The making of paint mock up from the arm to fingertips for film production
โดย นิฐิตา บุญเฉย และ อัจฉรา ดัดพินิจ
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ (Abstract)
ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาการทําสีแบบจําลอง (Mock up) ส่วนท่อนแขนถึงปลายนิ้วมือของมนุษย์ เพื่อใช้ในการประกอบภาพยนตร์
การศึกษาครั้งนี้ได้ผลิตแบบจําลองขึ้น โดยการผลิตด้วยซิลิโคนและโฟมนิ่มเพื่อทําให้เกิดความเหมือนจริงทางด้านโครงสร้าง ลักษณะผิวหนัง สีผิว ความยืดหยุ่นของอวัยวะมาผลิตเป็นสื่อวีดิทัศน์ที่ถ่ายทําด้วยกล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) แล้วนําไปตัดต่อและนำสื่อวีดิทัศน์ดังกล่าวไปจัดฉายให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแบบจําลอง (Mock up) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปกรรมทําการประเมินผล แล้วนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล
จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การทําสีแบบจําลอง (Mock up) ส่วนท่อนแขนถึงปลายนิ้วมือของมนุษย์ เพื่อใช้ในการประกอบภาพยนตร์สามารถสร้างความพึงพอใจในการรับชมสื่อวีดิทัศน์ ระดับมาก
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อแสดงวิธีการทำสีแบบจำลอง (Mock up) ส่วนท่อนแขนถึงปลายนิ้วมือของมนุษย์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อแสดงวิธีการทำสีแบบจำลอง (Mock up) ส่วนท่อนแขนถึงปลายนิ้วมือของมนุษย์
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการทำแบบจำลอง (Mock up) ส่วนท่อนแขนถึงปลายนิ้วมือของมนุษย์เพื่อใช้ในการประกอบภาพยนตร์ อย่างเช่น ฉากแขนขาดในภาพยนตร์สยองขวัญ ในการ ผลิตประกอบด้วยด้านรูปร่างและความยืดหยุ่นใช้ซิลิโคนเยอรมันและโฟมนิ่ม ด้านสีใช้สีน้ำมันผสมซิลิโคนเยอรมันและน้ำมันสนในการพ่นแบบจำลองด้วย Air brush เพื่อให้เกิดความเหมือนจริง ทำการผลิตเป็นวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตแบบจำลอง (mock up) โดยถ่ายทำด้วยกล้อง Canon 7D ในการถ่ายทำ เพื่อนำไปตัดต่อใน Adobe Premiere จากนั้นนำวิดิทัศน์และแบบจำจองที่ผลิต (Mock up) ดังกล่าวไปฉายให้แก่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์ 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแบบจำลอง (Mock up man) 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปกรรม 1 ท่าน ทำการประเมินในรูปแบบการแสดงความคิดเห็นและนำมาสรุปผล
สรุปผลการศึกษา
ในการศึกษาเรื่อง “การทำแบบจำลอง (Mock up) ส่วนท่อนแขนถึงปลายนิ้วมือของมนุษย์เพื่อใช้ในการประกอบภาพยนตร์” เนื่องจากปัจจุบันการทำเทคนิคพิเศษต่าง ๆ มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดความสมจริงมากขึ้นเพื่อใช้แทนอวัยวะจริงของผแู้สดงในฉากภาพยนตร์ที่มีการเสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะในภาพยนตร์สยองขวัญที่มุ่งเน้นให้ความตื่นเต้นระทึกใจ หวาดเสียวให้แก่ผู้ชม ดังนั้นจึง ต้องใช้เทคนิคพิเศษในการทำให้ผู้ชมเกิดความเชื่อ เกิดความสมจริงในภาพยนตร์และเพิ่มความ ปลอดภัยให้แก่ผู้แสดงได ้จึงมีแนวทางในการศึกษาการผลิตแบบจำลอง (Mock up) อวัยวะร่างกายขึ้น
จากผลการศึกษาได้มีการตอบแบบสอบถามการผลิตแบบจำลอง (Mock up) อวัยวะของร่างกายโดยนำเสนอเป็นสื่อวีดิทัศน์เรื่อง “การทำแบบจำลอง (Mock up) ส่วนท่อนแขนถึงปลายนิ้วมือของมนุษย์เพื่อใช้ในการประกอบภาพยนตร์” จากการประเมินความคิดเห็นจาก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแบบจำลอง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปกรรม จำนวน 3 คน โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้
- นายเมธาพนัธ์ ปิติธนัยพนัธ์ (Mock up man)
- นายสุภาพ นาคพงศพ์นัธ์ (กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเจโมเดล จำกัด)
- นายนฤพนธ์ บูรณะบญัญตัิ (อาจารยป์ระจำสาขาวิชาประติมากรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)
สรุปผลการประเมิน
สรุปผลการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้ว่า แบบจำลอง (Mock up) ส่วนท่อนแขนถึงปลายนิ้วมือของมนุษย์ มีลักษณะโดยรวมเหมือนจริงมาก สีผิวมีความคล้ายคลึงมากเมื่อเทียบกับอวัยวะจริง ลักษณะผิวหนังมีความเหมือนจริง รายละเอียดของสื่อวีดิทัศน์เมื่อไดร้ับชมมีความเข้าใจ ลำดับภาพเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเหมาะสมดี เสียงมีความเหมาะสม แสงควรจัดให้บรรยากาศในห้องมีความสบายตามากกว่านี้ และสื่อวีดิทัศน์นี้มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่สนใจและองค์กรต่าง ๆ ที่ สามารถนำสื่อวีดิทัศน์นี้ไปศึกษาเป็นตัวอย่างได้จริง
ปัญหาในการศึกษา
- วัสดุที่ใช้ในการผลิตแบบจำลองอวัยวะของร่างกาย (Mock up) หาซื้อได้ยาก และมีราคา แพง
- การผลิตแบบจำลองอวัยวะของร่างกาย (Mock up) ต้องใช้ความชำนาญในการผสมวัสดุ เมื่อไม่มีความชำนาญวัสดุที่ใช้จะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้ต้องเสียวัสดุมากกว่าปกติ ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง
- การทำสีลงบนวัสดุซิลิโคนทำได้ยาก ต้องใช้สีน้ำมันผสมกับซิลิโคนแล้วผสมให้เข้ากัน ทาลงบนชิ้นงานต้องใช้ความชำนาญ เพราะสีติดยาก
- อุปกรณ์ถ่ายทำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
- สถานที่ถ่ายทำมีความคับแคบเกินไป
ข้อเสนอแนะ
- ควรศึกษาการใช้วัสดุในการผลิตแบบจำลอง (Mock up) ให้มีความรู้ก่อนลงมือทำ
- วางแผนกระบวนการก่อนการผลิตสื่อวีดิทัศน์ (Pre-Production) ให้ดีก่อนการถ่ายทำจริง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลา
- ควรศึกษาในเรื่องของสีผิวมนุษย์ในแต่ละวัย แต่ละสถานการณ์ที่ใช้แบบจำลอง (Mock up) เพื่อทำให้การทำสีออกมาได้ตรงกับจุดประสงค์ของการใช้งาน
- สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ เพราะต้นทุนการผลิตประมาณ 3,000 บาท ต่อ 1 แขน แต่เมื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพจริงค่าจ้างประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป