้องดิจิทัลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (D-SLR) ยี่ห้อ Canon รุ่น 7D ถ่ายภาพวัตุในการจัดแสงแบบ High Key โดยเลือกรูปแบบการบันทึกภาพสี ใช้เลนส์ทางยาวโฟกัส 50 มม.โดยกำหนดวิธีการถ่ายภาพ คือถ่ายภาพกำหนดแสงปกติ 1 ภาพ ถ่ายภาพคร่อม (Bracketing) แตกต่างกันช่วงละ 1/3 Stop จำนวน 12 ภาพ รวม 13 ภาพ ทุกภาพกำหนดขนาดรูรับแสงและค่าความไวแสงคงที่โดยเปลี่ยนค่าความเร็วชัตเตอร์ แล้วทำการวัดแสงทั้งภาพจากกระดาษสีเทามาตรฐาน 18% (Gray Card)
จากนั้นนำภาพที่ได้มาเปิดผ่านโปรแกรม Adobe Photoshop Lightroom 3.6 เพื่อปรับภาพเป็นภาพดิจิทัลรูปแบบภาพขาวดำ เพื่อวัดคุณภาพโดยใช้เครื่องมือ White Balance Selector (วัดค่าความสว่างของภาพ) เลือกจุดที่สว่างมากที่สุดของของภาพ และในส่วนที่มืดที่สุดของภาพ นำภาพก่อนปรับและหลังปรับมาวิเคราะห์ผล ซึ่งจะทำการเปรียบเทียบค่าความสว่าง ผ่านตารางภาพ กราฟ และตาเปล่า แล้วทำการสรุปผล
สรุปผลการศึกษา
จากการศึกษาพบว่า การถ่ายภาพไฮคีย์นั้นเมื่อทดลองถ่ายถาพในค่าการรับแสงที่แตกต่างกันจำนวน 13 ภาพ โดยถ่ายภาพที่ค่าการรับแสงปกติ (Normal) 1 ภาพ ค่าการรับแสงที่เพิ่มขึ้น (Over) 6 ภาพ (2stop) และภาพที่มีค่าการรับแสงน้อยลง (Under) 6 ภาพ (2 stop) และนำมาปรับเป็นภาพขาวดำ ภาพที่มีค่ารับแสงปกติ (Normal) ที่เป็นไฟล์ JPEG เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับภาพที่มีการปรับค่าจากค่าการรับแสงที่เพิ่มขึ้น (Over) และภาพที่มีค่าการรับแสงน้อยลง (Under) ให้ภาพใกล้เคียงภาพปกติ (Normal) มากที่สุดจะเริ่มเห็นความแตกต่าง ในเรื่องของรายละเอียดของภาพ (Detail) จุดรบกวน (Noise) ในภาพมากยิ่งขึ้น ในส่วนของภาพไฮคีย์ จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่าค่าการรับแสงที่เหมาะต่อการถ่ายภาพไฮคีย์นั้น ไม่ควร Over เกิน1/3 stop และ Under เกิน 1/3 stop เพราะจะมีจุดรบกวน (Noise) มากขึ้นจนเห็นได้ชัดเจนและรายละเอียดในส่วนไฮไลท์จะหายไป รวมถึงความคมชัด ก็จะลดน้อยลงด้วย
ดังนั้นจากการทดลองดังกล่าวเมื่อได้ค่าแสงที่พอดีแล้ว การถ่ายภาพไฮคีย์ควรถ่ายในค่าการรับแสง Over ไม่เกิน 1/3 stop และ Under ไม่เกิน 2/3 stop จะทำให้เห็นรายละเอียดของภาพ (Detail) ครบและสมบูรณ์ที่สุด
ข้อเสนอแนะ
- ในการถ่ายภาพไฮคีย์ที่ดีนั้นควรถ่ายภาพในค่าการรับแสงที่ ไม่ควร Over เกิน 1/3 stop และ Under เกิน 2/3 stop จะได้รายละเอียดของภาพที่สมบูรณ์
- ในการถ่ายภาพไฮคีย์ มีความจำเป็นอย่างมากในการใช้ กล้องถ่ายภาพที่มีคุณภาพที่ดี รวมถึงขาตั้งกล้องที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ภาพทุกภาพมีองค์ประกอบในภาพเหมือนกัน เพราะเมื่อนำมาวัดค่าในตำแหน่งเดียวกันจะแม่นยำที่สุด รวมถึงทำให้ภาพคมชัดอีกด้วย
- ในการอัดขยายภาพ ควรอัด ขยาย ร้านที่มีคุณภาพดีเพื่อเพิ่มคุณภาพของงาน เพราะบางครั้งรูปที่อัดขยาย มานั้นสีและรายละเอียดของภาพอาจจะผิดเพี้ยนไปจากเดิม
- ในการถ่ายทำไม่ควรถ่าย Over จนเกินไปจนไม่เห็นรายละเอียด