Making Of Public Relation Film For Good Consciousness In Social
จัดทำโดย ดนุภพ มีชูคุณ และเพชร พิริยะจารุกุล
ปีการศึกษา 2554
บทคัดย่อ (Abstract)
ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อในรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์เรื่อง การสร้างจิตสํานึกที่ดีต่อสังคม ในแง่มุมของคนในสังคมที่ขาดจิตสํานึกที่ดีและคนที่มีจิตสํานึกที่ดีงามควรเอาเป็นแบบอย่าง
วิธีการศึกษา โดยการทําแบบสํารวจความคิดเห็นออนไลน์เพื่อที่จะได้มาซึ่งแนวคิดของเรื่อง หรือประเด็นที่จะยกมาผลิตออกมาเป็นสื่อ จัดทํา Shooting Board เพื่อลําดับและวางแผนก่อนการผลิต ผลิตโดยการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้อง DSLR โดยให้นักแสดงแสดงบทบาทตามเนื้อเรื่อง จากนั้นเข้าสู่กระบวนการตัดต่อลําดับภาพ ใส่เสียงประกอบ และ Export ออกมาเป็นไฟล์ แล้วนําไป ดสอบเพื่อประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 ท่าน
ผลการประเมินปรากฏว่า ได้รับกาประเมินอยู่ในระดับ “ดี” ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ความเข้าใจเนื้อเรื่องและด้านกราฟิกของสื่อประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับ “ปานกลาง” เนื่องจากเนื้อหายังสื่อออกมาได้ไม่ชัดเจน สําหรับด้านความเหมาะสมในการใช้เทคนิคผลิตสื่อและด้านเสียงประกอบมีความสอดคล้องกับ เนื้อเรื่องอยู่ในระดับ “ดี”
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อผลิตสื่อภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์เรื่อง การสร้างจิตสํานึกที่ดีต่อสังคม
- เพื่อศึกษาความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ ของผู้เชี่ยวชาญ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้สื่อภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์เรื่อง การสร้างจิตสํานึกที่ดีต่อสังคม
- ทราบถึงกระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ และการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ในการผลิตสื่อ
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาและลงมือผลิตสื่อภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์เรื่อง การสร้างจิตสํานึกที่ดีต่อสังคม ความยาว 60 วินาที โดยใช้กล้องถ่ายภาพนิ่งและวีดีโอระบบดิจิทัล DSLR ในการบันทึกภาพและนํามา ตัดต่อในคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม Adobe Premire Pro โดยที่ทั้งหมดดําเนินการตามแบบแผน อย่างครบถ้วนตั้งแต่ขั้นตอน Pre-Production, Production, Post-Production แล้วนําเสนอผ่านช่องทางหลายรูปแบบ โดยนําเสนอผ่านสื่อทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก และประเมินผลโดยการทําแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นในด้านคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
สรุปผลการศึกษา
จากผลการประเมินพบว่า ในส่วนของมุมมองด้านเนื้อเรื่องนั้น สื่อประชาสัมพันธ์เรื่องนี้มีเนื้อหาสอดคล้องกับการรณรงค์กระตุ้นการมีจิตสํานึกที่ดีต่อสังคม ซึ่งมีเทคนิคในการผลิตสื่อ และเสียงเพลงประกอบเพื่อดึงดูดผู้ชมให้รับชมได้อย่างดี ส่วนในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า สื่อประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ยังมีเนื้อเรื่องที่ค่อนเข้าใจยากอยู่ ในส่วนของด้านเทคนิคการทําสื่อนั้น ใน มุมมองของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า สื่อประชาสัมพันธ์เรื่องนี้นําการตัดต่อแบบพาราเรลคัท (Parallel cut) มาใช้ในการเล่าเรื่องได้อย่างเหมาะสม ส่วนด้านเสียงเพลงเสียงประกอบของสื่อ ประชาสัมพันธ์ ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า เพลงที่ใช้ประกอบสื่อมีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง เพราะเป็นตัวช่วยดึงดูดและสร้างความน่าสนใจให้กับสื่อได้มากยิ่งขึ้น
อภิปรายผล
จากการทําสื่อประชาสัมพันธ์โดยใช้เทคนิคพาราเรลคัทได้รับการประเมินอยู่ในระดับ “ดี” ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ความเข้าใจเนื้อเรื่องและด้านกราฟิกของสื่อประชาสัมพันธ์ยังอยู่ในระดับ “ปานกลาง” เนื่องจากเนื้อหายังสื่อออกมาได้ไม่ชัดเจน สําหรับด้านความเหมาะสมในการใช้เทคนิคผลิตสื่อและด้านเสียงประกอบมีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องอยู่ในระดับ “ดี”
ข้อเสนอแนะ
- การเล่าเรื่องยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร
- น่าจะแตก Shot มากกว่านี้
- ข้อความยาวและเร็วไป น่าจะให้มีความสั้น กระชับ เข้าใจง่าย
- เพิ่มเสน่ห์ของหนังควรจะใช้เสียงพากย์ประกอบ
- พยายามดูหนังเพื่อหาข้อติข้อเสีย แล้วลองปรับเรื่อง วิธีการเล่าเรื่อง ถ่ายภาพให้เล่าเรื่องมากกว่านี้